Barnes and Noble เชนร้านหนังสือยักษ์ใหญ่อเมริกา ขายบริษัทแล้ว!
ทุกวันนี้ผู้คนเริ่มอ่านหนังสือกันน้อยลง เนื่องจากมีแพลตฟอร์มที่ทำให้เราสามารถเสพข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายดาย อาทิ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์
ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนำเสนอแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ แถมยังถึงมือเราได้อย่างรวดเร็ว นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนไม่ค่อยออกไปใช้บริการร้านหนังสือกันเท่าไหร่นัก
และผลกระทบที่ตามมาคือกิจการร้านหนังสือที่ต้องปรับเปลี่ยน แม้ว่าจะมีการปรับตัวให้เป็น E-Book แต่ผู้คนก็ยังไม่ได้ใช้บริการมากอยู่ดี แน่นอนว่าเหล่าร้านหนังสือและสำนักพิมพ์ก็อ่อนแอเกินกว่าจะรับมือไหว
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูอีกหนึ่งเชนร้านหนังสือยักษ์ใหญ่ในอเมริกาที่ถูกควบรวมกิจการของสำนักพิมพ์ใหญ่ มีการเข้าซื้อกิจการเพื่อให้ร้านหนังสือ Barnes and Noble นี้ยังคงอยู่ต่อไปได้
ภาพจาก bit.ly/2yY0H4V
Barnes and Noble ประสบปัญหามาเป็นเวลานาน โดยบริษัทมีซีอีโอ 5 คนที่มีความแตกต่างกันในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา และกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆก็ล้มเหลวทั้งหมด ผู้จำหน่ายหนังสือจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อสำรวจการขายบริษัทและได้ชำระหนี้สินจนครบหมด
วันนี้ Barnes and Noble ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าพวกเขาได้ถูกซื้อโดย Elliott ซึ่งมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์เดียวกันกับเจ้าของร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร และ Waterstones ร้านหนังสือชื่อดังในอังกฤษ
ภาพจาก bit.ly/2TyeBUU
Barnes & Noble ให้บริการในชุมชน 627 แห่ง ใน 50 รัฐซึ่งยังคงเป็นร้านขายหนังสือ อันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา โดยทาง Elliott พยายามที่จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง
เพราะจะได้จัดการกับความท้าทายที่สำคัญจากการที่เผชิญกับ the bricks and mortar book ร้านค้าปลีกหนังสือในสหรัฐอเมริกา โดยใช้รูปแบบเดียวกับที่ประสบความสำเร็จในการพลิกผัน Waterstones มาแล้วในทศวรรษที่ผ่านมา
Elliott จะเป็นเจ้าของทั้ง Barnes & Noble และ Waterstones และในขณะที่ผู้จำหน่ายหนังสือแต่ละรายจะดำเนินการอย่างอิสระ James Daunt จะทำหน้าที่เป็นซีอีโอของทั้งสองบริษัทและย้ายจากลอนดอนไปนิวยอร์ก
James Daunt
ภาพจาก bit.ly/2H0u0rJ
James Daunt ซีอีโอของ Barnes & Noble กล่าวว่า “นี่เป็นวันที่ดีมากสำหรับการขาย โดย Barnes & Noble เป็นชื่อร้านหนังสือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนของเจ้าของร้านหนังสือ ด้วยการลงทุนและมุ่งเน้นไปที่หลักการสำคัญของการขายหนังสือที่ดี
จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้บริษัทนี้สดใส ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมงานกับผู้จำหน่ายหนังสือBarnes & Noble ซึ่งตอนนี้ Len Riggio เป็นหนี้บุญคุณ จากความฉลาดของเขาและขอบคุณสำหรับการต้อนรับ และความเป็นมืออาชีพของทีมผู้บริหารในระหว่างกระบวนการซื้อกิจการ”
ภาพจาก bit.ly/2H3pjxr
นายพอล เบสท์ ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอและหัวหน้ากลุ่มธุรกิจส่วนตัวในยุโรปของ Elliott กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงทุนของเราใน Barnes & Noble หลังจากการซื้อกิจการ Waterstones ในปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเรา
โดย Barnes & Noble เป็นบริษัทที่ไม่ธรรมดาที่เราต้องการปกป้องและอยากให้เติบโต เราหวังว่าจะได้ร่วมงานกับ James Daunt และทีมผู้บริหาร Barnes & Noble ซึ่งเป็นความน่าตื่นเต้น”
Barnes and Noble จะไม่เป็นบริษัทมหาชนอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นบริษัทย่อยของ Elliott และทางหุ้นสามัญของ Barnes & Noble จะหยุดทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ภาพจกา bit.ly/31G244B
จะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้กิจการรอดหรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่เรื่องคนทำหนังสือหรือเรื่องของเงินเพียงอย่างเดียว การที่กิจการจะไปในทิศทางใด อาจต้องดูทิศทางลมหรือกระแสวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ
หากสามารถปรับตัว งัดกลยุทธ์ วางโครงสร้างปรับแผนนโยบายใหม่ ๆ หรือแม้แต่ต้องมีการควบกิจการ ซึ่งการปรับตัวเหล่านี้จะทำให้เหล่าผู้ประกอบการมีช่องทางที่สามารถเอาตัวรอดในกระแสที่เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ้างอิงข้อมูล
bit.ly/2MdEit5