Bingxue (บิงเสวี่ย) ท้าชน Mixue (มี่เสวี่ย) ในไทย ใหญ่กว่าที่คิด!

ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและชาผลไม้ในไทย อาจจะมีเซอร์ไพรส์ได้อีกตามกระแสการหลั่งไหลของทุนจีน นับตั้งแต่ MIXUE เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อช่วงกลางปี 2565 สร้างกระแสให้กับวงการไอศกรีมและเครื่องดื่มได้มากเลยทีเดียว

ต่อมาไม่ถึงปี Ai-CHA แบรนด์จากอินโดนีเซียตามเข้ามาตีตลาดแบบติดๆ ไม่เพียงแค่นี้ยังมีอีกแบรนด์ WEDRINK แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีนเข้ามาสมทบอีก ขายแฟรนไชส์ราคาถูก สินค้าราคาเริ่มต้น 15 บาท

ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์มีข้อมูลและเชื่อว่าอีกไม่นาน จะมีแบรนด์แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยอีกหลายแบรนด์ วันนี้ขอยกตัวอย่าง… Bingxue (บิงเสวี่ย) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ที่มีสาขาในจีนมากกว่า 3,000 สาขา และในต่างประเทศมากกว่า 100 สาขา เป็นแบรนด์ที่มีโมเดลร้านเดียวกันเลย

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Bingxue มีเรื่องราวเป็นมาและน่าสนใจอย่างไร?

บิงเสวี่ย

ภาพจาก https://bingxueglobal.com

บิงเสวี่ย (Bingxue) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ในประเทศจีน ก่อตั้งในปี 2557 ภายใต้บริษัทในเครือ Jinan Baodao Enterprise Management Consulting Co., Ltd. เป็นแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้ที่เน้นไปที่เมนูซิกเนเจอร์อย่าง “ไอศกรีมและเครื่องดื่มมะพร้าว” มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในมณฑลซานตง ประเทศจีน

Bingxue ได้รับความนิยมและมีการขยายสาขาอย่างรวดเร็วจนครอบคลุมใน 31 มณฑลและเมืองต่างๆ ในจีน อาทิ ซานตง เหอเป่ย เหอหนาน ชานซี ส่านซี มองโกเลียใน เหลียวหนิง หูเป่ย ไหหลำ และซินเจียง

Bingxue ได้เริ่มขยายสาขาไปต่างประเทศเมื่อต้นปี 2566 สาขาแรกเปิดในอินโดนีเซีย ก่อนขยายไปเวียดนาม มาเลเซีย รัสเซีย สิงคโปร์ ปัจจุบัน Bingxue มีสาขามากกว่า 3,000 แห่งในจีน และมากกว่า 100 แห่งในต่างประเทศ

บิงเสวี่ย

ภาพจาก www.facebook.com/bingxuemalaysia

กลยุทธ์การขยายตลาดในต่างประเทศของ Bingxue จะมีทีมงานทำการวิจัยและวิเคราะห์ตลาดก่อนทุกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจและความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่น อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมและยกระดับทักษะของพนักงานและผู้จัดการร้านในระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพและความสามารถในการบริการจัดการร้าน

Bingxue มีจุดเด่นในเรื่องรสชาติและคุณภาพของไอศกรีมและเครื่องดื่ม รสชาติเข้มข้น มีกลิ่นหอมของชา กลิ่นหอมผลไม้สด นุ่มอ่อนละมุน มีเมนูหลากหลาย อาทิ ชานมไข่มุก กาแฟ ชาผลไม้ นมมะพร้าว ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟมัทฉะ-วานิลลา ฯลฯ โมเดลร้านแบบเดียวกับ MIXUE, Ai-Cha และ WEDRINK รูปแบบการออกแบบและตกแต่งร้านโทนสีส้ม ใช้มาสคอสเป็น “หมีขาว” ราคาสินค้า (อ้างอิงจากมาเลเซีย) เริ่มต้น 1.99 – 9.99 ริงกิต หรือ 15.43 – 77.44 บาท (19 ก.ค. 2567)

ภาพจาก www.facebook.com/bingxuemalaysia

รูปแบบการเข้าร่วมแฟรนไชส์ของ Bingxue (บิงเสวี่ย) มี 2 แบบ คือ

  1. Single-store Franchise ให้สิทธิ์แฟรนไชส์แบบรายบุคคลเปิดได้ 1 แห่ง
  2. Agent Model นักลงทุนต้องการเป็นตัวแทน ต้องเป็นแฟรนไชส์ซีก่อน จากนั้นสมัครเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค

ภาพจาก www.facebook.com/bingxuemalaysia

จุดเด่นการเข้าร่วมแฟรนไชส์

  • กำไรจากการขายในร้าน 60%
  • คืนทุนเร็ว
  • ออกแบบ+เขียนแบบร้านฟรี
  • ฝึกอบรม
  • ทำการตลาดเพิ่มยอดขาย
  • ปรับปรุงร้าน หรือรีโนเวททุกๆ 4 ปี

เป้าหมายการขยายตลาดแฟรนไชส์ของ Bingxue ในต่างประเทศ อาทิ รัสเซีย จีน เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต (ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ภาพจาก www.facebook.com/bingxuemalaysia

นักลงทุนชาวไทยคงต้องอดใจรออีกอึดใจเดียว เพราะดูจากทิศทางการขยายตลาดต่างประเทศของ Bingxue จะแนวเดียวกันกับ Mixue เลยทีเดียว คือ เข้าไปในประเทศเพื่อนในอาเซียนก่อน ทั้งอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เชื่อว่าอีกไม่นานเราจะได้เห็นแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้ Bingxue เปิดสาขาแรกในไทยอย่างแน่นอน

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช