9 วิธีแก้ปัญหา ยอดขายร้านอาหารไม่คงที่
ร้านอาหารของคุณเคยเป็นแบบนี้มั๊ย? 4 วันขายดี 3 วันไม่ดี เจ้าของร้านอาหารจะรับมืออย่างไรเมื่อ ยอดขายร้านอาหารไม่คงที่ อย่าพลาดบทความนี้มีวิธีแก้ปัญหาให้เจ้าของร้านอาหารนำไปปรับใช้กัน
ภาพจาก freepik.com
1. ฝนตก
เป็นปัญหาที่ร้านอาหารต่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ วันไหนฝนตกแทบขายไม่ได้เลย โดยเฉพาะร้านอาหารที่เปิดช่วงเย็น ลูกค้าเลิกงานรีบกลับบ้าน ทำให้เหลืออาหารเพียบ ทางแก้คุณอาจต้องดูพยากรณ์อากาศล่วงหน้า เพื่อสั่งซื้อวัตถุดิบให้พอดี หรือเพิ่มบริการเดลิเวอรี่ขยายฐานลูกค้าที่ไม่อยากออกนอกบ้าน
2. พฤติกรมลูกค้า
บางวันลูกค้ามากินที่ร้านของคุณ เพราะอยากกินก๋วยเตี๋ยว พออีกวันไปกินร้านข้าวมันไก่ รวมถึงกรณีลูกค้าที่กินร้านคุณทุกวันอาจรู้สึกเบื่อ อยากเปลี่ยนร้านใหม่ๆ บ้าง ทำให้ยอดขายไม่คงที่แน่นอน ทางแก้คุณอาจเพิ่มเมนูให้มากขึ้น ถ้าเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวก็อาจขายเมนูข้าวร่วมด้วย
ภาพจาก freepik.com
3. หยุดโปรโมทร้าน
การทำตลาดร้านอาหารควรทำต่อเนื่อง ถ้าไม่อยากเปลืองค่าใช้จ่าย ให้เลือกใช้วิธีโปรโมทร้านทางออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดียของทางร้าน ควรโพสต์โปรโมทร้าน เมนูอาหาร จำนวนลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
4. ไม่จัดโปรโมชั่น
เวลาร้านอาหารจัดโปรโมชั่นส่วนลดอยู่บ่อยๆ มักมีลูกค้าอุดหนุนแน่นร้าน พอเมื่อไหร่ไม่จัดโปรโมชั่นต่อ ทำให้ลูกค้าไม่เข้าไปใช้บริการ เพราะไม่อยากจ่ายราคาเต็ม ดังนั้น ร้านอาหารควรหลีกเลี่ยงการจัดโปรโมชั่นลดราคาบ่อยๆ
ภาพจาก freepik.com
5. รสชาติไม่คงที่
บางวันรสชาติอร่อย กลมกล่อม บางวันเค็มไป บางวันหวานไป บางวันจืดไป เปรี๊ยวไป ทำให้ลูกค้าไม่อยากกินต่อ ดังนั้น คุณควรควบคุมรสชาติอาหารให้คงที่มีมาตรฐานเหมือนกันทุกวัน ทุกสาขา
6. บริการแย่ลง
คงไม่มีใครอยากไปกินร้านที่ให้บริการแย่ๆ พนักงานหน้าบูดหน้าบึ้งอยู่ตลอดเวลา เสิร์ฟอาหารก็ช้า บริการไม่ทัน คุณภาพการบริการต่ำลง ไม่รักษาความสะอาดร้าน อันนี้อาจแก้ไขด้วยการจัดระบบบริหารจัดการร้านและอบรมพนักงานใหม่
ภาพจาก freepik.com
7. ขึ้นราคาอาหาร
อีกหนึ่งสาเหตุทำให้ลูกค้าหายไป ยอดขายร้านอาหารลดลง ลูกค้าเลือกไปกินร้านที่ขายถูกกว่า ทางแก้คุณควรแจ้งปรับราคาให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า บอกลูกค้าอย่างตรงไปตรงมาในการปรับขึ้นราคา
8. คู่แข่งขัน
จากเดิมที่คุณเปิดอยู่ร้านเดียว ลูกค้าไม่มีตัวเลือก ต้องกินร้านคุณเป็นประจำ พออีกวันมีร้านประเภทเดียวกันมาเปิดอยู่ข้างๆ ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น ทำให้ยอดขายร้านคุณลดลง คุณควรเพิ่มเมนูอาหารใหม่ๆ รักษารสชาติและคุณภาพมากตรฐานอาหารให้คงที่ จะทำให้ลูกค้าไม่หนีจากคุณ
ภาพจาก freepik.com
9. ปัญหาเศรษฐกิจ
ช่วงเศรษฐกิจดี การจับจ่ายใช้สอยจะคล่องตัว พอเศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนไม่กล้าใช้จ่าย ออกไปกินข้าวนอกบ้านบ้าง ทำกินที่บ้านบ้าง ทำให้ร้านอาหารต่างๆ ขายไม่ดีตามไปด้วย ทางแก้คุณอาจเพิ่มบริการเดลิเวอรี่ เป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ไม่อยากออกจากบ้าน ช่วยขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้มากขึ้น
สุดท้ายนี้ การแก้ปัญหายอดขายร้านอาหารไม่คงที่ คุณควรบันทึกและวิเคราะห์ยอดขายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้คุณรู้ว่ายอดขายตกช่วงเวลาหรือวันไหนบ้าง จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
แหล่งข้อมูลจาก https://is.gd/55vrVP
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)