“Crocs” รองเท้าหัวโต ธุรกิจรองเท้าที่สร้างกำไรกว่า 20,000 ล้านบาท

รองเท้า” เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีและจำเป็นต้องใช้ แต่ปัญหาของตลาดรองเท้าคือเป็นสินค้าที่มีอายุการใช้นานยาวนาน บางคนไม่นิยมเปลี่ยนรองเท้าบ่อยๆ บางคนมีคู่เดียวก็ใส่ไปได้ทุกงาน เป็นต้น อย่างไรก็ดีมูลค่าของธุรกิจนี้ถือว่าสูงมาก ผู้ประกอบการต่างก็มีกลยุทธ์ที่นำรองเท้ามาผนวกกับแฟชั่นทำให้เพิ่มยอดขาย

กลายเป็นสินค้าที่คนอยากได้มากขึ้นหนึ่งในแบรนด์ยอดฮิตที่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนรู้จักดีคือ “Crocs” ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกจัดอันดับให้เป็นรองเท้าที่น่าเกลียดที่สุดแต่จู่ๆ ก็มีอัตราการเติบโตธุรกิจแบบก้าวกระโดดและสร้างรายได้เกินกว่า 2 หมื่นล้าน อะไรคือจุดเปลี่ยน? ทำไม Crocs ถึงขายดี? เรื่องนี้น่าสนใจมาก

ต้นกำเนิด “Crocs” รองเท้าสัญชาติอเมริกัน

รองเท้าหัวโต

ภาพจาก https://bit.ly/3f19P0F

จุดเริ่มต้นของ Crocs ก่อตั้งโดย Scott Seamans, Lyndon “Duke” Hanson และ George Boedecker, Jr. ที่มีแนวคิดอยากสร้างรองเท้าสำหรับนักแข่งเรือและเป็นรองเท้าสำหรับใช้ทางน้ำ การออกแบบจึงต้องมีคุณสมบัติไม่ลื่น และมีความนุ่มเบาสบายเท้า ดังนั้น Crocs ทุกรุ่นจะผลิตด้วยวัสดุที่เรียกว่า Croslite ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ Crocs

มันมีคุณสมบัติช่วยให้รองเท้ามีน้ำหนักเบา ยึดเกาะดี และไม่ทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนพื้น รองเท้าแตะ Crocs รุ่นแรก เปิดตัวในปี 2002 เป็นรุ่น The Beach แต่ด้วยเอกลักษณ์ของรองเท้า Crocs จึงไปเตะตาผู้คนจากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เซเลบฯ, นักกีฬา, บุคลากรทางการแพทย์, กลุ่มผู้นิยมกิจกรรม outdoor ไปจนถึงกลุ่มคนทั่วไป

6

ภาพจาก https://bit.ly/3dqqYRg

อย่างไรก็ดีด้วยรูปลักษณ์รองเท้าที่ไม่เหมือนใครในปี 2010 นิตยสาร Time ได้จัดให้รองเท้า Crocs เป็นรองเท้าที่น่าเกลียดที่สุด แต่จู่ๆ ในปี 2021 Crocs กลับมีอัตราการเติบโตของกำไรสูงถึง 132% และทำให้รองเท้า Crocs หัวโต กลายเป็นหนึ่งในรองเท้าที่ฮอตฮิตและมีความต้องการไปทั่วโลก

เบื้องหลังความสำเร็จของ Crocs

5

ไฮดี คูลีย์ (Heidi Cooley)
ภาพจาก https://bit.ly/3S49Gsk

ผู้ที่ทำให้ Crocs ก้าวกระโดดมาเป็นสินค้ายอดขายดีถล่มทลายคือ ไฮดี คูลีย์ (Heidi Cooley) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด (CMO)ประจำแบรนด์รองเท้า Crocs ผู้นำการตลาดที่ทำให้ Crocs กลับมามีชีวิตได้อีกครั้งจากภาพจำของแบรนด์ที่เป็นรองเท้าเพื่อสุขภาพ

ที่มีไว้สำหรับคนแก่ และบุคลากรทางการแพทย์ นำมาสู่การคิดวางกลยุทธ์แบบใหม่ ด้วยการเป็นผู้นำเทรนด์โลก และเชื่อมโยงกับแต่ละท้องถิ่น พร้อมกับร่วมมือกับเหล่านักร้อง เซเลบริตีชื่อดังระดับโลก อย่างเช่น Bad Bunny แรปเปอร์ชาวเปอร์โตรีโก หรือ Justin Bieber เป็นต้น

4

ภาพจาก https://bit.ly/3ShMqH0

แม้รูปลักษณ์จะดูแปลกตาแต่ข้อดีของดีไซน์ที่ไม่เหมือนใครนี้คือการพัฒนาสินค้าให้คิดนอกกรอบได้แบบไม่จำกัดนี่เองจึงเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงเห็น Crocs ไปร่วมมือกับหลากหลายแบรนด์ และมีดีไซน์ที่แปลกประหลาดจนกลายเป็นกระแส เช่นการผลิตเป็นรองเท้าส้นสูงอย่าง Crocs x Balenciaga หรือจะเป็นรองเท้าน่องไก่ทอดของ Crocs x KFC

3

ภาพจาก https://bit.ly/3RNzw3v

นอกจากนั้น ยังมีอีกเรื่องที่คุณคูลีย์ให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ การรับฟังความต้องการของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์และพัฒนาสินค้า ให้ไปตอบโจทย์ความต้องการนั้น เช่น Crocs รุ่น Lightning McQueen สำหรับผู้ใหญ่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากตัวละครรถแข่งคันสีแดงจากภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Cars เป็นต้น

รายได้ของ Crocs เติบโตแบบก้าวกระโดดเกินกว่า 2 หมื่นล้านบาท

2

ภาพจาก https://bit.ly/3f3YHk1

ในปี 2017 Crocs มีรายได้33,335 ล้านบาท ขาดทุน 563 ล้านบาท และขาดทุนต่อเนื่องมาจนถึงปี 2019 จนมาถึงจุดเปลี่ยนในปี 2020 มีรายได้ 45,142 ล้านบาท กำไร 6,973 ล้านบาท และยังไม่หยุดเท่านี้ในปี 2021 Crocs มีรายได้ถึง 75,347 ล้านบาทและมีกำไรกว่า 22,249 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตของกำไรถึง 219%

เหตุผลที่ทำให้ Crocs กลับมาผงาดได้อย่างยิ่งใหญ่เพราะหันไปเน้นการตลาดที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภค (Customer Experience) ได้อย่างสนุกสนาน และเข้ามาเติมสีสันให้กับรองเท้าหัวโต ที่บางคนมองว่าดีไซน์แปลกได้และในปัจจุบัน Crocs ได้กลายเป็นต้นแบบของ “ รองเท้าหัวโต ” ที่จับกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ได้อย่างดี ชูคอนเซปต์

1

ภาพจาก https://bit.ly/3BSi9sB

“รองเท้าที่ใส่สบาย และยังสามารถโชว์ความเป็นตัวเองได้อีกด้วย” รวมถึงทางยังมีการปรับโฉมหน้าร้านให้ดึงดูดขึ้น ด้วยการเอาแท่นวาง Jibbitz Charms ไปตั้งโชว์บริเวณทางเข้าร้าน และมีตัวอย่างการตกแต่งหลายสไตล์ให้ดู ซึ่งเป็นการเรียกสายตาผู้คนที่เดินผ่านไปมา ยิ่งเป็นการสร้างกระแสและสร้างสีสันมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างมาก

ไม่เพียงเท่านั้นข้อมูลระบุอีกว่าในปี 2020 ยอดขายของ Crocs มาจากช่องทางอีคอมเมิร์ซกว่า 25.9% มาจากการขายส่ง 50% และมาจากการขายปลีก 24.1% และคาดว่าในปี 2026 จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 167,000 ล้านบาท ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลมาจากกลยุทธ์ด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ จับกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และหันมาเน้นการตลาดออนไลน์ร่วมด้วย เป็นกรณีศึกษาสำหรับคนที่อยากสร้างธุรกิจและต้องการประสบความสำเร็จที่ควรศึกษาไว้

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3DwCXqT , https://bit.ly/3SiyDzX , https://bit.ly/3Dzpi2k , https://bit.ly/3QTGNgZ , https://bit.ly/3Sw3wkz

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3DDuYIW

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด