9 วิธีคัดเลือกคนเก่ง ! สไตล์บริษัทระดับโลก

คำว่าบริษัทชั้นนำไม่ว่าจะของประเทศไทยหรือระดับโลกล้วนแต่เป็นเวทีทำงานที่คนให้ความสนใจมากเนื่องด้วยโอกาสที่ดีในเรื่องค่าตอบแทนและความมั่นคงในระยะยาวทำให้การเปิดสมัครงานแต่ละครั้งของบริษัทเหล่านี้ย่อมมีผู้สมัครจำนวนมาก

สิ่งที่บริษัทเหล่านี้จะคัดสรรคนได้ดีที่สุดก็คือการทำให้เราแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมาได้มากที่สุดซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายและนี่คือ 9 ข้อที่ Sarah Cooper ผู้เขียนหนังสือเรื่อง 100 Tricks to Appear Smart in Meeting

ได้รวบรวมวิธีคัดกรองคนเข้าทำงานและ www.ThaiSMEsCenter.com ได้นำมาให้อ่านเป็นแนวทางหนึ่งที่ควรศึกษากันไว้สำหรับใครก็ตามที่อยากก้าวเข้าสู่บริษัทชั้นนำระดับโลกหรือระดับประเทศต่อไป

วิธีคัดเลือกคนเก่ง

1.เลือกโทรสัมภาษณ์แบบไม่ตรงตามเวลานัด

ถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็กคนสมัครจำนวนน้อยวิธีโทรสัมภาษณ์ก็ดูจะไม่จำเป็นสักเท่าไหร่แต่ถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่คนสมัครงานมาก จะเรียกผู้สมัครมาสัมภาษณ์ทีละคนก็คงยุ่งยากมากทางที่ดีที่สุดและเป็นการกรองขั้นแรกก็คือการสัมภาษณ์เบื้องต้นทางโทรศัพท์

แต่เพื่อให้ได้คนเก่งที่มีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอบริษัทใหญ่ๆทั้งหลายเลือกที่จะโทรมาก่อนหรือหลังเวลานัดอย่างน้อยๆก็บวกลบประมาณ 15 นาที เหตุผลก็คือหากโทรตามเวลาผู้สมัครงานก็รู้และเตรียมตัวไว้แล้วแต่ก่อนโทรก่อนหรือหลังจะช่วยเช็คสมาธิ วิธีตอบคำถาม ซึ่งเป็นนการกดดันขั้นแรกที่มาจากความกระวนกระวายใจ หากตอบคำถามได้ดีก็แสดงว่าคนนั้นพร้อมปฏิบัติงานอยู่เสมอนั่นเอง

2.ไม่ต้องสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์ม วกวนได้ยิ่งดี

ผู้สมัครงานจำนวนไม่น้อยมักจะหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์มาล่วงหน้า โดยเฉพาะการสอบถามจากคนที่เคยเข้าสัมภาษณ์ในบริษัทนั้นๆมาแล้ว ทีนี้ตัวเองก็จะมั่นใจว่าเขาจะถามอะไร และควรตอบอย่างไรให้ถูกใจมากที่สุด

เทคนิคหนึ่งที่บริษัทใหญ่ๆนิยมทำคือไม่สัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่ว่านั้นและดูเหมือนจะตั้งคำถามแบบงง ที่ชวนให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่ามันเกี่ยวกันตรงไหน เหตุผลที่ต้องทำเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพื่อไม่ให้คนถูกสัมภาษณ์เอาเรื่องนี้ไปอธิบายต่อได้ง่ายๆ อีกส่วนหนึ่งคือดูปฏิกิริยาในการตอบคำถามที่ส่วนใหญ่มักเป็นคำถามดูไหวพริบมากกว่า

w6

3.อุปกรณ์พรีเซนเสียบ้าง ทำงานไม่ดีบ้าง

แน่นอนว่าในการสัมภาษณ์งานหากมีตำแหน่งที่ต้องใช้ความสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องงานนี้ก็ต้องขอดูผลงานและวิธีการทำเบื้องต้นกันสักหน่อย ซึ่งผู้สมัครส่วนใหญ่ก็มักจะเตรียมพร้อมเรื่องนี้มาด้วย แต่ถ้ามาเจอกับปัญหาในการสัมภาษณ์ที่ว่าคอมพิวเตอร์ไม่ติด โปรเจคเตอร์ไม่ทำงาน คราวนี้ก็ต้องตัดสินใจให้ดีว่าจะพรีเซนงานอย่างไร

หากเลือกผัดผ่อนขอไปแสดงต่อโอกาสหน้าก็เท่ากับเสียโอกาสทันที แต่ถ้าเดินหน้าต่อหรือเตรียมอุปกรณ์มาเองบ้าง แม้จะไม่ดีเท่าอุปกรณ์ที่บริษัทมีแต่ก็ทำให้ดูว่าเรามีความกระตือรือร้นและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

4.สร้างคำถามจุกจิกกวนใจประเมินอารมณ์ผู้สมัคร

ในใบสมัครงานเราย่อมเขียนข้อมูลที่จำเป็นไว้ทั้งหมดตั้งแต่ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัตการทำงาน และความสามารถต่างๆ แต่เพื่อการทดสอบให้ได้คนที่นอกจากเก่งแล้วต้องมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีร่วมด้วย

สิ่งที่จะได้เห็นคือการถามในลักษณะก่อกวนเช่น แกล้งจำผิดว่าเราเคยทำงานในอีกที่หนึ่ง หรือทักเราว่าเคยจบมาจากอีกที่หนึ่ง การก่อกวนเช่นนี้เพื่อหยั่งอารมณ์ว่าเราจะโมโหหรือหงุดหงิดไปกับคำถามเหล่านี้หรือไม่และเราจะมีวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นอย่างไร

w1

5.สร้างเหตุการณ์ให้แก้ปัญหาของบริษัท

ยิ่งการเป็นบริษัทใหญ่ปัญหาย่อมมีหลากหลาย ซึ่งบางปัญหาแม้แต่ผู้บริหารเองก็ยังแก้ไม่ได้หรือยังไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ในการสัมภาษณ์นั้นหากมีการเพิ่มเติมเหตุการณ์เหล่านี้ลงไปในคำถามและให้ผู้สมัครได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาซึ่งถ้าทำได้ดีกว่าที่เคยแก้มาหรือเป็นวิธีที่เป็นทางออกของบริษัทได้อย่างแท้จริงก็จะทำให้เรามีโอกาสได้งานนั้นมากขึ้นด้วย

6.คอยสร้างความกดดันให้ผู้สัมภาษณ์ไปเรื่อยๆ

แทบทุกบริษัทต้องการพนักงานที่สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ในการสอบสัมภาษณ์ก็มีวิธีการสร้างแรงกดดันเบื้องต้นเพื่อทดสอบผู้สัมภาษณ์ได้เช่นการย้ายห้องสัมภาษณ์ไปเรื่อยๆ ห้องสัมภาษณ์อยู่ห้องหนึ่ง สอบข้อเขียนไปอีกห้องหนึ่ง ห้องสอบสัมภาษณ์ครั้งที่สองอยู่อีกห้องหนึ่งเป็นต้น

ด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกตื่นเต้นกระวนกระวายไปเรื่อยๆและอาจเกิดความประหม่ามากขึ้นแต่ถ้าหากรับมือและผ่านไปได้ก็แสดงว่าเขารับแรงกดดันได้ดีในระดับหนึ่งทีเดียว

w4

7.ย้ำคิดย้ำทำถามซ้ำๆเพื่อดูคำตอบ

ผู้สมัครทุกคนมีการเตรียมตัวในประเด็นการสัมภาษณ์มาอย่างดี บางคนแทบจะท่องจำในคำถามสำคัญเพื่อให้คำตอบนั้นถูกใจและสวยหรูดีดีที่สุด ซึ่งผู้สัมภาษณ์เองก็รู้ดีในเรื่องนี้และเพื่อให้ได้คำตอบที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดจริงๆ ก็ควรถามซ้ำในคำถามเดิม

แต่อาจเปลี่ยนประโยคคำถามนิดหน่อยเพื่อดูว่าคำตอบที่ได้จะเหมือนกับครั้งแรกหรือไม่เช่น คำถามที่ว่า คุณคิดว่าบริษัทนี้มีความมั่นคงมากขนาดไหน กับคำถามเดียวกันที่ถามว่าคุณคาดว่าจะได้รับอะไรบ้างจากการทำงานที่นี่

8.สัมภาษณ์พร้อมกันทีเดียว 2 คน

เรียกว่าเป็นไม้เด็ดของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายทีเดียวกับการสอบสัมภาษณ์แบบพร้อมกันอย่างน้อย 2-3คน ซึ่งแน่นอนว่าความเครียดนั้นเพิ่มขึ้นแน่กั้บการตอบคำถามที่ต้องกลัวว่าจะด้อยไปกว่าคู่แข่ง

หรือคำตอบที่กลัวผิดพลาดและคู่แข่งตอบได้ดีกว่า สารพัดความเครียดที่ประดังเข้ามานี้จะอยู่ในสายตาของผู้สัมภาษณ์ที่คอยจับจ้องดูกิริยาเราตลอด นอกจากนี้ยังอาจมีคำถามในเชิงให้เราแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของคู่แข่งเพื่อดูทัศนคติของเรากับผู้ร่วมงานได้อีกด้วย

w3

9.รบกวนสมาธิผู้สัมภาษณ์ด้วยเสียงดัง

ถ้าเราเคยดูหนังที่เกี่ยวกับการทำงานมาบ้างจะเห็นว่าในบางฉากบางตอนที่พระเอก นางเอกหรือใครก็ตามเข้าไปสมัครงาน ผู้สัมภาษณ์มักจะแกล้งทำงานด้วยการพิมพ์คอมพิวเตอร์ไปด้วย

นอกจากทำงานไปด้วย ก็สัมภาษณ์เราไปด้วย เหมือนไม่สนใจในคำถามที่พูดออกไปรวมกับเสียงกดแป้นพิมพ์ที่ดังตลอดเวลาจนผู้สมัครไม่แน่ใจว่าคำตอบที่ตอบไปนั้นเขาได้ยินหรือไม่หรือเขาสนใจในคำตอบนั้นหรือเปล่า เหตุผลสำคัญคือเขากำลังทดสอบว่าเราจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ได้ดีแค่ไหน เพราะทุกคำตอบที่เราตอบมาเขาได้ยินและตั้งใจฟังอย่างดีทีเดียว

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องตลกที่เราเอามาเล่าให้สนุกเท่านั้นแต่ในการสัมภาษณ์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่การแข่งขันสูงสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเราอาจจะไม่คุ้นเคยนักแต่ถ้าลองไปสัมภาษณ์กับบริษัทต่างชาติที่เข้มงวดในการรับคนเข้าทำงานรับรองได้ว่าหากไม่มีแนวทางเหล่านี้รู้ไว้ก่อนการเตรียมตัวที่แม้จะดีแสนดีก็ไม่มีทางจะรับมือได้ง่ายๆแน่นนอน

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/movhNS

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด