9 ขั้นตอนสู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ในดวงใจ

9 ขั้นตอนสู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ในดวงใจ ใครที่ฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ขาดความรู้ ความชำนาญ อีกทั้งไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ แต่อยากหาทางลัดในการทำธุรกิจ โดยมองไปที่ธุรกิจแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอกขั้นตอนสู่การเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ในดวงใจ หรือแฟรนไชส์ที่ชอบ รับรองว่าไม่ผิดหวังครับ

1.เริ่มหาข้อมูล

9 ขั้นตอนสู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ในดวงใจ

ก่อนอื่นเลยต้องถามตัวเราก่อนว่า สนใจธุรกิจประเภทไหน เนื่องจากแฟรนไชส์มีหลากหลายธุรกิจ จึงต้องวิเคราะห์ตัวเราว่าชอบหรือสนใจธุรกิจประเภทใด แล้วจึงศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

ทั้งจากแฟรนไชส์ซอร์เอง เว็บไซต์ สถาบัน สมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ รวมถึงสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีหลายธนาคารมีการคัดเลือกแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน และผ่านการวิเคราะห์จากธนาคารหลายแบรนด์ เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สนใจในธุรกิจนี้ อย่าลืมว่าเราควรหาโอกาสทดลองซื้อสินค้า หรือใช้บริการแฟรนไชส์ที่สนใจด้วย

2.หาทำเลที่ดี

263

ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้นจึงควรศึกษาและใส่ใจตรงจุดนี้ให้มาก โดยแฟรนไชส์บางแบรนด์ก็ช่วยประสานเรื่องทำเลเพื่อผู้ลงทุน รวมถึงสามารถนำเสนอทำเลที่ดี สำหรับการลงทุนของแฟรนไชส์ซีได้ด้วย

3.ติดต่อพูดคุยกับบริษัทแฟรนไชส์

264

เราอาจจะเลือกแฟรนไชส์ในดวงใจมาอย่างน้อย 3 แฟรนไชส์ จากนั้นลองติดต่อขอข้อมูลสอบถามรายละเอียดในการลงทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการแบ่งผลตอบแทน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ

4.วิเคราะห์และเปรียบเทียบ

270

เราควรวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ทั้งรูปแบบการลงทุน ยอดเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ สัดส่วน และวิธีการแบ่งผลตอบแทน รวมถึงระยะเวลาในการคืนทุนของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ

5.ตัดสินใจเริ่มดำเนินการ

266

เมื่อมีข้อมูลเพียงพอ จนสามารถตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการของเรา จากนั้นเริ่มเจรจาเพื่อการลงทุน นำข้อมูลเชิงลึกมาประกอบการตัดสินใจ รวมถึงเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกระบวนการบริหารจัดการร้านค้าแฟรนไชส์ โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ให้ละเอียด โดยแฟรนไชส์ที่ดีนั้นสัญญาควรเป็นธรรม

6.ศึกษาวิธีคัดเลือกผู้ลงทุนของแฟรนไชส์ซอร์

265

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ จะพิจารณาศักยภาพผู้ร่วมลงทุนหรือแฟรนไชส์ซีเป็นหลัก เงินทุนส่วนตัวไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด แต่แฟรนไชส์ซอร์จะมองเรื่องความตั้งใจ และความใส่ใจในธุรกิจต่างหาก แต่หากพลาดแฟรนไชส์แรกก็ไม่ต้องเสียใจ ตั้งหลักใหม่ แล้วเดินหน้าติดต่อแฟรนไชส์ในดวงใจอันดับถัดไป

7.หาแหล่งเงินลงทุน

269

ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาวงเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ทั้งช่วงก่อตั้งกิจการ รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในกิจการ ซึ่งเราต้องประเมินเงินทุนส่วนตัว หรือเงินเก็บที่คุณมี อย่างน้อยๆ ควรมีประมาณ 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้หากพิจารณาแล้วพบว่าต้องการเงินลงทุนส่วนเพิ่ม ในขั้นตอนนี้ เราลองปรึกษาธนาคารพาณิชย์ที่เข้าใจและเชี่ยวชาญธุรกิจแฟรนไชส์

8.เตรียมความพร้อมเปิดกิจการ

267

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายแบรนด์ มีการทำ MOU ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อปล่อยกู้ให้กับนักลงทุน และผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ โดยผู้สนใจแฟรนไชส์สามารถติดต่อโดยตรงไปยังแบรนด์แฟรนไชส์ต่างๆ ได้เลย เพราะธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้ก็ต่อเมื่อ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ผ่านการพิจารณาจากแฟรนไชส์ซอร์เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นเตรียมเปิดร้านได้เลย

คลิกอ่าน…คลอดแล้ว! 37 แฟรนไชส์ ที่เข้าร่วม MOU กับธนาคารออมสิน ปล่อยกู้เพื่อผู้มีรายได้น้อย http://www.thaifranchisecenter.com/info/show.php?etID=6788

9.ฝึกอบรมก่อนเปิดกิจการ

268

เมื่อเราซื้อแฟรนไชส์ได้แล้ว เราต้องเข้ารับการฝึกอบรมการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ต่างๆ กำหนดไว้ รวมถึงสรรหาบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ กรณีประสบปัญหาด้านบุคลากร ทางแฟรนไชส์ซอร์จะช่วยดำเนินการสรรหา และฝึกอบรมให้ โดยในช่วงแรกของการดำเนินการ บางแฟรนไชส์อาจส่งเจ้าหน้าที่มาสนับสนุนการดำเนินการในช่วงนี้ เหมือนเป็นพี่เลี้ยงให้ หากเกิดปัญหาก็สามารถขอคำปรึกษาจากแฟรนไชส์ซอร์ได้

ทั้งหมดเป็น 9 ขั้นตอนสู่การเป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ในดวงใจ ใครที่กำลังอยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยแฟรนไชส์ สามารถนำเอาขั้นตอนเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ข้างต้น ไปเป็นแนวทางหรือทิศทางเลือกซื้อแฟรนไชส์ในดวงใจได้ครับ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php

เลือกซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ในดวงใจ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


Franchise Tip

  1. เริ่มหาข้อมูล
  2. หาทำเลที่ดี
  3. ติดต่อพูดคุยกับบริษัทแฟรนไชส์
  4. วิเคราะห์และเปรียบเทียบ
  5. ตัดสินใจเริ่มดำเนินการ
  6. ศึกษาวิธีคัดเลือกผู้ลงทุนของแฟรนไชส์ซอร์
  7. หาแหล่งเงินลงทุน
  8. เตรียมความพร้อมเปิดกิจการ
  9. ฝึกอบรมก่อนเปิดกิจการ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/37NonLz

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช