Eat am are ร้านสเต๊กขวัญใจคนรุ่นใหม่ รายได้เกือบพันล้าน
ถ้าถามว่าร้านสเต๊กในประเทศไทยที่มีการพูดถึงกันมาก แต่ละสาขามีลูกค้ารอคิวนานหลายชั่วโมง หนึ่งในนั้นคงหนี้ไม่พ้น Eat Am Are ร้านสเต๊กขวัญใจมวลชน มีเมนูและเครื่องเคียงหลากหลาย ราคาเริ่มต้น 129 บาท ปัจจุบันมี 19 สาขา เปิดตามคอมมิวนิตี้มอลล์ ศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า เรื่องราวและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ Eat am are น่าสนใจอย่างไร ทำไมได้รับความนิยม คนต้องรอคิวเป็นเวลานาน
จุดเริ่มต้น Eat am are

Eat am are สาขาแรกเปิดอยู่ที่ซอยรางน้ำ ถนนพญาไทย มีคุณธัช เกษมสิทธิโชค เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อราวๆ ปี 2557 ได้เสียงตอบรับค่อนข้างดีตั้งแต่ดเปิดบริกานวันแรก หลังจากนั้นมีการขยายสาขาเพิ่ม โดยโฟกัสทำเลโซนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปก่อนในช่วงแรก ก่อนขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จุดเด่นร้านสเต๊ก Eat am are ที่ลูกค้าหลายๆ คนพูดถึงกันมาก ก็คือ ปริมาณอาหารต่อจานเยอะ ชิ้นใหญ่ ราคาไม่แพง รสชาติดีถูกปาก เข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย นับว่าเป็นร้านสเต๊กตลาด Mass ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว มีลูกค้ารอคิวแน่นเกือบทุกสาขา
นอกจากให้ปริมาณเยอะแล้ว Eat am are ยังทำเมนูออกมาหลากหลาย และมีเครื่องเคียงให้เลือกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเมนูสปาเก๊ตตี ของทอด ข้าวผัด ส้มตำ มันบด และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งในแต่ละเมนูรสชาติตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ทำให้แต่ละสาขาของ Eat am are มีลูกค้าทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่หมุนเวียนไปใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
ถ้าหากวิเคราะห์หลักการบริหารจัดการและกลยุทธ์ของร้านสเต๊ก Eat am are ตามหลัก Business Canvas จะพบว่ามีหลายอย่างมากที่ Eat am are นำเสนอคุณค่าให้แก่ลูกค้าจนได้รับความนิยม

เริ่มต้นที่…
- ราคาไม่แพง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ทั้งนักศึกษา พนักงานออฟฟิศ ครอบครัว
- ปริมาณอาหารต่อจานเยอะ คุ้มราคา ถ้าคนกินน้อย สเต๊ก 1 จาน แบ่งทานได้ 2 คน ราคาเฉลี่ย 100-250 บาท
- ของเครื่องเคียงและของทานเล่นปริมาณเยอะ รสชาติอร่อย เช่น ส้มตำ สปาเก็ตตี
- เมนูหลากหลาย เป็นทางเลือกให้กับลูกค้า
- อาหารรสชาติอาหารอร่อย เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา ควบคุมมาตรฐานรสชาติจากการทำ Standard Operating Procedure (SOP) เขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้เหมือนกันทุกสาขา
- การตกแต่งร้าน สะอาด ดูดี กว้างขวาง สะอาด
- พนักงานบริการดีและรวดเร็ว
เมื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ตามหลัก Value Proposition ของ Business Canvas ก็ไม่แปลกที่ร้านสเต๊ก Eat am are จะมีลูกค้าต่อคิวนานหลายชั่วโมง นับว่าเป็นสเต็กตลาด Mass ชิ้นใหญ่ ราคาถูกของไทย ที่ลูกค้าพร้อมตามไปต่อคิวทุกเมื่อที่อยากกิน
รายได้ Eat am are (บริษัท อีท แอม อา กรุ๊ป จำกัด)
- ปี 2565 รายได้ 494 ล้านบาท กำไร 4.2 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 772 ล้านบาท กำไร 4.1 ล้านบาท
ถ้าเปรียบเทียบรายได้ Eat am are กับแบรนด์สเต๊กคู่แข่งในตลาดเดียวกัน ก็จะมี “ซานตาเฟ่ สเต๊ก” และ “สเต๊กลุงหนวด”
รายได้ ซานตาเฟ่ สเต๊ก (บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด)
- ปี 2565 รายได้ 1,108 ล้านบาท กำไร 3 แสนบาท
- ปี 2566 รายได้ 1,061 ล้านบาท ขาดทุน 37 ล้านบาท
รายได้ สเต็กลุงหนวด (บริษัท สเต็กลุงหนวด จำกัด)
- ปี 2565 รายได้ 416 ล้านบาท กำไร 11 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 433 ล้านบาท กำไร 20 ล้านบาท
เมื่อเทียบรายได้ทั้ง 3 แบรนด์ จะเห็นได้ว่ามี Eat am are กับ สเต๊กลุงหนวด ที่มีรายได้แต่ละปีใกล้เคียงกันหลักร้อยล้านบาท มีกำไรหลักล้านทุกปี แต่การที่ Eat am are มีรายได้ปี 2566 ถึง 772 ล้านบาท กำไร 4.1 ล้านบาท น้อยกว่าสเต๊กลุงหนวดที่มีรายได้เพียง 433 ล้านบาท แต่ได้กำไรถึง 20 ล้านบาท
อาจเป็นเพราะ Eat am are มีต้นทุนในเรื่องวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าเช่าพื้นที่เปิดร้าน โดยแต่ลพสาขาจะเปิดในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีค่าเช่าค่อนข้างแพง ส่วนสเต๊กลุงหนวดขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ค่าเช่าเปิดร้านจึงตกอยู่ที่แฟรนไชส์ซี ทำให้แบรนด์สเต๊กลุงหนวดไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายเช่าพื้นเหมือน Eat am are
สุดท้าย ถ้าถามว่าคู่แข่งของ Eat am are จริงๆ คิดว่าไม่น่าจะเป็นสเต๊กลุงหนวดโดยตรง แต่เป็น The Steak & More ในเครือไมเนอร์ฯ เจ้าของเดียวกันกับ Sizzler พึ่งจะเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัล เวสต์เกต ไปเมื่อต้นปี 2568 ขนาด 150-220 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้น 129 บาทต่อจาน เหมือนกับ Eat am are เจาะกลุ่มตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงพนักงานออฟฟิศ
ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ธุรกิจร้านสเต๊กตลาด Mass ในเมืองไทยต่อจากนี้ จะแข่งขันกันดุเดือดแค่ไหน แต่เชื่อว่า Eat am are ที่วางตำแหน่งตัวเองจับกลุ่มตลาด Mass จนสร้าง Brand Love ได้อยู่หมัด แถมมีลูกค้าต่อคิวทุกสาขา จะอยู่รอดและเติบโตไปได้ ด้วยรสชาติอาหารที่มีคุณภาพมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา ซึ่งเป็นหัวใจหลักของแชนร้านอาหารในยุคปัจจุบัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)