CP All ติดต่อมาขอเช่าเปิดร้าน 7-Eleven ต้องคิดค่าเช่ายังไง
เชื่อว่าหลายๆ คนที่มีที่ดินว่างเปล่า หรือตึกพาณิชย์ 2-3 คูหา อาจจะเคยมีเจ้าหน้าที่จากทางบริษัทร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มาติดต่อขอเช่าพื้นที่ตึก หรือที่ดิน เพื่อเปิดร้านสะดวกซื้อ แต่ปัญหาคือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร คิดค่าเช่ายังไง รู้สึกสับสนคิดไม่ถูก โดยเฉพาะเรื่องของการต่อรองค่าเช่า รวมถึงการทำสัญญาเช่าต่างๆ
หากใครกำลังเจอปัญหาหรือเหตุการณ์แบบนี้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำเทคนิคเกี่ยวกับการคิดค่าเช่า และอื่นๆ เมื่อมีเจ้าหน้าที่ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ต่างๆ มาติดต่อขอเช่าพื้นที่สำหรับเปิดร้านมาให้เป็นแนวทางครับ
หากมีเจ้าหน้าที่ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มาติดต่อขอเช่าพื้นที่ตึกพาณิชย์ หรือที่ดินว่างเปล่าสำหรับเปิดร้านสะดวกซื้อ เริ่มแรกเจ้าของตึกพาณิชย์หรือเจ้าของที่ดิน ควรพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ไปเลย สอบถามว่าเขาต้องการเช่าพื้นที่เท่าไหร่ จำนวนกี่คูหา หรือถ้าเป็นที่ดินจะใช้ขนาดพื้นที่กี่ตารางเมตร ซึ่งอาจจะต้องรวมพื้นที่จอดรถด้วย
ภาพจาก https://bit.ly/3ip1Xoo
โดยปกติทั่วไปแล้วร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven จะมีหลักเกณฑ์ในเรื่องของราคาเช่าตึกพาณิชย์ หรือที่ดินอยู่แล้ว แต่ละที่แต่ละทำเลราคาค่าเช่าอาจแตกต่างกันบ้าง แต่ไม่ถึงกับแตกต่างกันมากนัก ต้องขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากร การสัญจร แหล่งที่พักอาศัย ย่านชุมชน ตลาด ติดถนนใหญ่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพิจารณาเลือกทำเลเปิดร้าน 7-Eleven
หลักการคิดค่าเช่าสามารถต่อรองขึ้น-ลงกับเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร และราคาเหมาะสม บางครั้งเจ้าของพื้นที่อาจต้องไปสอบถามกับเจ้าของพื้นที่อื่นๆ ใกล้เคียงเกี่ยวกับราคาค่าเช่า หากเจ้าหน้าที่เสนอมาราคาต่ำกว่าคนอื่นๆ ในละแวกเดียวกันก็ต่อรองราคาเพิ่มขึ้นได้ หรือไม่มั่นใจก็หาคนที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ จะได้ประเมินค่าใช้จ่ายและรายละเอียดสัญญาการเช่าพื้นที่ให้ได้ถูกต้อง แล้วถ้าตกลงกันได้ก็ให้เช่า แต่ถ้าตกลงไม่ได้ก็ไม่ต้องให้เช่า
โดยทั่วไปค่าเช่าตึกพาณิชย์ 3 คูหา ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณหลักหมื่นบาทขึ้นไปจนถึงหลักแสนบาท หรือถ้าเป็นที่ดินว่างเปล่าการเปิดร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง จะใช้พื้นที่ประมาณ 150-200 ตารางเมตร รวมที่จอดรถ ซึ่งการคิดค่าเช่าจะต้องคำนึงถึงความเจริญและศักยภาพของทำเลนั้นๆ ด้วยเช่นกัน ถ้าไม่รู้ก็ต้องมีที่ปรึกษามาช่วย
เทคนิคให้เช่าและทำสัญญาเช่า
ภาพจาก https://bit.ly/3L4j7Uq
- ทำสัญญาให้เช่าครั้งละ 10-12 ปี (ระยะสัญญาแฟรนไชส์ 7-Eleven)
- ปรับเพิ่มค่าเช่าทุกๆ 3 ปี ครั้งละ 10%
- ค่าภาษีโรงเรือนผู้เช่าจ่าย
- ค่าเช่าโอนเข้าบัญชีเดือนละ 1 ครั้ง
ในสัญญาต้องทำให้รัดกุมทุกประเด็นโดยมีที่ปรึกษาดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การประกันภัย ภาษี การปรับปรุงให้กลับคืนสภาพเดิมภายหลังเลิกเช่า การบอกเลิกสัญญา ค่าปรับต่าง ๆ (จ่ายล่าช้า, บอกเลิกสัญญาก่อน ฯลฯ) การเช่าช่วง อื่นๆ เป็นต้น
ตัวอย่างสัญญาเช่าที่ดิน (ระยะยาว)
ภาพจาก https://bit.ly/3N78SRm
ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.ddproperty.com ระบุว่า สัญญาเช่าที่ดินระยะยาว เป็นสัญญาสำหรับการเช่าเกินกว่า 3 ปี (สัญญาแฟรนไชส์ 7-Eleven 10 ปี) ซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าจะต้องจดทะเบียนสัญญาเช่า ณ สำนักงานที่ดินในเขตที่ที่ดินนั้นๆ ตั้งอยู่ โดยมีประเภทของสัญญาที่แยกย่อยลงไปอีก ได้แก่
1. สัญญาเช่าธรรมดา
- สัญญาที่มีลักษณะเหมือนสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่ผู้เช่าเสียแค่ค่าเช่า (ค่าตอบแทน) ต่อผู้ให้เช่า
- ผู้เช่าไม่สามารถถ่ายโอนสิทธิในการเช่าได้ เช่น หากผู้เช่าเสียชีวิตในช่วงเวลาที่ยังอยู่ในสัญญา สัญญานั้นก็ถือเป็นที่สิ้นสุด ไม่สามารถส่งภาระต่อถึงทายาทได้
- ในกรณีที่ต้องฟ้องร้องกัน ผู้ที่ประสงค์จะฟ้องร้องต้องมีเอกสารสัญญาเช่าที่ชัดเจนถึงจะดำเนินการได้ เช่น เจ้าของตึกจะฟ้องร้องเอาความผิดหรือค่าเสียหายจากผู้เช่าได้ก็ต่อเมื่อมีหนังสือสัญญาเช่าที่ทำ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น
- ในกรณีที่ฟ้องร้องกัน หากทำสัญญาเช่าที่ดิน 3 ปี ก็จะต้องฟ้องร้องภายใน 3 ปี
2. สัญญาเช่าต่างตอบแทน
- สัญญาที่ผู้เช่าจะต้องเสียค่าตอบแทนอย่างอื่นตามที่ตกลงกับผู้ให้เช่า นอกเหนือจากค่าเช่า
- ผู้เช่าสามารถถ่ายโอนสัญญาเช่าไปยังทายาทได้ ในกรณีที่ผู้เช่าเสียชีวิตในช่วงที่ยังอยู่ในสัญญา ทายาทจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเช่าในเวลาที่เหลือ
- ในกรณีที่มีการปลูกสร้างอาคารบนพื้นที่เช่า ผู้เช่าจะต้องเสียค่าก่อสร้าง และอาคารที่สร้างเสร็จแล้วก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า
- ในกรณีที่อาคารเช่ามีสภาพชำรุด ผู้เช่าจะต้องปรับปรุงต่อเติมเอง โดยที่กรรมสิทธิ์ของการปรับปรุงหรือต่อเติมนั้นจะตกเป็นของผู้ให้เช่า
เสนอพื้นที่ให้เช่าเปิดร้าน 7-Eleven
ภาพจาก https://bit.ly/3qlqajA
ปัจจุบัน 7-Eleven มีจำนวนมากกว่า 12,000 สาขาทั่วประเทศ และมุ่งสู่เป้าหมาย 13,000 สาขา ภายในปี 2565 ซึ่งส่วนหนึ่งของการเติบโตมาจากธุรกิจ Store Business Partner (SBP) ที่มีระบบที่แข็งแกร่ง รวมถึงการเลือกทำเลเปิดร้านถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ทำให้ร้าน 7 – Eleven อยู่เคียงคู่คนไทยในทุกชนมายาวนาน
หากท่านใดที่มีพื้นที่อาคารหรือทำเลที่น่าสนใจ เพื่อเปิดเป็นร้าน 7 – Eleven ร้านอิ่มสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง สามารถร่วมเสนอพื้นที่กับเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-826-7800
#หวังหว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีตึกพาณิชย์ให้เช่า หรือที่ดินว่างเปล่าให้เช่าไม่มาก็น้อย แต่ที่สำคัญหากไม่รู้ว่าจะคิดค่าเช่าจริงๆ ควรมีที่ผู้รู้และปรึกษามาช่วยครับ
ข้อมูลจาก https://bit.ly/3L1qCeQ , https://bit.ly/36vknkz , https://bit.ly/3ikXm6y
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3itWeO9
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)