9 ข้อเช็คลิส ไอเดียคุณเจ๋งพอทำเป็นธุรกิจได้มั้ย

9 ข้อเช็คลิส ไอเดียคุณเจ๋งพอทำเป็นธุรกิจได้มั้ย  ก่อนมีธุรกิจก็ต้องเริ่มจากมีไอเดีย ระหว่างความคิดกับไอเดียมีสิ่งที่ต่างกันนิดหน่อยคือความคิดเป็นสิ่งที่มีได้ทั่วไปคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อยก็เรียกว่าความคิดแต่ไอเดียคือสิ่งที่ปิ๊งขึ้นมาและรู้สึกว่าจะเอาไปใช้ทำประโยชน์ได้

คำถามสำคัญคือแล้วไอเดียแบบไหนที่จะเอามาทำธุรกิจได้วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีวิธีเช็คไอเดียที่ผุดขึ้นจากความคิดของเราว่าเหมาะสมจะผลักดันให้เป็นธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน

1.เป็นไอเดียที่ขัดแย้งตัวตัวตนของเราหรือไม่?

9 ข้อเช็คลิส

ไอเดียต้องสัมพันธ์กับไลฟ์สไตล์ตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่ Passion ที่สอดคล้องกัน หากคุณมีไอเดียที่จะผลิตสินค้าเกี่ยวกับอาหาร ไลฟ์สไตล์ตัวเองก็ต้องเป็นคนชอบทำอาหารด้วย ไอเดียที่ขัดแย้งกับตัวเองไม่ควรนำมาเป็นไอเดียทำธุรกิจเพราะส่วนใหญ่เกิดจากเห็นคนอื่นทำแล้วอยากทำตาม ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เป้าหมายที่ตัวเองตั้งใจไว้ แนะนำว่าหาไอเดียใหม่ให้ตอบโจทย์ตัวเองได้ด้วย

2.เป็นไอเดียที่แก้ไขปัญหาคนส่วนใหญ่ได้

451

หากไอเดียเราตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาคนส่วนใหญ่ได้ถือว่าเรามาถูกทางและน่าจะสร้างเป็นธุรกิจได้ เช่นในพื้นที่ที่เราอยู่ขาดแคลนเรื่องน้ำสะอาด เราเลยมีไอเดียอยากสร้างโรงกรองน้ำหรือทำธุรกิจน้ำดื่มอันนี้เรียกว่าแก้ปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่พัฒนาให้เป็นธุรกิจได้

หรือในพื้นที่ที่มีสินค้าครบทุกอย่างแต่สินค้าบางอย่างไม่ตอบโจทย์เช่นบริการไม่ดี สินค้าไม่มีคุณภาพและเรามีไอเดียในการทำที่ดีกว่าได้ ก็เหมาะเอามาต่อยอดทำธุรกิจได้เช่นกัน

3.ไอเดียเข้าใจง่าย คนทั่วไปเข้าใจได้

452

เป็นมุมมองของการหาลูกค้าที่เป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจ ดังคำกล่าวของWil Schroter ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Fundable ที่พูดว่า “ไอเดียก็เป็นเพียงแนวคิดจนกว่าจะมีลูกค้าจ่ายเงินให้กับมันถึงจะเรียกว่าธุรกิจ” นั้นหมายถึงว่าไอเดียต่อให้ดีสุดโต่งแต่หากล้ำเลิศจนคนทั่วไปไม่เข้าใจก็ยากที่จะสร้างลูกค้าได้ ดังนั้นไอเดียที่คิดได้ต้องอยู่บนหลักของความเป็นจริงที่สร้างขึ้นจริงในโลกของธุรกิจได้

4.มีวิธีการที่จะทำให้ไอเดียนั้นเป็นจริงได้

453

ทุกไอเดียจะสำเร็จก็ต้องลงมือทำ ไอเดียที่พัฒนาให้เป็นธุรกิจได้ต้องคิดกลับไปกลับมาว่ากว่าจะมาเป็นไอเดียที่จับต้องได้ต้องผ่านอะไรมาบ้างมีโอกาสทำให้เป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน นั้นหมายถึงองค์รวมของการทำธุรกิจเช่นพันธมิตร คู่ค้า แหล่งวัตถุดิบ สถานที่จำหน่าย คู่แข่งทางการตลาด กลุ่มเป้าหมายของสินค้า เป็นต้น

5.เป็นไอเดียที่เอาไปต่อยอดได้

454

เราต้องดูว่าไอเดียของเรามันมาถึงที่สุดแล้วหรือยัง สินค้าหรือบริการที่ดีต้องมีการพัฒนาต่อยอดได้เพื่อให้ก้าวทันตามยุคสมัยได้ ของที่เคยดีในยุคสมัยหนึ่งไม่ได้การันตีว่าจะดีในอีกหลายสิบปีต่อมา เราต้องมองว่าไอเดียในวันนี้ของเราหากจะต่อยอดพอจะมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หากมองเห็นความเป็นไปได้ก็เริ่มทำเป็นธุรกิจได้เช่นกัน

6.ไอเดียดีพอที่ทำให้มีคนมาสนับสนุน

455

หลายธุรกิจในโลกนี้เกิดขึ้นจากไอเดียดีแล้วมีคนสนใจในความคิดจนนำมาสู่เงินลงทุนในลักษณะของการระดมทุน บางความคิดสามารถระดมทุนได้นับ 100 ล้าน คำถามคือทำไมคนจ่ายเงินล่วงหน้าเหล่านี้ถึงกล้าให้เงินแก่เจ้าของความคิดนำมาผลิตสินค้าก่อน

นั้นเพราะเขามั่นใจว่าสินค้าที่ผลิตนี้จะพลิกโลกได้จริง ปฏิวัติวงการธุรกิจได้จริง ในสายตาของนักลงทุนเรียกว่าการซื้ออนาคต แต่ทั้งหมดก็ต้องมาจากไอเดียที่สุดยอดและทำให้นักลงทุนเห็นคุณค่าได้

7.มีไอเดียสำรองในยามที่เกิดปัญหา

456

การนำไอเดียหลักมาเป็นต้นแบบทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้งนี้ในโลกของความจริงเมื่อลงมือทำย่อมมีปัญหามากกว่าตอนที่นั่งคิด ดังนั้นไอเดียที่จะเปลี่ยนเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ต้องมีไอเดียสำรองควบคู่กันไป หากเรายังไม่สามารถคิดไอเดียสำรองไว้ในยามฉุกเฉินได้ จะเป็นการเสี่ยงในการลงทุนหากไอเดียหลักเกิดปัญหาจนไม่สามารถเดินหน้าไปต่อได้

8.ไอเดียที่ดีควรได้รับการทดสอบก่อนลงมือทำจริง

457

คล้ายกับเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องมีสมมุติฐานว่าสิ่งที่เราคิดจะเป็นจริงได้หรือไม่ ในระบบแฟรนไชส์ก็เช่นกันที่ความคิดก็ต้องมีร้านต้นแบบตัวเองก่อนที่จะเป็นแฟรนไชส์เพื่อให้รู้ว่าความคิดนี้ทำได้ ความคิดนี้ปฏิบัติได้จริง หากใครมีไอเดียดีๆ ลองทำเป็นสินค้าตัวอย่าง หรือธุรกิจตัวอย่างมาลองชิมลางกันสักหน่อย เพื่อดูว่าผลที่ตอบมาเป็นอย่างไรประเมินแบบเห็นภาพว่าจะสานต่อไอเดียได้หรือไม่

9.มั่นใจว่าไอเดียนั้นสมบูรณ์แบบ

458

อาจจะไม่ต้องถึงขนาด 100% เพราะไม่มีไอเดียไหนในโลกที่เพอร์เฟคเต็มร้อยแต่ไอเดียที่แปรเปลี่ยนมาเป็นธุรกิจได้ต้องผ่านการทดสอบ ทดลอง และได้รับการปรับแต่งให้เป็นไอเดียเพื่อทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการที่ดีคือลองเอาไอเดียดังกล่าวไปพูดคุยปรึกษากับคนที่มีประสบการณ์และไว้ใจได้ ซึ่งความคิดที่จะเป็นไอเดียธุรกิจจำเป็นต้องผ่านการตัดแต่งพอสมควรเหมือนที่ Angie Yasulitis ซีอีโอและหุ้นส่วนผู้จัดการของ The YaZo Group กล่าวว่า “ความคิดที่ดีที่สุดบางส่วนใช้เวลาปรับแต่งบางอย่างเพื่อเข้าสู่ตลาดได้”

ซึ่งบางครั้งการจะได้ไอเดียดีๆนั้นเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการทำไอเดียนั้นให้เป็นจริงซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องจะสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วธุรกิจที่ดีจึงต้องมีแผนสำรองไว้รองรับยามฉุกเฉิน การเตรียมแผนที่ดีเตรียมตัวที่ดีย่อมทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จจากไอเดียที่คิดไว้ได้


SMEs Tips

  1. เป็นไอเดียที่ขัดแย้งตัวตัวตนของเราหรือไม่?
  2. เป็นไอเดียที่แก้ไขปัญหาคนส่วนใหญ่ได้
  3. ไอเดียเข้าใจง่าย คนทั่วไปเข้าใจได้
  4. มีวิธีการที่จะทำให้ไอเดียนั้นเป็นจริงได้
  5. เป็นไอเดียที่เอาไปต่อยอดได้
  6. ไอเดียดีพอที่ทำให้มีคนมาสนับสนุน
  7. มีไอเดียสำรองในยามที่เกิดปัญหา
  8. ไอเดียที่ดีควรได้รับการทดสอบก่อนลงมือทำจริง
  9. มั่นใจว่าไอเดียนั้นสมบูรณ์แบบ

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

ข้อมูลจาก goo.gl/m6q7pD

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด