Core Competency ในธุรกิจแฟรนไชส์

เป็นแฟรนไชส์เหมือนกันแต่ทำไมประสบความสำเร็จไม่เหมือนกัน?? บางแบรนด์ขยายสาขาได้เยอะ ใครๆก็อยากลงทุนด้วย ขณะที่บางแบรนด์คนสนใจน้อย ไม่มีคนสนใจอยากลงทุนด้วย สิ่งสำคัญที่คนทำแฟรนไชส์อาจไม่รู้นั่นคือ Core Competency

ที่หมายถึง สมรรถนะความสามารถที่ องค์กรคาดหวังว่าบุคลากรทุกคนทุกระดับจำเป็นต้องมี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์กรโดยรวมพฤติกรรมเหล่านั้นจะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตาม

Core Competency สำคัญยังไงกับแฟรนไชส์?

Core Competency ธุรกิจแฟรนไชส์

ลองนึกภาพตามว่าแฟรนไชส์หนึ่งแบรนด์ จะเติบโตด้วยคนการบริหารงานแค่คนเดียวนั่นเป็นไปไม่ได้ ยิ่งเป็นแบรนด์ใหญ่เท่าไหร่ยิ่งต้องใช้คนเยอะ แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีใจรักในการทำงาน ให้ทุกคนทำงานเป็นไปทิศทางเดียวกัน เป็นเหตุผลอีกว่าทำไมแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ ถึงจำเป็นต้องคัดบุคลากรที่มีแนวคิดสอดคล้องกับธุรกิจ ก็เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทุกคนอยากประสบความสำเร็จไปพร้อมกัน

ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกามีการขยายสาขาแฟรนไชส์ไปทั่วโลกกว่า 81,887 สาขาในปัจจุบัน ขณะที่ในไทยขยายแฟรนไชส์ไปแล้วกว่า 13,433 สาขา หรือแมคโดนัลด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มาตรฐานสินค้าและบริการเหมือนกันทุกสาขา เป็นต้น

นั่นเพราะ Core Competency ของแบรนด์เหล่านี้ชัดเจนว่าต้องการพนักงานแบบไหนมาร่วมงาน ต้องการบุคลากรแบบใดที่ทำให้องค์กรก้าวหน้า เมื่อคนพร้อมและมีแนวทางการบริหารที่ชัดเจนก็เร่งให้ธุรกิจเติบโตเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Core Competency ยิ่งชัดเจน คนยิ่งต้องการซื้อแฟรนไชส์

Core Competency ธุรกิจแฟรนไชส์

ถ้าเราเป็นคนที่อยากซื้อแฟรนไชส์มาลงทุนสักแบรนด์สิ่งที่เราจะมองคืออะไรบ้าง?? ลงทุนแล้วคุ้มค่าไหม? โอกาสคืนทุนเป็นอย่างไร? มีการสนับสนุนดูแลเราดีแค่ไหน? ชื่อเสียงของแบรนด์เป็นที่รู้จักให้เราขายง่ายไหม?

นั่นคือสิ่งที่ Core Competency แฟรนไชส์ไหนยิ่งชัด คนก็จะเลือกลงทุนได้ง่าย ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ธุรกิจห้าดาวมีสาขามากกว่า 9,000 สาขาทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะนักลงทุนเชื่อมั่นในตราสินค้า ยี่ห้อมีชื่อเสียงรู้จักทั่วประเทศ แต่ที่ยิ่งกว่านั้นคือผู้ลงทุนมั่นใจในประสิทธิภาพของการบริหารจัดการเช่น

  • การถ่ายทอดและได้รับการความช่วยเหลือด้าน know-how ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงานต่างๆ ภายในร้าน
  • มีการจัดส่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
  • มีการส่งเสริมด้านการตลาดให้อย่างดี ทำให้คนรู้จักแบรนด์มากขึ้น
  • มีทีมงานคอยสนับสนุนและให้คำปรึกษาพร้อมดูแลคนลงทุนเป็นอย่างดี

และทุกสิ่งที่เป็นการบริหารจัดการแบบมีประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าบุคลากรไม่มีคุณภาพและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีแนวคิดในการทำงานที่เหมือนกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญว่า Core Competency ยิ่งชัดเท่าไหร่ธุรกิจแฟรนไชส์ก็มีโอกาสเติบโตมากขึ้นเท่านั้น

Core Competency ในฐานะเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์)

ก่อนจะขายแฟรนไชส์ให้ใคร “ตัวตนของเราต้องชัดเจน” ยิ่งเป็นแฟรนไชส์ซอร์ เราต้องมีทักษะที่ชัดเจนในทุกแง่มุมเพื่อเป็น Core Competency ที่มีประสิทธิภาพและเพื่อให้คนซื้อแฟรนไชส์ต่อจากเราได้ดูเป็นแบบอย่างจะได้มั่นใจมากขึ้นด้วย

Core Competency ธุรกิจแฟรนไชส์

สิ่งที่ควรมีเช่น

  • ทักษะการบริหาร – คือความสามารถ ความชำนาญการของผู้บริหารในการจัดการเครือข่ายแฟรนไชส์อย่างมีระบบ และบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยผ่านการใช้ทรัพยากรทั้ง คน เงิน และเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะการขายแฟรนไชส์ – ต้องมีทักษะในเรื่องของการเจรจาและการขายแฟรนไชส์ และจะต้องรู้จักการปิดขายแฟรนไชส์ด้วยเช่นเดียวกัน ตลอดจนมีการสร้างระบบการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน
  • ทักษะบริหารจัดการเงิน – เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้จักการบริหารจัดการบัญชี ระเบียบการเงินเพื่อจะได้ถ่ายทอดความรุ้นี่แก่ผู้ลงทุนรายอื่นได้
  • ทักษะการวางแผนตลาด – แฟรนไชส์ซอร์ต้องสามารถแสดงแผนการตลาดที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต และช่วยให้แฟรนไชส์ซีมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะค่าการตลาดที่แฟรนไชส์ซอร์เรียกเก็บคือสิ่งที่แฟรนไชส์ซีคาดหวังว่าจะทำให้มีโอกาสขายได้มากขึ้น
  • ทักษะความเป็นผู้นำ – ในบางสถานการณ์มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องให้คิดและลงมือทำทันที เช่น ต้องกล้าเจรจากับเจ้าของห้างเพื่อลดค่าเช่า หรือกล้าที่จะปรับรูปแบบร้านให้เล็กลง เพื่อขายได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
  • มีความรู้เรื่องกฎหมาย – กฎหมายหลายอย่างแฟรนไชส์ซอร์ต้องรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้และเป็นที่ปรึกษาให้คนลงทุนได้เช่น การทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ในรูปแบบต่างๆ
  • มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี – ในฐานะแฟรนไชส์ซอร์ยุคนี้ต้องมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำธุรกิจ ยิ่งมีความรู้ที่ชัดเจน เข้าใจได้ลึกซึ้งจะถ่ายทอดข้อมูลสู่คนสนใจลงทุนได้ง่าย ยิ่งทำให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • มีทักษะด้านการวิเคราะห์ – ก่อนที่คิดขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค ทำเลเปิดร้าน รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจตัวเองว่า พร้อมหรือยัง ก็เพื่อให้แนวทางนี้สามารถพูดคุยส่งต่อให้คนลงทุนที่อยากขยายสาขาตัวเองในอนาคตได้ด้วย

ในทางกลับกันคนที่เป็นแฟรนไชส์ซีเมื่อซื้อแฟรนไชส์มาลงทุนต่อ ก็จำเป็นต้องมี Core Competency ในส่วนของแฟรนไชส์ซีด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการบริหาร , ทักษะการขายของ , ทักษะการหาทำเล , ทักษะการบริหารเงิน

ทักษะทำงานเป็นทีม , ทักษะในการตัดสินใจ , ทักษะแสดงความคิดเห็น และ ทักษะของความเป็นผู้นำ ก็เพื่อให้ทุกอย่างเป็นแนวทางในการเติบโตด้านการลงทุนและเพื่อให้เป็นแบบอย่างสำหรับคนที่มองถึงการขยายสาขาแฟรนไชส์ตัวเองที่ซื้อมาให้เติบโตมากขึ้นในอนาคต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด