CAPEX กับ OPEX ในธุรกิจแฟรนไชส์

การเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ให้ประสบความสำเร็จ องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะขาดไม่ได้ นั่นคือ เงินลงทุนและเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะจะช่วยขยายกิจการให้ใหญ่โต และประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ในยามเกิดวิกฤต

ถ้าในกรณีบริษัทใหญ่ๆ ที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว ถ้าเกิดวิกฤตเมื่อใด บริษัทฯ เหล่านี้จะให้ความสำคัญกับ CAPEX และ OPEX เป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับงบการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถ้าจะใช้เงินในส่วน CAPAX จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และนำเงินไปลงทุนในส่วนที่เกิดประโยชน์สูงสุด และควบคุมค่าใช้จ่าย OPAX ให้ลดลง

มาดูกันว่า CAPEX กับ OPEX ในธุรกิจแฟรนไชส์เป็นอย่างไร เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนส่วนไหนของระบบแฟรนไชส์

1. CAPEX หรือ Capital Expenditures

CAPEX กับ OPEX ในธุรกิจแฟรนไชส์

คือ การลงทุนในส่วนของสินทรัพย์ถาวรของบริษัท หรือสินทรัพย์ของกิจการนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมไปถึงทรัพยากรบุคคลในบริษัท สรุปก็คือ CAPEX เป็นงบการลงทุนเริ่มต้นธุรกิจ หรือขยายกิจการให้ใหญ่โต ในกรณีธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) CAPEX จะเกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในเรื่องต่อไปนี้

  • ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ Franchise Fee
  • ค่าก่อสร้าง ออกแบบ ตกแต่งร้าน
  • ค่าอุปกรณ์+POS
  • เงินค้ำประกัน
  • ค่าฝึกอบรม
  •  รีโนเวทร้าน

2. OPEX หรือ Operational Expenditures

CAPEX กับ OPEX ในธุรกิจแฟรนไชส์

คือ เงินลงทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจ หรือการบริหารจัดการร้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน ค่ากระดาษ ค่าที่ปรึกษา ค่าจ้างเอเจนซี่ ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามจริงในแต่ละเดือน แต่ละปี หากธุรกิจไหนสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ต่ำลงได้ จะส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น ในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) OPEX จะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในเรื่องต่อไปนี้

  • ค่าสิทธิ์ Royalty Fee
  • ค่าการตลาด Marketing Fee
  • ค่าจ้างพนักงาน
  • ค่าวัตถุดิบ
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าเช่า
  • ค่าน้ำ+ไฟฟ้า
  • ค่าซ่อมแซม+บำรุงรักษาอุปกรณ์ในร้าน

นั่นคือ งบการลงทุน CAPEX เป็นการลงทุนในระยะยาวในสินทรัพย์ถาวร และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ OPEX เป็นค่าใช้จ่ายจริงในแต่ละเดือน โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ต้องจัดเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช