Digital Wallet 1หมื่นบาท ใช้ร้านแฟรนไชส์ แบรนด์ไหนได้บ้าง
“ Digital Wallet 1หมื่นบาท ถึงมือประชาชนแน่ ” เป็นคำยืนยันล่าสุดจากนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดว่าโครงการนี้จะเริ่มต้นได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
เงื่อนไขของโครงการนี้ส่วนใหญ่ยังคงคอนเซปต์เดิมจากที่เคยรู้ๆกันมาคือ
- ผู้ได้สิทธิในโครงการนี้จำนวน 50 ล้านคน
- เป็นคนไทยอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
- เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี
- มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
ภาพจาก www.facebook.com/pheuthaiparty
และเงินหมื่นที่คนส่วนใหญ่กำลังจะได้ในปลายปีนี้ก็ใช่ว่าจะเอาไปทำอะไรได้ทุกอย่าง มีเงื่อนไขที่ระบุชัดเจนว่า
- ประชาชนจะสามารถใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น
- ไม่สามารถใช้กับบริการได้
- ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ได้
- ไม่สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม และผลิตภัณฑ์จากกัญชาและพืชกระท่อม
- ไม่สามารถนำไปซื้อบัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย อัญมณีได้
- ไม่สามารถนำไปชำระหนี้ได้
- ไม่สามารถจ่ายค่าเรียน ค่าเทอม ได้
- ไม่สามารถนำไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรือซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติได้
- แลกเป็นเงินสดไม่ได้ แลกเปลี่ยนในตลาดต่างๆ ไม่ได้
ถ้าไปดูข้อมูลที่ประกาศออกมาล่าสุดโครงการนี้ได้กำหนดการใช้จ่ายไว้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ
- กลุ่มแรก ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
- กลุ่มที่สอง ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอ และขนาดของร้านค้าการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ
เราจะมาโฟกัสที่คำว่า “ร้านค้าขนาดเล็ก” ซึ่งนาย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.กระทรวงการคลังกล่าวว่า “เบื้องต้นร้านสะดวกซื้อลงมาถือว่าเป็นร้านขนาดเล็ก เพราะต้องการให้เงินกระจายอยู่ในชุมชน ส่วนแมคโคร ห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าไม่รวม ไม่นับ ซึ่งร้านสะดวกซื้อนี้จะรวมทั้งแบบสแตนอโลน และแบบที่ตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมันด้วย
นั่นหมายความว่าแฟรนไชส์ที่จะได้ประโยชน์จากเงิน Digital Wallet 1หมื่นบาทนี้จะอยู่ในกลุ่มแฟรนไชส์อาหาร , แฟรนไชส์เครื่องดื่ม , แฟรนไชส์เบเกอรี่ , รวมถึงแฟรนไชส์ค้าปลีก โดยเฉพาะบรรดาแฟรนไชส์ที่เป็นแบบสแตนอโลน , ร้านริมทาง
ซึ่งก็มีหลายแบรนด์ยกตัวอย่าง เช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว , ลูกชิ้นทิพย์ , ธงไชย ผัดไทย , ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด , ธุรกิจห้าดาว , สเต็กเด็กแนว , นาเนีย สเต็ก , ซัน ชาเฟ่ , มารุชา , โมโม่เชค , ฟินิกซ์ชา , เดรี่ชา , อากิโกะที , นิค แฟรนไชส์ชานมไข่มุก , โคโค่ วอร์ค , อาจุมม่าคาเฟ่ , ฮ็อป ชาเฟ่ , 7–Eleven , ท็อปส์ เดลี่ , นพรัตน์ 20 ฯลฯ
จากข้อมูลของโครงการนี้ระบุว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 5 แสนล้านบาทส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 1.2% – 1.8% และนับจากตอนนี้ก็ยังพอมีเวลาอีกพอสมควรในการคิดไอเดียการขายเพื่อดึงเม็ดเงินมหาศาลนี้มาอยู่กับแบรนด์ได้มากที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดของแต่ละแบรนด์เป็นสำคัญด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)