Customer Journey สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ เพื่อขยายสาขา
เจ้าของแฟรนไชส์ ที่อยากขยายสาขาเพิ่มจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงเส้นทางการเดินทางของลูกค้า หรือ Customer journey กว่าจะรับรู้ถึงแบรนด์และซื้อแฟรนไชส์ของเรา
ต้องผ่านประสบการณ์อะไรมาบ้าง ต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าการตัดสินใจของผู้บริโภคก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ของเรามาจากอะไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ Customer Journey เพื่อเตรียมความพร้อมและนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ให้ลูกค้าอยากซื้อแฟรนไชส์ ไปลงทุนครับ
1. การรับรู้ Awareness
ภาพจาก www.freepik.com
สมมติว่าเราทำธุรกิจร้านอาหาร อยากขายแฟรนไชส์ เริ่มแรกต้องทำให้ลูกค้าได้รู้จักกับร้านอาหารของเรา หนทางแรกที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักร้านอาหารของเรา คือ การสร้างการรับรู้ ผ่านสื่อโฆษณา ช่องทางและแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ลูกค้าของคุณใช้บริการ
โดยในปัจจุบันช่องทางที่ลูกค้าจะสามารถรับสื่อโฆษณาจากร้านอาหาร มีทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยช่องทางออฟไลน์ยอดนิยมเช่น โทรทัศน์ วิทยุ การประชาสัมพันธ์ผ่านแผ่นพับ บิลบอร์ดโฆษณา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ ไลน์ Facebook Ads, IG Ads, Youtube และ Ads Google เป็นต้น
2. ค้นหาข้อมูล Consideration
ภาพจาก www.freepik.com
หลังจากลูกค้ารู้จักร้านอาหารของเราแล้ว เพราะได้เห็นผ่านสื่อต่างๆ และมีคนพูดถึงกันมาก ขั้นตอนต่อไปลูกค้าจะเริ่มหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการอ่านรีวิวตามเว็บบอร์ดต่างๆ เมื่อลุกค้ารู้จักแบรนด์และผลิตภัณฑ์แล้ว ไม่ใช่ว่าพวกเขาจะตัดสินใจเดินทางไปยังร้านอาหารทันที แต่ลูกค้าจะเข้าไปหาข้อมูลร้านอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเปรียบเทียบว่าร้านอาหารของเราตอบโจทย์กับสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่
โดยส่วนมากลูกค้าจะเชื่อถือข้อมูลที่ถูกบอกเล่ามาจากลูกค้าที่เคยใช้บริการ หรือที่เรียกว่าการรีวิวนั่นเอง ในกรณีนี้ร้านอาหารของเราอาจจะสร้าง Content รีวิวจากแบรนด์ด้วยการใช้ Influencer ที่มีชื่อเสียงและเชี่ยวชาญในสายที่ตรงกับผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น
3. การซื้อสินค้า Purchase
ภาพจาก www.freepik.com
เมื่อลูกค้าหาข้อมูลร้านอาหารเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจะมาใช้บริการในเวลาต่อมา โดยเดินทางมารับประทานอาหารถึงในร้าน บางส่วนอาจจะสั่งอาหารเดลิเวอรี่ หรือสั่งซื้อออนไลน์ เว็บไซต์ หรือผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ ของร้าน ดังนั้น ร้านอาหารควรวางระบบการขายอาหาราตั้งแต่การเลือกเมนู ยืนยันออเดอร์ และชำระค่าสินค้า เพื่อให้สะดวกต่อผู้บริโภคมากที่สุด
4. การกลับมาซื้อซ้ำ Retention
ภาพจาก www.freepik.com
เมื่อลูกค้าได้รับประสบการณ์จากการซื้อสินค้า หรือการเข้าไปรับประทานอาหารภายในร้านของเราแล้ว แน่นอนเมื่อร้านอาหารของเราสามารถสร้างประสบการณ์ที่พึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าจะประทับใจและกลายเป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ อยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดในพื้นที่หรือจังหวัดของตัวเอง
เพื่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ในแบบที่ได้รับจากร้านอาหารของเราให้กับคนอื่นๆ ไม่เพียงเท่านี้ลูกค้าเหล่านี้อาจมีการบอกต่อแบบปากต่อปาก เพื่อเชิญชวนผู้บริโภคคนอื่นๆ ให้เข้ามาเป็นลูกค้าร่วมกันทำให้แบรนด์สามารถขยายฐานลูกค้าได้มาขึ้นอีกด้วย
5. การสนับสนุน Advocacy
ภาพจาก www.freepik.com
หากร้านอาหารของเราสามารถมัดใจลูกค้าได้ จากการมอบประสบการณ์ที่ดีภายในร้านให้ ตั้งแต่ที่ลูกค้าเริ่มรู้จักแบรนด์ เริ่มสนใจแบรนด์ จนถึงการซื้อ แล้วกลับมาใช้บริการซ้ำ จนกลายเป็นลูกค้าประจำนั้น จะทำให้ลูกค้าของเราเกิดความจงรักภักดี และสนับสนุนแบรนด์ของเราในการบอกต่อผู้อื่นแบบปากต่อปาก และลูกค้าประจำเหล่านี้จะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ทดลองซื้อสินค้า และบริการใหม่ๆ ของเรา รวมถึงตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์อย่างไม่ลังเลใจ
จะเห็นได้ว่า การเดินทางของลูกค้า หรือ Customer Journey สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ จำเป็นต้องเริ่มจากการทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน ต้องศึกษารู้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการอะไร และทำความเข้าใจให้ได้ว่า การตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ของลูกค้าในปัจจุบันนี้ มักจะถูกกำหนดได้ง่ายๆ โดยการสัมผัสโดยตรง ทดลองใช้ ทดลองกิน รวมถึง Social Media และสื่อออนไลน์ต่างๆ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3387487
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)