Burgerim แฟรนไชส์เบอร์เกอร์ ปิด 100 สาขาในอเมริกา
อาหารฮาลาล ยังเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจและถูกคาดหมายว่ายังเติบโตได้อีกมากผลการวิจัยจาก Pew Research Center ระบุว่า แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรศาสตร์ ช่วงปี 2010-2050 ชาวมุสลิมมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 73% ขณะที่ศาสนาคริสต์จะมีประชากรเพิ่มขึ้น 35% ฮินดูเพิ่มขึ้น 34% และยิว 16%
แต่ถึงแม้แนวโน้มการเติบโตจะดีแต่ก็ใช่ว่าทุกธุรกิจในสไตล์ฮาลาลจะเติบโตดีเหมือนกันหมด www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าปัจจัยหลายอย่างมีผลต่อความอยู่รอดทั้งเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด ภาวะเศรษฐกิจ เหมือนปัญหาที่ Burgerim กำลังเจออยู่ในขณะนี้
Burgerim แฟรนไชส์เบอร์เกอร์สไตล์ฮาลาล
ภาพจาก bit.ly/2Rz0zmo
Burgerim เป็นแฟรนไชส์แฮมเบอร์เกอร์แนวฮาลาลที่มีการขยายสาขาในอเมริกา ธุรกิจนี้ก่อตั้งโดย Donna Tuchner ชาวอิสราเอลที่เห็นช่องทางการลงทุนตั้งแต่ครั้งที่ตัวเขาเองยังเป็นนักศึกษาอยู่ในเมืองนิวยอร์ก หลังจากที่ Donna Tuchner กลับไปยังอิสราเอลเขาได้เริ่มสร้างธุรกิจ Burgerim เปิดตัวครั้งแรกในเมืองเทลอาวีฟเมื่อปี 2011
โดยคำว่า Burgerim เป็นการรวมกันของคำว่า Burger + im ซึ่ง “im” เป็นภาษาฮิบรู หมายถึง “หลาย” Burgerim จึงเป็นเบอร์เกอร์ที่ Donna Tuchner ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าเขามีวัตถุดิบในการจัดทำที่หลากหลาย และได้มีการขยายธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ เริ่มขยายตัวไปสู่อเมริกาและเปิดสำนักงานแห่งแรกในอเมริกาที่รัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2016
ภาพจาก bit.ly/2RElc0N
ทิศทางการเติบโตของ Burgerim ดูเหมือนจะไปได้สวยเพราะสามารถขยายสาขาได้กว่า 200 แห่งภายในเวลาเพียงแค่ 3 ปี (2016 -2019) แต่แล้วก็มาเกิดปัญหาในช่วงปลายปี 2019 ที่เป็นข้อพิพาทหลายอย่างทั้งมาจากเรื่องการบริหารจัดการ
เรื่องระบบของแฟรนไชส์ นำไปสู่การฟ้องร้องและทำให้ Burgerim ต้องปิดสาขาไปเป็นจำนวนมากนับถึงตอนนี้ก็กว่า 100 สาขา ล่าสุดคือการประกาศปิดสาขาในเมือง Butler County, รัฐโอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา
ปัญหาเกิดจาก “ระบบแฟรนไชส์” ที่ไม่มีคุณภาพมากพอ
ภาพจาก bit.ly/2U7Lx8W
สิ่งที่นำ Burgerim ไปสู่ปัญหาก็คือ “ระบบแฟรนไชส์” ทั้งที่ความจริงนี่คือ “ระบบการขยายธุรกิจที่ดีที่สุด” แต่ Burgerim กลับทำเรื่องนี้ให้แตกต่าง โดย Burgerim ถูกกล่าวหาจากผู้ลงทุนจำนวนมากว่าดำเนินการทำสัญญาแฟรนไชส์แบบเน้นปริมาณแต่ไร้คุณภาพคือไม่ได้ดูแลผู้ลงทุนตามสิทธิที่ควรจะเป็น
โดยค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ของ Burgerim เริ่มต้นที่ 50,000 เหรียญสหรัฐ แต่ทางบริษัทกลับไม่ทำตามสัญญาเช่นการจัดส่งวัตถุดิบ การจัดหาทำเลตามที่ลูกค้าต้องการ (ในบางกรณี) ทั้งนี้ ผู้ลงทุน Burgerim หลายรายทั้งที่กำลังลงทุนและเคยลงทุนไปแล้ว ต่างพูดในทำนองเดียวกันว่า Burgerim มุ่งเน้นแต่การขาย “แฟรนไชส์” ให้ได้เงินเข้ามามากที่สุด
รวมถึงผู้ลงทุนหลายคนระบุว่า แฟรนไชส์ Burgerim ไม่ได้ทำกำไรได้ตามที่กล่าวอ้างจริง และการขยายแฟรนไชส์ของ Burgerim ก็เหมือนพีระเมิดที่พยายามขยายฐานออกไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่สนใจผู้ลงทุนเหล่านั้นว่าจะอยู่รอดได้หรือไม่
ภาพจาก bit.ly/2U964Kf
บริษัทมุ่งหวังเพียงแค่ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ที่เป็นรายได้ของบริษัทเท่านั้น และปัญหาเหล่านี้ก็นำมาสู่การฟ้องร้อง จนกลายมาเป็นการปิดสาขาจำนวนมากของ Burgerim ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือการถูก Disrupt จากเทคโนโลยี แต่นี่คือปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการอันไร้ประสิทธิภาพของตัวธุรกิจเอง
ซึ่งในความเป็นจริง “ระบบแฟรนไชส์” ได้เอื้อประโยชน์ทั้งแก่เจ้าของธุรกิจและผู้ลงทุน อย่างยุติธรรม แต่ทุกคนก็ต้องเคารพและอยู่ภายใต้บัญญัติข้อตกลงของเงื่อนไขระบบแฟรนไชส์ ซึ่งหากปฏิบัติตามกันได้ทั้งเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ลงทุนจะอยู่ร่วมกันได้แบบมีความสุข ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องและปิดสาขาเหมือนที่ Burgerim กำลังเป็นปัญหาอยู่
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/2GB09FY