8 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ผู้นำโลกไอที งานนี้ต้องเรียนรู้ไว้!

รูปแบบการลงทุน ที่ถือว่าสุดฮิตติดชาร์จใครๆก็อยากทำนั้นก็คืองานออนไลน์ เหตุผลก็คงไม่ต้องอธิบายเพราะนี่คืองานที่ไม่ต้องนั่งทนอยู่ในออฟฟิศ ไม่ต้องปวดหัวกับทีมงาน ไม่มีความกดดันจากเจ้านาย และไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับการทำงานของลูกน้อง

งานออนไลน์ใช้ทักษะการเป็นนายตัวเองทำงานด้วยตัวคนเดียวเป็นสำคัญ คนที่สามารถบริหารจัดการเรื่องเวลาได้ดี และมีการตลาดที่ชาญฉลาดสามารถทำเงินจากธุรกิจนี้ได้อย่างน่าพอใจทีเดียว

แต่ที่เห็นว่าดีก็ใช่ว่านึกจะทำก็รวยได้ทันทีทันใด www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเรื่องของทักษะและกระบวนการจัดการเป็นสิ่งสำคัญมากแม้จะมีข้อดีหลายอย่างแต่ข้อจำกัดที่ทำให้ธุรกิจนี้ไม่ใช่สวรรค์ของคนทุกคนก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

ในโลกออนไลน์มี 8 ผู้นำของธุรกิจที่เรียกว่าเป็นการทำงานแบบ On-demand คือการกระจายงานของตัวเองออกไปผ่านระบบของแอพพลิเคชั่นเพื่อให้คนทางบ้านได้ใช้ทักษะแสวงหารายได้ตามต้องการแน่นอนว่า ธุรกิจที่เป็นผู้นำก็มีตัวเลขการลงทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 94 พันล้านเหรียญ หากเราอยากรู้ว่าผู้นำเหล่านี้มีใครและเราจะเลือกรูปแบบไหนมาเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์เราได้บ้างต้องตามไปดูกันเลย

1.Amazon.com

รูปแบบการลงทุน

ภาพจาก goo.gl/CCsoO0

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Amazon เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจ E-commerce และในตอนนี้พวกเขาก็เริ่มให้บริการส่งสินค้าให้กับผู้คนในท้องถิ่นที่มีชื่อว่า Amazon Prime Now โดยเป็นบริการส่งของภายใน 1 ชั่วโมง และในเว็บไซต์ Amazon Flex ได้เปิดรับสมัครพนักงานส่งของ โดยมีรายได้ประมาณ 18 – 25 เหรียญต่อชั่วโมง

ในการส่งสินค้าให้กับ Amazon ถือเป็นการเพิ่มเทคนิคการบริการต่างๆออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณผู้คนที่ใช้ช่องทางของ Amazon ในการทำธุรกิจและก็ดูเหมือนจะได้ผลอย่างมากกับชื่อเสียงของเว็บไซต์ที่เพิ่มมากขึ้นและทุกวันนี้นึกถึงช็อปปิ้งออนไลน์ก็ต้อง Amazon.com เป็นชื่อแรกกันแทบทุกครั้ง

2.Uber

d2

ภาพจาก goo.gl/J8MS6O

Uber เป็นธุรกิจที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมขนส่งแบบดั้งเดิม ไปสู่อุตสาหกรรมการขนส่งแบบ On-demand เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างธุรกิจสาย Sharing Economy ที่ชัดเจนที่สุดในการอธิบายว่า

ผู้บริโภคจะสามารถช่วยเหลือผู้บริโภคด้วยกันเองได้อย่างไร โดยมีแอพทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างคนทั้ง 2 ฝั่ง โดยความสำเร็จของ Uber นั้น มาจากคุณค่าของธุรกิจที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น

ด้วยการส่งมอบบริการขนส่งแบบ On-demand ในราคาที่ถูกกว่าและให้ประสบการณ์ที่ดีกว่า และการอัดแคมเปญโฆษณาที่เราเห็นกันอยู่ก็ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของ Uber ว่าเป็นธุรกิจที่มีรายได้เสริมน่าพอใจถึงขนาดที่บางคนออกมาทำเป็นอาชีพหลักกันเลยทีเดียว

3.Lyft

d5

ภาพจาก goo.gl/YwTuch

อาจจะมองว่า Lyft นั้นมีสถานะที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Uber ซึ่งให้บริการแบบเดียวกัน คือ Taxi แบบ On-demand ถึงแม้ว่า Lyft จะมีมูลค่าเพียง 5.5 ล้านเหรียญเมื่อเทียบกับ Uber ซึ่งมีมูลค่า 62.5 พันล้านเหรียญซึ่งห่างชั้นกันมาก

แต่ Lyft ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของธุรกิจ โดยการเป็นพาร์ทเนอร์กับ GM โดยสัญญาณการลงทุนบ่งบอกว่า ในอนาคตคนขับอาจต้องการเรียกรถยนต์ไร้คนขับผ่านแอพ มากกว่าที่จะมีรถเป็นของตัวเอง และการที่ธุรกิจเป็นพาร์ทเนอร์กับ GM นั้น ทำให้ Lyft มีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจของตนนั้นเติบโตต่อไปได้

4.LeadGenius

d6

ภาพจาก goo.gl/Y1zhpH

LeadGenius เป็นธุรกิจช่วยวิเคราะห์ธุรกิจแบบ On-demand ที่ใช้วิธีผสมผสานระหว่างนักวิจัย กับเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) เพื่อช่วยให้ธุรกิจขยายฐานว่าที่ลูกค้า หรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมธุรกิจนั้น ๆ (Lead Generation) LeadGenius มีนักวิจัยจาก 40 ประเทศ และ 53% ของนักวิจัยเหล่านั้นนั้นมีดีกรีตั้งแต่ระดับวิทยาลัยหรือสูงกว่านั้นด้วยวิธีนี้

ทำให้ LeadGenius สามารถแซงหน้าคู่แข่งที่ใช้แต่เพียง Software อย่างเดียวได้ ข้อมูลว่าที่ลูกค้าจะถูกรวบรวมมาโดยใช้เทคโนโลยีล่าสุด แต่นักวิจัยจะมีบทบาทในการเลือกและคัดกรองว่าที่ลูกค้าที่มีคุณภาพ เพื่อทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าพวกเขาจะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และมีคุณภาพสูงที่สุด

5.Alfred

d10

ภาพจาก goo.gl/RkN6Jl

Alfred ธุรกิจสาย Sharing Economy ที่ให้บริการช่วยทำงานจิปาถะต่าง ๆ ในภาคครัวเรือน ในแอพของ Alfred จะเป็นการรวบรวมบริการต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้คนในท้องถิ่นสามารถให้บริการผ่านแอพได้ เช่น การไปจ่ายตลาด การรับซักแห้ง และทำความสะอาดบ้านด้วยแอพ Alfred

ผู้ให้บริการจะเรียนรู้ว่า ในเวลานั้น ๆ ลูกค้าต้องการบริการอะไร ค่าบริการอยู่ในช่วง 15-42 เหรียญต่อสัปดาห์ และ Alfred ก็ได้ขยายการให้บริการในเมืองใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น San Francisco, Los Angeles, Washington, D.C. และ Chicago นอกจากนี้ในอนาคตพวกเขาก็มีแผนขยายไปยังเมืองอื่น ๆ อีกด้วย

6.Instacart

d7

ภาพจาก goo.gl/pQtsjn

Instacart หรือบริการจ้างไปจ่ายตลาดแทน โดยธุรกิจนี้จะรวบรวมนักช็อปในท้องถิ่นที่ให้บริการ เพื่อไปซื้อและส่งของชำจากร้านค้าต่าง ๆ อาทิ Whole Foods, Target, Costco, และ Safeway ให้กับลูกค้าแม้ว่านักช็อปส่วนใหญ่จะเป็นผู้รับจ้างอิสระ (Independent Contractor)

แต่ก็มีบางพื้นที่ที่ Instacart เปิดโอกาสให้นักช็อปเหล่านั้นสามารถสมัครเป็นพนักงาน Part-time ได้ แม้ว่าธุรกิจกำลังไปได้ดี แต่การแข่งขันที่สูงขึ้นจากคู่แข่งอย่าง Amazon Prime Now และ Walmart Grocery บังคับให้ธุรกิจจำเป็นต้องตัดรายจ่ายบางอย่างออกไป

7.TaskRabbit

d8

ภาพจาก goo.gl/dvILST

TaskRabbit ให้บริการตั้งแต่ปี 2008 และกำลังขยายตัวไปตลาดใหม่ เพื่อผู้คนในท้องถิ่นสามารถนำเสนอบริการ จากความเชี่ยวชาญที่พวกเขามีได้ เช่น ช่วยขนย้ายสิ่งของ ทำความสะอาด ประกอบเฟอร์นิเจอร์ Ikea ซ่อมบ้าน และอื่น ๆ อีกมากมาย

และจำนวนผู้ใช้งานของ TaskRabbit มีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตัวอย่างในปี 2013 นั้นมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นสูงสุดกว่า 1.25 ล้านคน และปัจจุบันมีผู้รับจ้างอิสระเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอยู่ที่ 25,000 ราย

8.Google

d9

ภาพจาก goo.gl/VtcI1j

หลายคนมักคิดว่า Google ทำแต่ธุรกิจ Search Engine แต่แท้จริงแล้ว Google มีการซอยย่อยธุรกิจของตัวเองเช่นกันโดยจะเป็ฯการเข้าไปมีบทบาทในอุตสาหกรรมที่สร้างนวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย RideWith เป็นธุรกิจใช้รถร่วมกัน (Ride Sharing แบบ Uber และ Lyft) ซึ่งปัจจุบันกำลังทดสอบที่อิสราเอล แม้ RideWith มีทำงานคล้ายกับ Uber และ Lyft

แต่ต่างกันตรงที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ผ่านแพลตฟอร์มของ Waze เท่านั้น ใครก็ตามที่ต้องการใช้บริการรถเพื่อรับส่งไปยังจุดหมาย เพียงแค่เข้าไปที่กรอกข้อมูลการติดต่อไว้ จากนั้นแอพจะแสดงตำแหน่งคนขับในละแวกนั้นให้เรียกใช้บริการได้ทันที

อย่างไรก็ตามการเลือก1ใน8ผู้นำโลกธุรกิจออนไลน์มาเป็นแพลตฟอร์มในการทำธุรกิจตัวเองก็ต้องดูความเหมาะสมของตัวเองเป็นหลัก อีกทั้งเราต้องก้าวให้ทันตามกระแสของโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เชื่อว่าในอีก 2-3 ปีจากนี้จะต้องมีแอพตัวใหม่หรือผู้บริการรายใหม่เกิดขึ้นมา ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมวางแผนตลาดให้ดีโอกาสทำธุรกิจออนไลน์ก็จะเดินทางในสายนี้ได้นานและมีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วย


SMEs Tipc (ธุรกิจออนไลน์ทำแบบไหนถึงจะรวย)

  • หาสินค้าหรือรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับตัวเองให้เจอ
  • หาความรู้และเพิ่มเติมทักษะทางเทคโนโลยีตลอดเวลา
  • ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
  • รู้จักการประยุกต์ใช้การตลาดผสมผสานกับเทคโนโลยี

ทั้งนี้เรามีพื้นที่สำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ให้คนที่สนใจได้เข้ามาเปิดหน้าร้านโปรโมทสินค้าได้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจกับลูกค้าได้มีโอกาสพบกันมากขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ goo.gl/dJygD7

ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/JDXDlY

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด