Brand Book คืออะไร สำคัญอย่างไรใน #ระบบแฟรนไชส์
เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้เห็นคำว่า Brand Book และคงสงสัยกันแน่ว่า Brand Book คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในการทำธุรกิจ รวมไปถึงธุรกิจที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
Brand Book เปรียบเสมือนคัมภีร์ในการสื่อสารความเป็นแบรนด์ให้กับธุรกิจ เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมธุรกิจจำนวนมากจึงเป็นที่จดจำของลูกค้า การสร้างแบรนด์ หรือ แบรนด์ดิ้ง (Branding) คือ ความประทับใจแรกและความเชื่อมโยงและกลุ่มเป้าหมายของคุณ นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณบ่งชี้ผลิตภัณฑ์และจำแนกความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เเละบริการอื่นๆได้
ภาพจาก freepik.com/
Brand Book เป็นแนวทางสำหรับการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ มุ่งเน้นภาพรวม ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณออกแบบโลโก้ของคุณ คุณควรพิจารณารายละเอียดรูปแบบต่างๆ ของโลโก้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไรบนแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเช่น ตำแหน่ง ขนาด และพื้นที่สีขาว การเลือกสีที่ใช้สำหรับการสร้างแบรนด์ของคุณต้องสอดคล้องกับแบรนด์และเรื่องราวของแบรนด์
การทำ Brand Book คุณสามารถชี้แจงแนวทางในการแก้ไขและสีที่จะใช้สำหรับรูปภาพได้ การออกแบบโทนสีควรสอดคล้องกับค่านิยมของแบรนด์ อย่างแรกคุณสามารถระบุคำที่เหมาะสมและคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ (brand identity) ของคุณ และ Brand Book ยังสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการสร้างเว็บไซต์ของบริษัท บรรจุภัณฑ์
ภาพจาก freepik.com/
ยกตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร Brand Book ก็คือการสร้างร้านอาหารบนกระดาษ เพื่อวางคอนเซ็ปต์ร้านอาหารให้เห็นภาพอย่างชัดเจน บรรยากาศ การตกแต่ง ตำแหน่งสิ่งของต่างๆ ในร้าน เช่น ห้องครัวอยู่ไหน ประตูทางเข้า โต๊ะเก้าอี้ เคาน์เตอร์รับออร์เดอร์ ฯลฯ สร้างบุคลิกของร้านที่คิดไว้เป็นอย่างไร ชื่อร้าน โทนสีของร้าน ซึ่งก็คือ แบรนด์
สำหรับเนื้อหาที่ประกอบใน Brand Book ที่เหมาะสมนั้น ควรมีการสร้างแบรนด์คอนเซ็ปต์ (Brand Concept) เป็นจุดเฉพาะที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของร้าน, แบรนด์โมเดล (Brand Model) เพื่อช่วยในการดึงบุคลิกหรือลักษณะเฉพาะของร้านให้เด่นชัด และ แบรนด์วิชั่น (Brand Vision) บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์
หลังจากจัดทำ Brand Book เสร็จแล้ว ผู้ประกอบการควรจัดทำคู่มือแฟรนไชส์และแนวทางในการทำงานร้านอาหาร เพื่อทำให้รู้ว่ารายการอาหารที่อยากขายเป็นอาหารแนวไหน บรรยากาศร้านที่ชอบเป็นอย่างไร โดยให้เลือกโทนสีที่เข้ากับรูปแบบร้านที่สุด เลือกลักษณะภาชนะ ถ้วย จาน ชามที่ชอบ และ ออกแบบชุดยูนิฟอร์มของพนักงานให้เด่นชัด
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการต้องศึกษาเรื่องของต้นทุน ศึกษาความเป็นได้ของร้านอาหาร จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค โอกาส การวิเคราะห์คู่แข่งขันในตลาด ใครเป็นคู่แข่งเรา เขาทำอะไรอยู่ ใครเป็นกลุ่มลูกค้า เราสามารถทำให้ดีและแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร หรือถ้าเป็นไปได้ควรไปทำงานในร้านอาหารจริงๆ จะได้เห็นภาพการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารจริงๆ
นั่นคือ ความสำคัญของ Brand Book ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นการวางรูปแบบและคอนเซ็ปต์ร้าน เอกลักษณ์ของร้านซึ่งจะดึงดูดให้มีนักลงทุนอยากซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น เนื่องจากธุรกิจมีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3w4oqx1
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)