Business Model Canvas (BMC) จำเป็นแค่ไหน? สำหรับ SMEs และ Start Up
เราเคยรู้ว่าหากจะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างจำเป็นต้องมี “แผนธุรกิจ (Business Plan)” เพื่อให้มองเห็นทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
แต่ตอนนี้ Business Plan กำลังถูกแทนที่ด้วย “โมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas)” หรือเรียกย่อๆว่า BMC ที่ถูกคิดค้นโดย ดร.อเล็กซานเดอร์ ออสเทอร์วัลเดอร์ (Alex Osterwalder) ที่ได้เขียนไว้ในหนังสือ Business Model Generation เมื่อปี 2010
ภาพจาก www.alexosterwalder.com/
โดย www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าโมเดลธุรกิจ (BMC) นี้น่าสนใจมาก สะท้อนได้จากงานวิจัยที่ระบุว่ามีบริษัทกว่า 5 ล้านรายทั่วโลกได้นำกลยุทธ์นี้ไปใช้โดยร้อยละ 36 นำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจใหม่ , ร้อยละ 21 นำไปพัฒนาสินค้าใหม่ และร้อยละ 19 นำไปปรับกลยุทธ์ในองค์กร
คำถามที่น่าสนใจคือ Business Model Canvas (BMC)นี้แท้ที่จริงจำเป็นแค่ไหนกับคนทำธุรกิจ SMEs และ Start Up และโมเดลธุรกิจที่ว่านี้มีข้อดีที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เราลองไปติดตามดูพร้อมกันเลย
ความแตกต่างของ Business Model Canvas (BMC) กับ แผนธุรกิจ Business Plan
ภาพจาก www.freepik.com
Business Plan (แผนธุรกิจ) หมายถึงแผน ระยะยาว 3-5 ปี ที่กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจทั้งหมด ซึ่งในการจะหาข้อมูลเพื่อทำออกมาเป็นแผนธุรกิจต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น ในขณะที่Business Model Canvas (BMC) หมายถึงรูปแบบการสร้างรายได้ของธุรกิจ หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายมันคือการที่เจ้าของธุรกิจต้องตอบคำถามได้ 2 ข้อ
คือ “เราหารายได้อย่างไร” และผู้ซื้อเขา “ได้อะไรไปจากเรา” ซึ่งทฤษฎี Business Model Canvas ช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นในการตอบทั้ง 2 คำถามนี้เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถปรับรูปแบบรายได้ หรือ โมเดลธุรกิจที่เหมาะสมกับความต้องการได้ในระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้น Business Model Canvas ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับโมเดลธุรกิจแบบดั้งเดิม และยังเป็นวิธีที่ทำให้คนในองค์กรสามารถระดมความคิดในการพัฒนาธุรกิจที่ง่ายยิ่งขึ้น โดย Business Model Canvas สามารถใช้ได้ตั้งแต่ Startup ที่พึ่งก่อตั้งไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ก็ใช้ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัท 3M, Microsoft, Lego, Coca Cola ฯลฯ ซึ่ง Business Model Canvas ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์ของธุรกิจไปในแนวทางเดียวกัน
องค์ประกอบของ Business Model Canvas (BMC)
ภาพจาก www.freepik.com
1.Customer Segments กลุ่มลูกค้าของเรา
คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราที่เราจะนำเสนอการบริการหรือสินค้าของเรา โดยการแบ่งกลุ่มลูกค้าต้องชัดเจน เช่น พื้นที่ที่อยู่อาศัยอยู่ประเทศ จังหวัดไหน อายุ เพศ พฤติกรรมความสนใจ ฯลฯ เพื่อการทำการตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
2.Value Propositions คุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้า
หมายถึงความแตกต่างที่ลูกค้าอยากตัดสินใจซื้อ เช่น ถ้าเป็นสินค้าใหม่หรือบริการใหม่ต้องเป็นสินค้าที่มีไอเดียหรือความแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นต้น
3.Channels ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า
เป็นการเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มโอกาสในการรับรู้และสร้างยอดขายได้
ภาพจาก www.freepik.com
4.Customer relationships ความสัมพันธ์กับลูกค้า
เป็นการสร้างความประทับใจให้ลูกค้ารู้สึกว่าบริการของเราพิเศษกว่า ดีกว่า เช่นการให้คำปรึกษา การรับฟังปัญหาลูกค้า เป็นต้น
5.Revenue Streams รายได้หลักของธุรกิจ
เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องรู้ว่าายได้ของธุรกิจมาจากช่องทางไหนบ้าง อาทิ การขายสินค้า การสมัครสมาชิกแบบรายเดือน/รายปี และ การให้ยืมหรือเช่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
6.Key Resources ทรัพยากรหลักของธุรกิจ
หมายถึงองค์ประกอบที่เราต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดเช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ต้นทุนในด้านต่างๆ เป็นต้น
ภาพจาก www.freepik.com
7.Key Activities กิจกรรมหลักที่ช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ
มุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าทั้ง การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและการสร้างรายได้
8.Key Partners พันธมิตรหรือหุ้นส่วนของเรา
การหาพันธมิตรเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจยุคนี้ โดยอาจเป็นความร่วมมือระหว่างกันในสินค้าบางประเภท หรือจะเป็นการร่วาทุนในการพัฒนาสินค้าร่วมกัน เป็นต้น
9.Cost Structure ต้นทุนในการทำธุรกิจทั้งหมด
คือต้องรู้ต้นทุนในการผลิตทั้งหมด เพื่อจะสามารถคำนวณกำไรในการตั้งราคาสินค้าและบริการของเราได้
ข้อดีของการใช้งาน Business Model Canvas
ภาพจาก www.freepik.com
- ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นแนวทาง จุดเด่น จุดด้อยต่าง ๆ ของธุรกิจตนเองได้อย่างชัดเจน ต่อยอดการวางแผนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดังที่คาดหวัง
- ใช้เป็นตัววิเคราะห์ประสิทธิภาพทางการตลาดขององค์กรว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางใด สิ่งที่ปฏิบัติมานั้นเหมาะสม หรือถูกต้องต่อธุรกิจมากแค่ไหน
- สร้างพื้นฐานอันแข็งแกร่งซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต เมื่อมองเห็นจุดบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็รีบแก้ไขในทันที
- พนักงานทุกภาคส่วนเข้าใจในแผนงานที่ชัดเจน มองเห็นนโยบายขององค์กรและเลือกปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผลดังที่ฝ่ายบริหารต้องการ
- การวางแผนผ่าน Business Model Canvas สามารถเอาไปใช้งานได้กับทุกธุรกิจ
ทั้งนี้ Business Model Canvas (BMC) อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น และเป็นโครงสร้างของธุรกิจที่ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนแต่เหนือสิ่งอื่นใดการทำธุรกิจจะอาศัยเพียงแค่ทฤษฏีอย่างเดียวไม่ได้จำเป็นต้องเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ
และมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ รวมถึงต้องใช้กลยุทธ์การทำตลาดที่เข้าถึงลูกค้าได้เป็นอย่างดี จึงจะทำให้ธุรกิจของเรามีโอกาสเติบโตและสร้างรายได้มากขึ้น
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bUxOtX
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)