Cooler City แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน เตรียมเข้าไทย

อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์จากจีน ที่คาดว่าเตรียมบุกตลาดเมืองไทยอย่างแน่นอน นั่นคือ Cooler City แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน สไตล์ MIXUE และ Ai-Cha ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 2,000 สาขา ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

เรื่องราวของ Cooler City มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2561 ภายใต้บริษัท Zhejiang BODUO Food Technology Co.,Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากกว่า 20 ปี มีโรงงานอาหาร 4 แห่ง

มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดหาวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั้งในเอเชียและยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Boduo ทำธุรกิจในกว่า 30 ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

Cooler City แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน

Cooler City เดินเกมธุรกิจแบบเดียวกับ Mixue เปิดตลาดในเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ก่อน มีเมนูหลากหลายกว่า 60 เมนู ทั้งชาผลไม้ น้ำผลไม้สด เช่น มะนาว เสาวรส มะม่วง ส้มโอสีชมพู เป็นต้น รวมถึงไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟหลายรสชาติ อาทิ ไอศกรีมวานิลลา ช็อกโกแลต สตรอเบอร์รี่ มัทฉะ โยเกิร์ต

รวมถึงเมนูไอศกรีมตามฤดูกาล มีการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสูง ราคาต่ำกว่า Mixue ด้วยซ้ำ อย่างในเวียดนามขายราคาเริ่มต้น 9,000 – 29,000 ดอง หรือ 12.90 บาท – 41.57 บาท (22 ก.ค. 2567) ส่วน Mixue ขายไอศกรีม 1,000 ดอง

Cooler City แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน

Cooler City ใช้สูตรธุรกิจ “ราคาถูก + แฟรนไชส์” แบบเดียวกับ Mixue ทำให้ขยายสาขาได้เร็ว อย่างในเวียดนามเปิดสาขาแรกต้นปี 2566 จนมีสาขาไปแล้ว 21 แห่ง รูปแบบขยายแฟรนไชส์ของ Cooler City จะให้สิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์แก่บริษัทในประเทศนั้นๆ บริหารจัดการและขายแฟรนไชส์ให้แก่นักลงทุนทั่วไปแบบเดียวกับ Mixue และ Ai-Cha เลย

เอกลักษณ์การออกแบบตกแต่งร้านของ Cooler City จะออกโทนสีฟ้าสดใส มีมาสคอตเป็นนกเพนกวิน น่ารักสะดุดตา ไอศกรีมเนื้อนุ่ม ชากลิ่นหอม กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น โดยนับตั้งแต่ Cooler City เปิดตัวในเวียดนาม ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เพราะราคาถูกกว่าชานมยี่ห้ออื่นในเวียดนาม เช่น TocoToco, Bobapop, Ding Tea เป็นต้น

Cooler City แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน

สำหรับนักลงทุนชาวไทยที่สนใจแฟรนไชส์ Cooler City อดใจรออีกสักพัก คาดว่าน่าจะเข้ามาในไทยอย่างแน่นอน ตามกระแสทุนจีน แต่ก่อนอื่นมาดูงบการลงทุนแฟรนไชส์ Cooler City คร่าวๆ ว่าใช้เงินเท่าไหร่?

จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ Cooler City ในประเทศอินโดนีเซีย ระบุราค่าแฟรนไชส์จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ในอินโดฯ เปิดแฟรนไชส์ 1 ร้าน ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 260,000,000 – 265,000,000 รูเปียห์อินโดนีเซีย (582,717 – 593,923 บาท) ค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมถึงค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ การจัดการรายปี เงินมัดจำ การฝึกอบรม วัสดุและอุปกรณ์

Cooler City แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน

ภาพจาก www.facebook.com/coolercity.thitransocson

จะเห็นได้ว่า Cooler City เล่นกลยุทธ์ราคาถูกจริงๆ ถูกกว่า Mixue ทั้งราคาสินค้าและงบลงทุนแฟรนไชส์ แต่ในแง่ของความสะดวกสบายในร้าน อาจจะเป็นรอง Mixue ที่ในร้านจะมีพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า

แต่ถึงอย่างไรหาก Cooler City เข้ามาในไทยเมื่อไหร่ น่าจะสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดชานมและไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟได้ไม่น้อย และคาดว่าในอนาคตจะมีแบรนด์อื่นๆ ราคาถูก ทำธุรกิจสไตล์เดียวกัน เกิดขึ้นใหม่ตามมาอีกมากมาย

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช