Big C บุกตลาดอาเซียน! เปิดซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรก ในกัมพูชา

โดยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2562 หนึ่งในห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง Big C ได้เปิดสาขาแรกในประเทศกัมพูชา ที่เมืองปอยเปต โดยได้เปิดให้บริการ Soft Opening เป็นวันแรก โดยได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่มาเข้ามาเดินเลือกซื้อสินค้ากันเป็นจำนวนมาก

จากการรายงาน กัมพูชาได้มีการลงทุนกว่า 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐและถูกเสนองานมากกว่า 1,200 รายการ ซึ่ง Big C ก็ได้เริ่มดำเนินธุรกิจอย่าง ไทย เวียดนาม และลาว และขณะนี้ก็รวมกัมพูชาเข้าไปด้วยก็เป็นประเทศที่ 4 แล้ว

ซึ่งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เป็นประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจโตต่อเนื่องและยังมีแร่ธาตุทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และยังมีค่าจ้างแรงงานไม่สูงนัก) ที่ค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง บวกกับปัจจัยในเรื่องของจำนวนประชากรที่มีกำลังการซื้อที่เพิ่มมากขึ้น

บุกตลาดอาเซียน

ภาพจาก bit.ly/2BoSrvL

โดยก่อนหน้านั้น นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BJC ได้วางแผนในการรุกตลาดในภูมิภาคนี้ โดยการนำธุรกิจค้าปลีกอย่าง Big C เข้าไปยังช่องทางในการนำสินค้ากระจายตัวไปสู่ผู้บริโภค โดยจะเริ่มจากการเปิด Big C สาขาแรกในประเทศกัมพูชา

ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองปอยเปต จังหวัด บันทายมีชัย หรือ บันเตียเมียนเจย ซึ่งอยู่ใกล้กับ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งจะมีเนื้อที่กว่า 1.9 เฮกตาร์ (หน่วยของพื้นที่) โดยจะเป็นการลงทุนในรูปแบบของไฮเปอร์มาร์เก็ตเช่นเดียวกันกับสาขาในประเทศไทย โดยขนาดของตัวอาคารจะมีพื้นที่ประมาณ 8,000 ตารางเมตร มีมูลค่าการก่อสร้างโครงการโดยรวมประมาณ 300 ล้านบาทต่อสาขา เพื่อสร้างรายได้ในต่างประเทศเพิ่มเติม

บุกตลาดอาเซียน

ภาพจาก bit.ly/32nXCIq

ซึ่งจากการขยายสาขาของ Big C ที่เข้ามาอยู่ในประเทศกัมพูชานี้ อยู่ภายใต้แผนการขยายสาขา Big C ออกไปยังต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่จะรุกสาขาร้านค้าปลีกในรูปแบบของซูเปอร์เซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ออกไปยังภูมิภาคอาเซียน โดยจะเน้นไปยังตลาดเป้าหมายหลัก 3 ประเทศก่อน คือ กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย

สำหรับกัมพูชานั้น ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ยังพอมีช่องว่างที่จะเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดูจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาแล้ว จะมีตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7 ต่อปี อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กัมพูชาเป็นตลาดที่นักลงทุนในธุรกิจค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศต่างก็ให้ความสนใจกับการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้

บุกตลาดอาเซียน

ภาพจาก bit.ly/2poysLg

ซึ่งสำหรับปี 2562 แล้ว Big C ได้ประมาณรายได้ในการเจริญเติบโตได้ประมาณ 7-9% จากปีก่อน รวมทั้งหมด 1.72 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากธุรกิจทั้งในกลุ่มธุรกิจอุปโภคและบริโภคได้มีการเจริญเติบโตขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของยอดขาย Big C ยังคงเพิ่มมากขึ้นอีกต่อเนื่อง โดยเป็นผลมาจากการขยายสาขาและยอดขายเดิม (SSSG)

โดยงบประมาณในการลงทุนสำหรับปี 2562 นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยวางแผนที่จะเปิดสาขาในรูปแบบของไฮเปอร์มาร์เก็ตต่อเนื่องอีก 8 สาขา โดยจะแบ่งเป็นสาขาในประเทศไทย 7 สาขา และ สาขาในกัมพูชาที่ปอยเปตอีก 1 สาขา รวมถึงจะขยายร้าน Big C Food Place อีก 1 สาขา และ Mini Big C อีกกว่า 200 สาขา

บุกตลาดอาเซียน

ภาพจาก bit.ly/2BgE64E

โดยทั้งนี้ Big C จะเปิดสาขาแรกที่ปอยเปตในกัมพูชาอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมปีนี้ และมีแผนที่จะขยายอีก 1 สาขา ที่พนมเปญในอนาคต ทั้งนี้จากข้อมูลของคณะกรรมการ เพื่อการพัฒนากัมพูชา (Council for the Development of Cambodia : CDC) ได้ระบุเอาไว้ว่า

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ก็ได้เข้ามาดำเนินการภายใต้ชื่อบริษัท BIG C SUPERCENTER (CAMBODIA) จำกัด โดยได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในโครงการก่อสร้างและดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้า Big C อย่างสาขาปอยเปต เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งจากการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้ คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 1,200 ตำแหน่ง

โอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย

1. โดยจากการเปิดห้าง Big C สาขาปอยเปต ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการขนส่งสินค้าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการค้าชายแดนไทย โดย Big C ที่สาขาปอยเปตนี้ จะอยู่ใกล้เคียงกันกับจังหวัดสระแก้ว ทำให้สามารถส่งสินค้ามาจัดจำหน่ายได้โดยมีต้นทุนในการขนส่งที่ต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่า บริเวณด้านหน้าของห้างได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับสินค้า OTOP ของไทยอีกด้วย

2. ในการจะเข้ามาขยายตลาดสินค้าไทยในประเทศกัมพูชานั้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นจะต้องคำนึงถึงรูปแบบในการวางแผนและการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการค้าให้เหมาะสมกับตลาดที่จะเข้าไปลงทุน โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือ การสร้างจุดเด่นและความแตกต่างในสินค้าของตน เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศให้ได้ จึงจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งเดิมและอยู่รอดในตลาดนี้ได้

บุกตลาดอาเซียน

ภาพจาก bit.ly/2MSvBlA

โดยเมืองปอยเปตมีประชากรกว่า 200,000 คน ระหว่างชายแดนไทยกัมพูชาและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้จังหวัดกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งจากไทย จีน และจากประเทศอื่นๆเป็นอย่างมาก

โดยเมืองนี้มีโครงการที่จะสร้าง คาสิโนในโรงแรม ศูนย์การค้า และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งได้รับการร่วมมือจากทางภาครัฐและภาคเอกชนกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งแรกในปอยเปตอีกด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ที่มา :


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต