Check List ความพร้อมธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อนขยายสาขา
ก่อนขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีความพร้อมในเรื่องอะไรบ้าง? เจ้าของธุรกิจ เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่อยากขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ในช่วงท้ายปี 2567 ลอง Check List ตรวจเช็คธุรกิจและตัวเองก่อนว่า มีความพร้อมหรือขาดส่วนไหนบ้าง
1. มีความรู้เรื่องธุรกิจแฟรนไชส์ดีพอหรือยัง
ก่อนขายแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจควรมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์ดีพอสมควร จะได้รู้วิธีการสร้างระบบแฟรนไชส์ ตั้งแต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการ การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน การเขียนสัญญาแฟรนไชส์ ตลอดเงื่อนไขและข้อปฏิบัติต่างๆ ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี หากไม่มีความรู้เรื่องแฟรนไชส์อาจเกิดปัญหาเหมือนกรณีลูกชิ้นเชฟอ้อย
2. จดเครื่องหมายการค้าและบริการหรือยัง
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการในธุรกิจแฟรนไชส์ ถือเป็นการยืนยันสิทธิ์ความเป็นเจ้าของตามกฎหมาย ให้กับธุรกิจ สินค้าหรือบริการ ภายในประเทศนั้นๆ ถือเป็นการห้ามปรามผู้อื่นไม่ให้มาใช้ชื่อเดียวกับเรา สามารถใช้การคุ้มครองตามกฎหมายได้นานถึง 10 ปีต่อการจดทะเบียน 1 ครั้ง เมื่อหมดอายุเราก็สามารถจดทะเบียนต่อได้ไม่จำกัด
3. สินค้าและบริการเป็นที่นิยมในวงกว้างหรือไม่
สินค้าและบริการภายใต้แบรนด์เป็นที่นิยมของลูกค้าหลากหลายกลุ่ม กินหรือใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ถ้าเป็นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์คนทุกพื้นที่ทั้งในและต่างประเทศยิ่งดี เพราะจะขยายสาขาได้ง่าย พอเปิดร้านที่ไหนแล้วมีลูกค้ารองรับแน่นอน
4. สร้างระบบหลังบ้าน คู่มือแฟรนไชส์หรือยัง
ระบบหน้าบ้านจะเกี่ยวกับการขายและบริการ ปัจจุบันมีระบบเทคโนโลยี POS ช่วยให้การทำงานง่ายและสะดวกขึ้น ส่วนระบบหลังบ้านจะเป็นการจัดทำคู่ปฏิบัติงานในร้าน เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานและรูปแบบเดียวกัน
5. กำหนดค่าธรรมเนียมและค่าสิทธิ์หรือยัง
ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าสิทธิ์ส่วนนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยค่าสิทธิ์ Royalty Fee และ Marketing Fee เก็บรายเดือนหรือปีเป็นเปอร์เซ็นต์ อาจจะเฉลี่ยประมาณ 3-5% โดยเงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ ของแบรนด์ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายให้แต่ละสาขาแฟรนไชส์
6. เขียนสัญญาและข้อตกลงแฟรนไชส์หรือยัง
ก่อนขายแฟรนไชส์ผู้ขายและผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรทำข้อตกลงร่วมกันให้ชัดเจนในรูปแบบสัญญาแฟรนไชส์ ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อกำหนดต่างๆ เช่น หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ระยะเวลาสัญญากี่ปี สามารถต่อสัญญาได้หรือไม่ การบอกเลิกสัญญาภายใต้เงื่อนไขใดได้บ้าง การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน การตรวจร้านค้า การใช้วัตถุดิบ
7. มีแผนการตลาดและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์หรือยัง
แผนการตลาดที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโต และช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มียอดขายและรายได้เพิ่มมากขึ้น เพราะค่าการตลาดที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ในส่วนนี้ จะถูกนำใช้ไปกับกลยุทธ์การตลาดต่างๆ อย่างเป็นระบบแบบแผน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เคยทำแล้วประสบความสำเร็จ และนำเสนอแผนการตลาดใหม่ๆ ในอนาคต
8. จัดทำ Brand Book แฟรนไชส์หรือยัง
เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ช่วยให้เจ้าของแฟรนไชส์สร้างความสม่ำเสมอให้กับแบรนด์ สื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ ควบคุมภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดึงดูดลูกค้า สร้างความไว้วางใจของลูกค้าและเพิ่มมูลค่าแบรนด์ ทั้งการใช้ Logo, การใช้สีของแบรนด์, ลักษณะตัวอักษร, การใช้ภาพกราฟิกหรือ ลวดลายของแบรนด์ในการทำการตลาด
9. จัดทำ Sale Kit เครื่องมือขายแฟรนไชส์หรือยัง
เครื่องมือประกอบการขายที่จะช่วยใช้ทีมขายแฟรนไชส์ สามารถนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ ตลอดจนขายสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ เช่น เว็บไซต์, เพจเฟสบุ๊ค, Company Profile, Brochure, ใบสมัครแฟรนไชส์
10. มีทีมงานบริหารเครือข่ายแฟรนไชส์หรือยัง
ทีมงานแฟรนไชส์และทีมสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ก็เหมือนกับการสร้างทีมงานบริหารงานในบริษัทอื่นๆ ทั่วไป เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ แต่ละฝ่ายจะมีหน้าที่แตกต่างกัน อาทิ ทีมงานด้านการเงิน การบัญชี จัดซื้อ การตลาด ตรวจสอบ ฝึกอบรม ประเมินและวิเคราะห์ทำเล ไอที การวิจัยและพัฒนาธุรกิจ ทีมงานสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ เป็นต้น
11. จัดทำแบบฟอร์มการประเมินทำเลเปิดร้านหรือยัง
ใบประเมินทำเลในการเปิดร้านแฟรนไชส์จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ อาทิ ข้อมูลที่ตั้งสถานที่ ขนาดพื้นที่ จำนวนลูกค้า ความหนาแน่นประชาหร รายได้ สภาพจราจร คู่แข่ง สิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่อื่นๆ รอบข้าง
12. สร้างระบบจัดการและประเมินสาขาแฟรนไชส์หรือยัง
เจ้าของแฟรนไชส์อาจต้องสร้างคู่มือในการประเมินและตรวจสอบร้านสาขาแฟรนไชส์ขึ้นมา เพื่อบริหารเครือข่ายแฟรนไชส์ให้เติบโต โดยหลักๆ ต้องมีการตรวจสอบในเรื่องการบริหารจัดการหน้าร้าน การบริหารจัดการสต็อกสินค้า การบริหารจัดการพนักงาน การบริการ การบริหารจัดการลูกค้า การบริหารจัดการยอดขาย
13. มีเครือข่ายซัพพลายเออร์หรือยัง
ผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ ผู้ขนส่ง ซัพพลายเออร์เหล่านี้เปรียบเสมือนหัวใจของความสำเร็จของธุรกิจ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ต้องมีซัพพลายเออร์ที่ให้ราคาดี ถูกกว่ารายอื่น มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้
14. มี Material Network หรือยัง
เครือข่ายโรงงานหรือผู้รับผลิต-จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ในร้าน ของตกแต่งร้านแฟรนไชส์ ป้ายโลโก้ ป้ายเมนู ป้ายไวนิล รวมถึงโมเดลร้านแบบต่างๆ ทั้งคีออส ซุ้มร้านค้า เคาน์เตอร์แบบต่างๆ รถเข็น เป็นต้น
15. มี Marketing Network หรือยัง
วิธีการทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์มีทั้ง Online และ Onsite อย่างกรณีออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้การสร้างเว็บไซต์ เปิดเพจเฟสบุ๊ค สร้างกลุ่มไลน์ คลิปวิดีโอ และโปรโมทตามสื่อออนไลน์ ส่วนออฟไลน์นิยมใช้การออกบูธตามกรมพัฒน์ฯ หรือหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์ต่างๆ จัดขึ้น รวมไปถึงองค์กรที่เป็นเอเจนซี่ในการช่วยขายแฟรนไชส์ให้แทน
นั่นคือ 15 ข้อที่จำเป็นต้อง Check List ให้พร้อม ก่อนที่เจ้าของธุรกิจจะขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ซึ่งหลายๆ ข้อเจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์สามารถใช้บริการที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญให้ความช่วยเหลือได้ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)