Backward Thinking วิธีคิดสร้างแบรนด์ให้เป็น “เบอร์1”
วิธีคิดแบบหนึ่งที่จะทำให้แบรนด์เป็นเบอร์ 1 อาจไม่ใช่คิดว่าจะทำธุรกิจให้ดีที่สุดอย่างไร ตรงกันข้ามคือการคิดแบบ Backward Thinking หรือการคิดย้อนศร โดยคิดไปว่ามีวิธีอะไรที่จะทำลายแบรนด์ของเราได้ หลักการนี้ฟังดูเหมือนจะรุนแรงแต่มันใช้ได้ผลดี
Backward Thinking คือการลองพลิกมุมมองความคิดไปอีกด้านหนึ่ง จากซ้ายไปขวา จากผู้ผลิตไปเป็นผู้บริโภค ทำให้เรามองในเห็นในมุมที่อาจไม่เคยเห็น และนั่นก็เป็นผลดีต่อแบรนด์มาก
มีหลายวิธีการที่นำวิธีนี้ไปใช้อย่างได้ผลเช่น
- ให้ลูกค้าเป็นคนพูดถึงแบรนด์ โดยเจ้าของธุรกิจไม่ต้องเป็นคนพูดเองว่าธุรกิจเราดียังไง แต่ให้ไปถามลูกค้าว่าคิดยังไงกับสินค้าของเรา รู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ของเรา มีอะไรที่เขาอยากให้เราปรับปรุง เป็นต้น
- สินค้าแบบไหนที่คนไม่อยากใช้ ก่อนออกผลิตภัณฑ์ใดๆเรามักคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ถ้าลองคิดในมุมกลับหาว่าสินค้าแบบไหนที่คนไม่อยากใช้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการขายไม่ได้และทำให้เรามองเห็นช่องทางการทำสินค้าใหม่ที่คนต้องการได้จริงๆ
- ไม่ต้องคิดกำไรแต่คิดประหยัดต้นทุน คือวิธีคิดย้อนกลับอีกแบบที่สวนทางกลับแนวคิดทำธุรกิจส่วนใหญ่ที่เน้นทำกำไร ในมุมของการประหยัดต้นทุนก็ไม่ได้หมายถึงการลดคุณภาพแต่มายถึงทำอย่างไรที่คุณภาพสินค้ายังคงดีเหมือนเดิมได้เช่นปรับปรุงกระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เพื่อลดต้นทุน เป็นต้น
- ถามตัวเองว่าอยากได้สินค้าแบบไหน ทุกแบรนด์ถ้าอยากขายดีก็เน้นอัดการตลาด จัดโปรโมชัน ทำแคมเปญสารพัด บางทีก็ทุนหายกำไรหด หวังเพียงให้มีลูกค้า ในอีกมุมหนึ่งลองถามตัวเองย้อนกลับว่าถ้าเราเป็นลูกค้าจะอยากได้สินค้าแบบไหน สินค้าแบบไหนที่เราอยากจะเสียเงินซื้อ และจะซื้อแบบไหน ช่องทางไหน ที่จะสะดวกที่สุด บางครั้งรายละเอียดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยไขความลับ เป็นจุดเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริงได้
- ไม่ต้องทำให้คนชอบแต่อย่าทำให้คนเกลียด บางทีแบรนด์ก็คิดแค่ในมุมว่าจะทำยังไงให้คนชอบ จึงงัดออกมาทุกวิธีในการสร้างภาพลักษณ์จนถึงจุดหนึ่งที่ก็ไม่รู้ว่าจะทำวิธีไหนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น ลองคิดในมุมย้อนกลับ ว่าอะไรที่ทำแล้วคนจะไม่ชอบแน่ๆ เขียนออกมาทีละข้อ แล้วตั้งเป็นกฎว่าจะไม่ทำแบบนั้นแน่ๆ เป็นต้น
ถ้าเรายังไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ก็คงไปดูกันที่ตัวอย่างของหลายแบรนด์ที่เขาก็ใช้วิธีแบบ Backward Thinking เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Coca-Cola แทนที่จะคิดไปว่าจะสร้างยอดขายได้อย่างไร จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรให้คนสนใจ
ในมุมกลับอาจคิดว่ามีเครื่องดื่มแบบไหนที่คนไม่อยากจะดื่ม หรือการทำตลาดแบบไหนที่คนอาจจะไม่ได้รักมากขึ้นแต่เขาก็จะไม่เกลียด เป็นต้น เมื่อเราคิดถึงปัญหาที่แย่ที่สุดได้ ก็จะมีวิธีการแก้ปัญหาตามมา และนั่นก็คือวิธีการที่เราจะไม่ผลิตสินค้าหรือทำการตลาดที่สุ่มเสี่ยงไปในทางนั้น
หรือแบรนด์อย่าง Starbucks อาจคิดในมุมกลับว่าจะมีโปรโมชันไหนที่ทำให้ร้านวุ่นวาย คนต่อคิวแน่น จนคนไม่อยากเข้าร้าน หรือบาริสต้าแบบไหนที่ทำเครื่องดื่มให้ลูกค้าพากันหนี หรือบริการอะไรที่มีแล้วลูกค้าจะไม่เข้าร้านแน่ๆ ซึ่งการคิดในมุมย้อนกลับนี้ทำให้เราเห็นภาพในสิ่งที่ไม่ควรทำ ก็เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา และเป็นการสร้างแบรนด์ที่เหมือนรู้เขารู้เราทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้
ทั้งนี้วิธีการคิดแบบ Backward Thinking ก็ประยุกต์ใช้ได้กับในธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะคนที่อยากขายแฟรนไชส์แทนที่จะคิดว่าทำแฟรนไชส์แบบไหนคนถึงจะซื้อ ลองคิดในอีกมุมว่าแฟรนไชส์ไหนที่คนไม่ชอบ เพื่อให้เราหลีกเลี่ยงแบบนั้น
แต่อย่างไรก็ดีวิธีคิดกลับหัวแบบนี้ยังเอาไปใช้ในเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วย เช่นถ้าเราเป็นผู้จัดการหรือหัวหน้างาน ลองตั้งคำถามว่า ผู้จัดการที่แย่ ๆ เขาทำอะไรในแต่ละวัน? พอได้คำตอบแล้วก็อย่าทำแบบนั้น หรือเวลาลงทุน อย่าเพิ่งถามว่าจะทำกำไรอย่างไร ลองคิดกลับหัวถามตัวเองว่า จะขาดทุนได้อย่างไร เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy