9 ข้อดีของการทำตลาด เฉพาะสาขา (LSM) ในธุรกิจแฟรนไชส์
การทำการตลาด เฉพาะสาขา หรือ Local Store Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายภายในพื้นที่ท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อสร้างการรับรู้ในตัวสินค้าและบริการ
จนนำไปสู่การเริ่มทดลองซื้อสินค้าและบริการของร้านค้าสาขาในพื้นที่ เจ้าของร้านสาขาแฟรนไชส์ไม่เพียงทำหน้าที่บริหารร้านเท่านั้น ยังต้องคิดวิธีการแข่งขันและทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ให้มากที่สุด เพื่อวางแผนรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับเจ้าของแฟรนไชส์ที่อยากรู้ว่า การทำตลาด เฉพาะสาขา ส่งผลดีอย่างต่อธุรกิจแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
1. สร้างการทดลองซื้อครั้งแรกให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ที่ยังไม่เคยมาใช้บริการร้านสาขาแฟรนไชส์ สาขาแฟรนไชส์อาจจะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ลด แลกแจก แถม เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าใช้บริการในวันเปิดร้านก็ได้
2. สร้างการซื้อซ้ำและเพิ่มความถี่ในการซื้อให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่เคยใช้บริการของสาขาแฟรนไชส์ กลุ่มลูกค้าที่เคยใช้บริการร้านสาขาแฟรนไชส์อาจจะกลับมาซื้อซ้ำหรือใช้บริการอีกครั้ง หากสินค้าและบริการตอบโจทย์พวกเขาได้
3. เพิ่มยอดขายในการสั่งซื้อแต่ละครั้งของลูกค้าที่เคยใช้บริการ และลูกค้าที่ไม่เคยใช้บริการ เพราะการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจะช่วยดึงดูดให้คนกลุ่มนี้กลับมาซื้อซ้ำและซื้อทีละมากๆ กลังจากทดลองใช้แล้วได้ผลตอบรับดี
4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารระหว่างสาขากับชุมชน ผ่านการจัดทำป้ายบิลบอร์ด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
5. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสาขากับชุมชน เมื่อสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละพื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า ให้เงินทุนพัฒนาหมู่บ้าน หรือทำกิจกรรม CSR ต่างๆ จะทำให้ชาวบ้านชื่นชอบ
6. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสาขาแฟรนไชส์ให้กับชุมชน สาขาที่ทำความดี จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอยู่บ่อยๆ และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ไม่เอาเปรียบลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่ จะมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของคนในพื้นที่
7. สร้างการรับรู้ในตรายี่ห้อให้กับชุมชน สาขาแฟรนไชส์ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนจะทำให้ลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่นั้นๆ จดจำแบรนด์และรับรู้ในแบรนด์แฟรนไชส์นั้นๆ ได้ง่าย เหมือนแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง 7-Eleven เปิดให้บริการใกล้ชุมชน ดึงคนมาใช้บริการทุกวัน ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องใช้บริการร้านสะดวกซื้อแห่งนี้ทุกวัน เพราะรู้ว่ามีสินค้าอะไรขายบ้าง
8. สร้างความจงรักภักดีในตรายี่ห้อให้กับชุมชน ร้านค้า ร้านอาหาร ที่มีสินค้าและบริการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่นั้นๆ จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้ใช้บริการและเกิดการซื้อซ้ำ จนลูกค้ารู้สึกจงรักภักดีต่อแบรนด์ ไม่อยากเปลี่ยนไปใช้บริการสาขาแฟรนไชส์อื่นๆ ยกตัวอย่างลูกค้าที่ชอบเติมน้ำมันปั้มปตท.ก็จะใช้บริการประจำ เพราะรู้สึกว่าปั้มปตท.น้ำมันสะอาด ห้องน้ำสะอาด ปั้มมีหลายสาขา อีกทั้งมีร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในปั้มด้วย
9. สาขาแฟรนไชส์สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง หรือมีส่วนร่วมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการแจกของร่วมกับคนในชุมชนให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ใกล้เคียง การจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องต่างๆ แก่คนในชุมชน หรือการสนับสนุนสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ด้วยการฝึกอบรมอาชีพ รวมถึงการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงมาจำหน่ายในร้านสาขา เป็นต้น
นั่นคือ 9 ข้อดีของการทำตลาดเฉพาะสาขา (LSM) ในธุรกิจแฟรนไชส์
Franchise Tips
- สร้างการทดลองซื้อครั้งแรก
- สร้างการซื้อซ้ำและเพิ่มความถี่ในการซื้อ
- เพิ่มยอดขายในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง
- เป็นเครื่องมือการสื่อสารระหว่างสาขากับชุมชน
- สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสาขากับชุมชน
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสาขาแฟรนไชส์ให้กับชุมชน
- สร้างการรับรู้ในตรายี่ห้อให้กับชุมชน
- สร้างความจงรักภักดีในตรายี่ห้อให้กับชุมชน
- สาขาแฟรนไชส์สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง หรือมีส่วนร่วมกับชุมชน
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dEAQXv
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)