“Diary Slow Bar Coffee” แฟรนไชส์ขายกาแฟพรีเมี่ยม! มีรถมอเตอร์ไซค์คันเดียว ก็เปิดร้านได้!
กาแฟ ยังเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตเฉลี่ยแล้วประมาณ 300 แก้ว/คน/ปี และตัวเลขนี้ยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นร้านกาแฟในรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่คำถามน่าสนใจคือคุณคิดว่าการลงทุนเปิดร้านกาแฟให้ขายง่าย กำไรดี ต้องมีเงินทุนสักเท่าไหร่
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนโฟกัสไปที่หลักแสน หลักล้านแต่ในความเป็นจริงถ้ารู้จักคิดพลิกแพลงไอเดีย เราสามารถเปิดร้านขายกาแฟพรีเมี่ยมได้ในราคาหมื่นต้นๆ แถมลูกค้ายังสุดฟินกับบรรยากาศแบบธรรมชาติ และนี่คือแนวคิดของ “Diary Slow Bar Coffee” ที่เป็นแฟรนไชส์ขายกาแฟแบบพรีเมี่ยม แค่มีรถมอเตอร์ไซค์คันเดียวก็เปิดร้านได้ทันที
สุดยอดแนวคิด! สร้างธุรกิจพรีเมี่ยม “แบบง่ายๆ”
เจ้าของแฟรนไชส์ “Diary Slow Bar Coffee” คือคุณอรรถพล พุทธางกูร หรือคุณปอนด์ ที่เล่าว่าเริ่มต้นธุรกิจนี้ได้ไม่ถึงปี เปิดร้านครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปี 2563 เริ่มต้นจากทำงานประจำแต่ด้วยพื้นฐานที่เป็นคนชอบดื่มกาแฟและครอบครัวก็ทำอาชีพนี้อยู่แต่เป็นการเปิดร้านขายธรรมดาๆ
ซึ่งคุณปอนด์มองว่าน่าจะมีอะไรที่แปลกใหม่ และน่าจะพัฒนาได้ดีกว่าเดิม จึงได้เริ่มมองหาไอเดียใหม่ๆ และได้เห็นรูปรถมอเตอร์ไซค์รุ่นเก่าๆ ก็คิดว่ามันมีเสน่ห์น่าสนใจ กลายเป็นการจุดประกายความคิดที่นำเอา รถมอเตอร์ไซค์มาผสมผสานกับกาแฟ และเริ่มทดลองเซตระบบทุกอย่างขึ้นมา ตั้งแต่การออกแบบวิธีขาย การจัดวางอุปกรณ์ การคิดค้นเมนู ทุกอย่างเป็นการทำลองผิดลองถูกจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ
โดยตั้งชื่อร้านว่า “Diary Slow Bar Coffee” เพราะเข้าใจความต้องการของลูกค้าว่าการดื่มกาแฟไม่ใช่แค่ต้องการกาแฟรสชาติอร่อยแต่ยังต้องการบรรยากาศที่เสริมความรู้สึกให้มีความสุขมากขึ้น ชื่อ Diary Slow Bar Coffee จึงเป็นเหมือนช่วงเวลาแห่งความสุขที่ลูกค้าได้ดื่มกาแฟในบรรยากาศริมทางใกล้ชิดธรรมชาติ
เป็นการปล่อยชีวิตให้ไหลไปช้าๆ ไม่ต้องเร่งรีบ ในช่วงแรกลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มเพื่อน แต่เมื่อเปิดร้านไปได้ระยะหนึ่งเริ่มมีคนสนใจมีการโพสต์รูป แชร์ลงโซเชี่ยล กลายเป็นผลดีที่ทำให้ Diary Slow Bar Coffee เริ่มเป็นที่รู้จักและนำมาสู่แนวคิดการขายแฟรนไชส์เพื่อให้คนที่อยากสร้างอาชีพสามารถเลือกลงทุนได้
เสน่ห์ของ Diary Slow Bar Coffee และเหตุผลที่น่าสนใจลงทุน
โดยปกติการรับประทานกาแฟแบบพรีเมี่ยมเราต้องเข้าร้านสไตล์คาเฟ่ หรือเดินเข้าไปในร้านขนาดใหญ่ หรือในห้างสรรพสินค้าต่างๆ และแน่นอนว่าราคากาแฟแต่ละแก้วจะบอกค่าบรรยากาศ ค่าพื้นที่เช่า ทำให้ราคาต่อแก้วแพงมาก แต่ Diary Slow Bar Coffee ทำให้ง่ายแต่สินค้ายังขายดีและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยมีจุดเด่นที่น่าสนใจได้แก่
1.มีรถมอเตอร์ไซค์คันเดียวก็เปิดร้านได้
การเปิดร้านกาแฟส่วนใหญ่เรามักมองหาพื้นที่เปิดร้านขนาดใหญ่ มีทำเลดึงดูดลูกค้า แน่นอนว่าทุกอย่างล้วนมีต้นทุนแต่ Diary Slow Bar Coffee ให้คนสนใจเปิดร้านได้ทุกที่แค่มีมอเตอร์ไซค์คันเดียว ที่เหลือแฟรนไชส์เป็นคนจัดการให้ทุกอย่างตั้งแต่การสอนเทคนิคเปิดร้าน สอนสูตรเมนูต่างๆ สอนเทคนิคการขาย จัดอุปกรณ์เปิดร้าน เป็นต้น
2.ไม่ต้องมีต้นทุนค่าเช่าพื้นที่
ปัญหาค่าเช่าพื้นที่คือตัวแปรที่ทำให้ธุรกิจมีรายได้ลดลงชัดเจน ซึ่ง Diary Slow Bar Coffee แก้ปัญหานี้ให้ผู้ลงทุนเปิดร้านได้ในทุกทำเลไม่ว่าจะริมทาง ใกล้สถานที่ชุมชน หรือใครอยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวสามารถไปตั้งร้านตรงไหนก็ได้ที่มีคนพลุกพล่าน ด้วยความที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเช่าพื้นที่อีกต่อไป
3.กาแฟแบบพรีเมี่ยมในราคาเบาๆ
สินค้ายุคนี้เน้นที่ราคาถูกจะยิ่งขายดี และถ้ามีคุณภาพดีก็จะยิ่งขายดีมาก ซึ่ง Diary Slow Bar Coffee ใช้กาแฟโรบัสต้าของชุมพรมาทำเป็นกาแฟพรีเมี่ยมรสชาติเยี่ยมแต่ขายเพียงแก้วละ 40 บาท ซึ่งถือว่าถูกมาก เหตุผลหนึ่งเพราะไม่ต้องมีค่าเช่าพื้นที่ทำให้ขายในราคาเบาๆได้
4.คืนทุนไว ได้กำไรรวดเร็ว
ด้วยความที่ลงทุนน้อย แต่สินค้าน่าสนใจทำให้มียอดขายที่ดี โดยเฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 30-40 แก้ว กำไรเฉลี่ยต่อวันประมาณ 500 – 1,000 บาท และวิธีการลงทุนก็ไม่ยุ่งยาก ลดขั้นตอนได้มาก เป็นสุดยอดแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับการสร้างเป็นอาชีพในยุคนี้ได้อย่างดี
5.ขยายสาขาเพิ่มได้ง่าย โอกาสมีกำไรก็มากยิ่งขึ้น
ด้วยวิธีลงทุนที่เน้นความง่าย แต่เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เจาะกลุ่มคนทั่วไปในพื้นที่ แค่มีมอเตอร์ไซค์คันเดียวก็เปิดร้านได้ทำให้ผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กระจายไปยังจุดต่างๆ ที่คนพลุกพล่านเช่นในงานเทศกาล ตามตลาดสด ใกล้แหล่งท่องเที่ยว เท่ากับเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายได้มากขึ้นด้วย
ลงทุนเริ่มต้นเพียงแค่ 12,000 บาทเท่านั้น
มาดูกันที่รูปแบบการลงทุนที่เห็นแล้วต้องร้องว้าววววว เพราะถือว่าลงทุนถูกมาก โดยแพคเกจของ Diary Slow Bar Coffee มี 2 แบบได้แก่
- การลงทุน Size S ราคา 12,000 บาท
- การลงทุน Size M ราคา 20,000 บาท
สิ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับคืออุปกรณ์ตามแพคเกจที่เลือกเช่น หม้อต้มกาแฟ 2 ใบ ชุดชงชา ชุดดริปกาแฟ กาน้ำสำหรับดริป กาแฟ ขวดโหล เครื่องบดกาแฟ เป็นต้น
รวมถึงอุปกรณ์ในการจัดร้านสไตล์ Slow Bar ที่คุณปอนด์กล่าวว่า “เราเปิดขายมาก่อนทำให้รู้ว่า การเปิดร้านลักษณะนี้อะไรคือสิ่งที่จะดึงดูดลูกค้าได้ เรามีการจัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมเปิดร้าน แต่งร้าน สอนไอเดียแต่งร้านให้ลูกค้า ผู้ลงทุนแค่มีถังน้ำแข็งมาใบเดียว ก็เปิดร้านกับเราได้เลย ที่เหลือเราสอนให้ทั้งหมด”
ทั้งนี้งบในการลงทุนเบื้องต้นประมาณ 15,000 บาทเท่านั้น (รวมเงินทุนหมุนเวียน) และที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์แบบไหนก็สามารถนำมาจัดเปิดร้านได้ขึ้นอยู่กับไอเดียในการจัดร้าน แต่งร้าน บางคนไม่มีมอเตอร์ไซค์แต่สามารถใช้จักรยานเก่าๆ ได้เช่นกัน
เสน่ห์ของร้าน Diary Slow Bar Coffee อยู่ที่บรรยากาศร้าน การได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ร่วมกับกาแฟรสชาติพรีเมี่ยม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดขาย และปัจจุบันตลาดออนไลน์มีผลทำให้ธุรกิจเติบโตได้รวดเร็วมาก การแช๊ะ การแชร์ เป็นการโฆษณาร้านได้อย่างดีโดยที่เราประหยัดต้นทุนได้มาก
ดังนั้น Diary Slow Bar Coffee จึงถือเป็นอาชีพทีเหมาะสมกับคนในยุคนี้ ใครที่อยากรายได้ อยากมีอาชีพเสริม อยากเพิ่มรายได้ให้ตัวเอง ขอแค่มีความตั้งใจทำจริง โทรเข้ามาพูดคุย ก็เท่ากับได้เปิดประตูสู่การสร้างรายได้ที่ดีในยุคนี้
ปัจจุบัน Diary Slow Bar Coffee มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศรวมกว่า 30 แห่งโดยให้สิทธิ 1 จังหวัดต่อ 1 สาขา (แต่หากเป็นจังหวัดใหญ่จะให้สิทธิ 2 สาขา) และในอนาคต Diary Slow Bar Coffee มีแผนในการพัฒนารูปแบบการลงทุนให้หลากหลายมากขึ้น
อาจเป็นรูปแบบFoodTruck ที่มีอุปกรณ์การขายครบวงจรแต่ยังคงคอนเซปต์ความเป็น Slow Bar ที่มีจุดเด่นคือบรรยากาศสุดฟินที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง ก็มีโอกาสขายง่าย ขายดี และมีกำไรได้มากยิ่งขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/3maCbaC
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ycciJM
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)