Content Marketing for Franchise Business
Content Marketing เป็นส่วนหนึ่งใน Digital Marketing หัวใจสำคัญของการทำตลาด นำเสนอแฟรนไชส์ให้ลูกค้าเป้าหมายได้รู้จักผ่านคอนเทนต์ อาทิ ข้อความ บทความ วิดีโอ รูปภาพ รีวิว สเตตัส โพสต์ ฯลฯ
หากเจ้าของแฟรนไชส์ต้องการทำคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องทำ Content Marketing ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการ กระตุ้นการซื้อ ดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ติดตามแบรนด์มากขึ้น
ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ต้องทำ Content Marketing
- Brand Awareness การสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ให้กับกลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ เมื่อลูกค้ารู้จักธุรกิจแฟรนไชส์ ว่ามีสินค้าและบริการมีมาตรฐานอย่างไร ตอบโจทย์ตลาดและผู้บริโภคแค่ไหน จะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
- Lead Conversion & Nurturing เป็นการหล่อเลี้ยงและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเป้าหมายไปเรื่อยๆ เพื่อให้กลุ่มคนที่ติดตามแบรนด์แฟรนไชส์ต่อนื่อง จนเปลี่ยนใจมาซื้อแฟรนไชส์ของคุณแบบค่อยเป็นค่อยไป
- Customer Conversion ช่วยส่งเสริมการขายสร้างยอดจำนวน Conversion, Lead เพราะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะหันมาติดตามคอนเทนต์ที่เจ้าของแฟรนไชส์นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งหลังจากกลุ่มคนเหล่านี้ได้เห็นสินค้าและบริการของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการของพวกเขาแล้ว อาจนำไปสู่การตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น
- Customer Service การสร้างคอนเทนต์คือ การให้บริการลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าอยากรู้เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หรือธุรกิจแฟรนไชส์ ข้อมูลการลงทุน หากทำคอนเทนต์ให้ความรู้ กลุ่มลูกค้าอาจติดตามคอนเทนต์ นำไปสู่การซื้อแฟรนไชส์ได้
- Retention / Loyalty การนำเสนอคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ ช่วยเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์แฟรนไชส์ เพราะคนเหล่านี้ได้เห็นสินค้าหรือบริการอย่างสม่ำเสมอ
ลักษณะของ Content Marketing ที่ดี
- สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นำเสนอเนื้อหาชวนน่าติดตาม
- ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- นำเสนอและเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
- ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- สดใหม่ ทันกระแส ติดตามเทรนด์ใหม่ๆ
- แก้ปัญหาหรือตอบคำถามให้ลูกค้าได้
- ช่วยส่งเสริมการขายแฟรนไชส์ได้
รูปแบบการทำ Content Marketing
1. Promotional Content
การสร้างคอนเทนต์โปรโมชั่น กิจกรรมส่งเสริมการขาย ราคาขาย ลด แลก แจก แถม ของธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อนำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์
2. Solvable Content
คอนเทนต์ช่วยแก้ปัญหาหรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า เช่น ขั้นตอนการเปิดร้านแฟรนไชส์ หลักการการบริหารร้านแฟรนไชส์ วิธีการเริ่มต้นทำธุรกิจ การหารายได้เพิ่ม โดยให้ลูกค้าเป้าหมายได้เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณช่วยเขาได้
3. Video Content
คอนเทนต์นำเสนอรูปแบบวิดีโอ ช่วยให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เห็นภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ของแฟรนไชส์ อาทิ การทำอาหารทำขนม คลิปลูกค้าต่อคิวซื้อ ทำให้คนดูเกิดอารมณ์ร่วม ดึงดูดให้ติดตาม นำไปสู่การตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ในภายหลังได้
4. Real Time Content
คอนเทนต์เกาะติดกระแสฮิต หรือเทรนด์ที่กำลังมาแรงในแต่ละช่วงเวลา สามารถช่วยให้แบรนด์แฟรนไชส์มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ช่วยสร้างสีสันและสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและคนติดตามแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
5. Infographic Content
คอนเทนต์รูปแบบการสรุปข้อมูลจำนวนมากในภาพเดียว ทำให้เข้าใจง่าย มักจะเป็นคอนเทนต์ที่แสดงสถิติ ความแตกต่าง และกรณีศึกษา ที่มีความหลากหลายของข้อมูล นำมาเรียบเรียงให้คนติดตามแบรนด์อ่านและเข้าใจง่าย
ขั้นตอนการสร้าง Content Marketing ในธุรกิจแฟรนไชส์
1. ตั้งเป้าหมายการตลาด
การตั้งเป้าหมายทางการตลาด เช่น ยอดจำนวนคนเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ คนกดติดตามเพจเฟซบุ๊ค ยอดจำนวนวิว จำนวนคนติดตามในระยะเวลา 1 เดือน หรือ 2 เดือน จำนวนลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ และจำนวนคนพูดถึงแบรนด์แฟรนไชส์
2. ประเมินศักยภาพธุรกิจ
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ว่าขายอะไร คุณค่าอยู่ที่ไหน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ความท้าทาย ความแตกต่างจากแบรนด์อื่นคืออะไร เมื่อวิเคราะห์ธุรกิจตัวเองแล้วต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายซื้อแฟรนไชส์เป็นใคร ธุรกิจแฟรนไชส์เหมาะกับกลุ่มไหนมากที่สุด เพื่อสื่อสารและเลือกใช้ช่องทางให้ถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย สุดท้ายต้องรู้ว่าคู่แข่งของคุณคือใคร เพื่อศึกษากลยุทธ์ สร้างเอกลักษณ์ให้แตกต่างคู่แข่ง พัฒนาธุรกิจดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมาติดตามแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณมากขึ้น
3. น้ำเสียงและท่าทีสื่อสารของแบรนด์
นอกจากภาษาที่พูดและเขียน ยังมีคาแรกเตอร์ของแบรนด์ เช่น สี โลโก้ การใช้รูปภาพ การตัดต่อเสียง วิดีโอ คนพูด คนเขียน ตลอดจนต้องวางแผนว่าจะใช้เป็นเสียงเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ เพื่อนำเสนอคอนเทนต์ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
4. ระยะเวลา / ขั้นตอนตัดสินใจของลูกค้า
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ก่อนว่ากลุ่มลูกค้ามีปัญหาอะไร ต้องการอะไร เพื่อจะได้นำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกับความต้องการของพวกเขา แต่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเข้าใจช่วงระยะเวลาการตัดสินใจของลูกค้าด้วย หลังจากนั้นค่อยทำคอนเทนต์เผยแพร่ออกมาให้ตรงกับช่วงระยะเวลาการตัดสินใจของลูกค้า
- Awareness ขั้นตอนนี้ลูกค้าอาจยังไม่รู้หรือเพิ่งรู้ว่าตัวเองมีปัญหา หรือมีความต้องการอะไร คอนเทนต์ที่ควรนำเสนอคือ ให้ความรู้เรื่องแฟรนไชส์ กระตุ้นความอยากได้ กระตุ้นความต้องการ ทำให้เขาอยากเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์
- Consideration ขั้นตอนนี้ลูกค้าเข้าใจปัญหาของตัวเองแล้ว อยากเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์ อยากมีรายได้เพิ่ม อยากประสบความสำเร็จ พวกเขากำลังพิจารณาและตัดสินใจ เจ้าของแฟรนไชส์ควรทำคอนเทนต์ให้เขาพิจารณาเลือกแบรนด์แฟรนไชส์คุณเร็วขึ้น เช่น รายละเอียดข้อมูลแฟรนไชส์ จุดเด่นแฟรนไชส์ งบการลงทุน สิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับ เป็นต้น
- Decision ขั้นตอนนี้ลูกค้าตัดสินใจเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณแล้ว เจ้าของแฟรนไชส์ควรนำเสนอคอนเทนต์ที่ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อทันที เช่น โปรโมชั่น ราคาส่วนลด ระยะเวลาเปิดร้าน เงื่อนไขการชำระเงิน การฝึกอบรม เป็นต้น
5. วางแผนการทำคอนเทนต์
เจ้าของแฟรนไชส์ควรรู้ว่าต้องทำคอนเทนต์อะไร รูปแบบไหน ปริมาณเท่าไหร่ นำเสนอช่องทางไหน เพื่อให้ตอบโจทย์ตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ก่อนอื่นเจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้จุดประสงค์ของการทำคอนเทนต์ซึ่งมีอยู่ 4 แนวทาง คือ
- Entertain คอนเทนต์สร้างความสนุกสนาน ผ่อนคลาย
- Inspire คอนเทนต์สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้อยากซื้อ อยากเป็นเจ้าของร้านแฟรนไชส์
- Educate คอนเทนต์ให้ความรู้ สร้างความน่าเชื่อ สร้างความภักดีต่อแบรนด์แฟรนไชส์
- Convince คอนเทนต์ดึงดูด ชักชวน โน้มน้าว เชิญชวนให้ซื้อหรือเป็นเครือข่ายแฟรนไชส์
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ด้วยว่า สินค้าหรือบริการของแฟรนไชส์เหมาะกับคอนเทนต์แบบไหน กลุ่มลูกค้าต้องการคอนเทน์แบบไหนในการตัดสินใจซื้อ รวมถึงนำเสนอคอนเทนต์แบบไหนช่วยให้คนทั่วไปติดตามแบรนด์แฟรนไชส์
6. การผลิตคอนเทนต์
เมื่อรู้ว่าจะทำคอนเทนต์อะไร รูปแบบไหน ให้วางแผนการทำงานร่วมกับทีมงาน กำหนดวันเสร็จ วันเผยแพร่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ จุดประสงค์ของงาน ช่องทางเผยแพร่ เช่น เว็บไซต์ อีเมล์ โซเชียลมีเดีย ยูทูป TikTok เป็นต้น
7. เผยแพร่คอนเทนต์
เมื่อสร้างคอนเทนต์เสร็จแล้ว ถึงเวลาจะต้องเผยแพร่หรือโปรโมท ผ่านช่องทางเว็บไซต์ บล็อก วิดีโอ หรือ โซเชียลมีเดีย เจ้าของแฟรนไชส์ควรเลือกช่องทางการเผยแพร่ที่ตรงกับกลุ่มลูกค้า แต่ละช่องทางการเผยแพร่จะได้ผลลัพธ์ต่างกัน ช่วงเวลาในการเผยแพร่จะไม่ตรงกันด้วย บางคอนเทนต์ผลตอบลัพธ์ดีบนโซเชียลมีเดีย หรือดีบน Search Engine
ดังนั้น เจ้าของแฟรนไชส์ควรเลือกใช้สื่อในการเผยแพร่คอนเทนต์ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ติดตามแบรนด์มากที่สุด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)