Brand Identity Prism 6 ปัจจัยสร้างสินค้าให้คนอยากซื้อ

ทำไมสินค้าตัวนี้ขายดี! อันนี้ก็เป็นสินค้าที่คล้ายกันเหมือนกันแต่ขายไม่ได้! จุดแตกต่างของสินค้าทั้ง 2 อย่างนี้คือ “ความต้องการอยากซื้อ” ที่ไม่เท่ากันของลูกค้า ซึ่งสามารถสร้างได้โดยการใช้ Framework อย่าง Brand Identity Prism หรือจะเรียกอีกอย่างว่าคืออัตลักษณ์ของแบรนด์ก็ได้

Backward Thinking

Brand Identity Prism คือการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่มีความละเอียดให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นที่จดจำได้ง่าย สะท้อนคุณค่าหลักของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน สื่อสารตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้ องค์ประกอบสำคัญ มี 6 ปัจจัยคือ

  1. Physiqe (ลักษณะแบรนด์ที่เห็น) คือสิ่งที่ลูกค้าจะอนึกถึงเมื่อพูดถึงแบรนด์ ทั้งโลโก้ โทนสี ไปจนถึงรูปลักษณ์ต่างๆ
  2. Brand Personality (บุคลิกภาพของแบรนด์) การที่ระบุว่าแบรนด์มีบุคลิกภาพเป็นอย่างไร มีผลต่อการใกล้ชิดของลูกค้าได้
  3. Brand Culture (วัฒนธรรมของแบรนด์) คือ การระบุถึงที่มาของแบรนด์ หรือการนำเอาความเป็นท้องถิ่นที่ถือกำเนิดมาใช้เป็น Brand Culture เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกผูกผัน
  4. Relationship (ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์) เช่น การบริการ หลังการขาย เป็นต้น โดยสิ่งนี้ก็จะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ลูกค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ และกลายมาเป็น Customer Loyalty
  5. Customer Reflection (ฐานลูกค้า) เป็นภาพสะท้อนถึงตัวแบรนด์ที่เชื่อมโยงสินค้าเข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการที่จะสามารถรู้ได้ว่าลูกค้ามองแบรนด์อย่างไร ต้องมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
  6. Customer Self Image (สิ่งที่ลูกค้ารับรู้จากการใช้แบรนด์) คือ ภาพลักษณ์ที่อยู่ในใจของลูกค้า มีจุดเริ่มมาจากการได้ใช้สินค้าหรือบริการในครั้งแรก

ซึ่งวิธีการสร้าง Brand Identity จะเริ่มต้นด้วย การวิเคราะห์ SWOT ภาพรวมของทั้งแบรนด์ ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น จากนั้นจึงกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ เช่นหากสินค้ามีความหรูหรา การโฆษณาก็ควรที่จะออกแบบมาให้ตรงกับภาพลักษณ์ที่หรูหรา เป็นต้น เมื่อกำหนดเป้าหมายได้แล้วก็เป็นการระบุกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดข้อความที่ต้องการสื่อสาร

มีตัวอย่างของหลายแบรนด์ที่นำเอา Brand Identity Prism มาให้อย่างได้ผลเช่น

ไก่ทอด Texas Chicken

McDonald’s – มีการใช้โลโก้ที่จดจำได้ง่าย และการสร้างภาพจำที่ชัดเจน สีแดงและสีเหลือง รวมไปถึงโลโก้ตัว M ที่เป็นเอกลักษณ์ และภาพจำของแบรนด์ที่ขายแฮมเบอร์เกอร์ ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่ายทั้งหน้าร้าน เดลิเวอรี่

BMW – มีการสร้าง Brand Identity ที่เป็นเอกลักษณ์ตั้งแต่โลโก้รูปใบพัด การใช้โทนสีขาวน้ำเงิน และที่สำคัญคือการออกแบบสินค้าให้มีเอกลักษณ์คือ รถทุกรุ่นของ BMW จะมีกระจังหน้ารูปเหมือนไตคู่ ทำให้ทุกคนสามารถจดจำได้อย่างดี

Apple – ชูจุดเด่นด้วยโลโก้รูปแอปเปิ้ลที่แหว่ง เน้นความเป็นแบรนด์ที่ดูทันสมัยตลอดเวลา มีความเป็นมิตรและสร้างความผูกพันทางอารมณ์ร่วมกับลูกค้าได้อย่างดี

Starbucks – สร้างอัตลักษณ์ที่ชัดเจนเน้นรูปแบบที่รู้จักกันทั่วไป รวมถึงการสร้างวัฒนธรรม (Culture) ของ Starbucks มีพื้นฐานมาจากการให้คำมั่นสัญญา รวมถึงความเคารพในตัวคนและสิ่งแวดล้อม Starbucks สะท้อน (Reflection) ให้เห็นถึงการเชื่อมชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนเข้าไว้ด้วยกันได้ด้วย

Brand Identity Prism

Brand Identity Prism เป็นกลยุทธ์น่าสนใจ สามารถใช้เป็นกรอบปฏิบัติสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างจุดเด่นให้ลูกค้าจดจำและอยากซื้อสินค้า แน่นอนว่า Brand Identity Prism สามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเครื่องมือทางการตลาดอื่นๆ ได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด