Brand Voice เสียงสร้างแบรนด์ในธุรกิจแฟรนไชส์ ทุกแบรนด์ต้องมี!

ธุรกิจในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะสร้างแบรนด์ด้วยการ “สร้างตัวตน” ให้มีความโดดเด่นเป็นที่น่าจดจำของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น สี, โลโก้ , mascot, identity , marketing และอื่นๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการสร้างแบรนด์ในรูปแบบของ “เสียง” หรือ Brand Voice ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ถ้าถามว่า Brand Voice ในธุรกิจแฟรนไชส์ มีความน่าสนใจอย่างไร ทำไมทุกแบรนด์ควรต้องมี วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

เสียงสร้างแบรนด์

หากโลโก้คือตัวตนของแบรนด์ที่รู้จักในลักษณะรูปภาพ แต่ถ้าเป็น Brand voice คือ ตัวตนของแบรนด์ในรูปแบบเสียง (หรือการสื่อสาร) เป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารในแต่ละแบรนด์ เป็นการแสดงออกที่สื่อถึงข้อความที่จะสื่อสาร (Message) คุณค่า อารมณ์ และบุคลิกของแบรนด์ ผ่านการใช้คำและรูปแบบการนำเสนอ ถือว่าเป็นหลักการสร้าง Brand Awareness ในการทำการตลาด

แต่ละแบรนด์ก็จะมีวิธีการใช้ “เสียง” ในการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าที่เจ้าของแฟรนไชส์ขาย เช่น ถ้าแฟรนไชส์ของคุณเป็นศูนย์บริการรถยนต์ การสื่อสารผ่าน Social Media ก็ควรให้ความรู้สึก เป็นมิตร (Friendly), เชี่ยวชาญ (Expert) กับลูกค้ามากที่สุด เพราะถือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกค้า เป็นต้น

5

หรือถ้าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ขนส่งพัสดุไปรษณีย์เอกชน ก็ต้องสื่อสารออกไปในรูปแบบ จุดเดียว ครบทุกบริการ หรือรวดเร็ว ปลอดภัย ครบวงจร เพราะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการค้าออนไลน์ การจัดส่งพัสดุไปรษณีย์ ที่มีการเติบโตในปัจจุบัน หรือแฟรนไชส์อาหารอาจต้องสื่อสารด้วยเสียงในรูปแบบ สูตรต้นรับ อร่อย สะอาด เจ้าแรกในประเทศไทย

หรือเวลาเดินเข้าใช้บริการร้านสะดวกซื้อ 7-11 ก็จะมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์ ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี เปิดบริการ 24 ชั่วโมง สะท้อนถึงร้านค้าและห้องครัวของคนในบ้าน หรือคนทำงานในออฟฟิศกลับบ้านดึก มีแสงสว่างสร้างความน่าเชื่อให้กับผู้บริโภคและผู้คนที่เดินทางสัญจรผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี

วิธีเลือก Brand voice ให้เหมาะกับแบรนด์แฟรนไชส์

ในการสร้างสรรค์เสียงของแบรนด์ที่สอดคล้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแบรนด์ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะพยายามทำและตัวตนของแบรนด์ของตัวเองก่อน กลยุทธ์แบรนด์ขั้นพื้นฐาน คือ

6

1.หัวใจของแบรนด์

เป็นการระบุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และคุณค่าของแบรนด์ เพราะ Brand Voice เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์สื่อสิ่งเหล่านี้ออกไป

2.การกำหนดบุคลิกลักษณะ

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจคือใคร กลุ่มลูกค้ามีอายุเท่าไหร่ พวกเขาชอบเสียงของแบรนด์แบบไหนบ้าง หรือลูกค้ามองหาอะไรในตัวแบรนด์นั้นๆ การกำหนดบุคลิกลักษณะจะช่วยให้เจ้าของแฟรนไชส์สามารถระบุคนในกลุ่มนี้ได้

3

3.การวิเคราะห์เชิงแข่งขัน

Brand Voice ต้องไม่ลอกเลียนแบบคู่แข่งหรือแบรนด์อื่นๆ แต่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องทราบว่าคู่แข่งคือใครบ้าง และธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณมีอะไรแตกต่างจากแบรนด์แฟรนไชส์เหล่านั้น เช่น รสชาติอร่อย บริการรวดเร็ว เปิดบริการ 24 ชั่วโมง เจ้าแรกในประเทศไทย เป็นต้น จากนั้นพิจารณาว่าจะสื่อถึงความแตกต่างดังกล่าวนี้ผ่านทางเสียงของแบรนด์ได้อย่างไร

4.เลือกอารมณ์ที่ต้องการสื่อ

เสียงทำให้คนเราคิดและรู้สึกในแบบต่างๆ การสร้างแบรนด์เสียงจึงมีประสิทธิภาพสูงในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก คุณอยากให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกอย่างไรเมื่อพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของคุณ เช่น รู้สึกถึงความโรแมนติก ความเย้ายวน หรือความสนุกสนานสดใส คิดถึงอารมณ์ที่ต้องการสื่อและสร้างแบรนด์เสียงให้สอดคล้องกัน

2

5.ตอบแบบสอบถามเสียงแบรนด์

การสอบถามทีมงานและลูกค้าข้างนอกเป็นวิธีสะท้อนให้รู้ว่า Brand Voice ของเราเป็นอย่างไร ลูกค้าจดจำได้มากน้อยแค่ไหน โดยให้สมาชิกทุกคนกรอกแบบสอบถามนั้น คำถามเหล่านี้จะช่วยปูทางให้กับบทสนทนาระหว่างทีมของคุณและทำให้เสียงของแบรนด์คุณมีความเป็นธรรมชาติและมีความจริงใจ และอย่าลืมใส่ใจเรื่องโทนเสียงที่ใช้ตอบคำถามเหล่านี้ด้วย สมมิตว่าใครที่แคยเดินในห้างจะรับรู้ทันทีว่าโทนเสียงของประชาสัมพันธ์ในห้าง เรียบๆ นุ่มๆ ไพเราะ เป็นกันเอง อบอุ่น

6.สร้างกลุ่มทดลอง

ในการมองหาเสียงของแบรนด์นั้น ทีมงานของบริษัทหรือครอบครัวเป็นกลุ่มคนที่สามารถทำการติชม และแนะนำสิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์อาจมองข้ามไปได้ดี เช่น ทำอาหารให้คนอื่นหรือคนรอบข้างทาน ก่อนขายแฟรนไชส์ ว่ารสชาติอาหารผ่านหรือไม่ผ่าน อร่อยแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร และถามพวกเขาว่าสิ่งใดทำให้พวกเขารู้สึกตื่นเต้นที่สุดเกี่ยวกับแบรนด์

นั่นคือ ขั้นตอนและเหตุผลของ Brand Voice เสียงสร้างแบรนด์ ในธุรกิจแฟรนไชส์ ทุกแบรนด์ต้องมี!

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3dgwDZK , https://bit.ly/3A4UYKW , https://bit.ly/3BOKxMV

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QumyqV

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช