8 ข้อผิดพลาดในการตั้งชื่อบริษัท!

“ ชื่อบริษัท ” เป็นส่วนประกอบเล็กๆ ที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลย เพราะมันเป็นส่วหนึ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของบริษัท และเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าสามารถจดจำบริษัทนั้นๆ ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่จะต้องตั้งใจตั้งชื่อบริษัทให้ออกมาดี

แต่มันก็ต้องมีเหตุผลและปัจจัยบางประการที่ทำให้การตั้งชื่อนั้นประสบความล้มเหลวหรือเกิดความผิดพลาดในการตั้งชื่อได้ ซึ่งใครบ้างล่ะที่จะนึกถึงว่าการตั้งชื่อนั้นมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และหากมีข้อผิดพลาดในการตั้งชื่อ จะส่งผลต่อบริษัทมากน้อยเพียงใด

ดังนั้นแล้วในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมข้อผิดพลาดในการตั้งชื่อบริษัทมาให้คุณผู้อ่านได้ศึกษา เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ในการตั้งชื่อบริษัท เผื่อในภายภาคหน้าคุณผู้อ่านบางคนอาจมีบริษัทเป็นของตัวเองค่ะ

1. มีคนมากมายมาออกความคิดเห็นในการตั้งชื่อ

ดูเหมือนว่าการตั้งชื่อบริษัทโดยขอคำปรึกษานั้นจะเป็นเรื่องที่ดีและมีสิ่งสำคัญที่ควรทำ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีปัญหาอยู่บ้าง อย่างแรกเลยก็คือท้ายที่สุดคุณก็ต้องเลือกชื่อแค่เพียงชื่อเดียว นั่นอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย่งกับคนที่มีส่วนร่วมในการตั้งชื่อบริษัทให้คุณ และเหตุผลที่สองก็คือท้ายที่สุดคุณอาจได้ชื่อที่แสนจะธรรมดา ไม่มีความโดดเด่นหรือมีความพิเศษแต่อย่างใด

ดังนั้นแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงกับปัญหาดังกล่าวนี้ จึงควรทำให้มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตั้งชื่อนี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวนี้ควรเป็นคนที่ไว้ใจได้ในเรื่องของการตั้งชื่อและเป็นผู้ที่เปิดใจรับฟังคนอื่น เพื่อที่คนนั้นๆ จะได้ออกความคิดเห็นและยังสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อที่จะได้ช่วยกันคิดชื่อบริษัทและชื่อนั้นจะได้ออกมาดีที่สุดนั่นเอง

2. ผสมคำแล้วออกมาดูไม่ดี

เจ้าของบริษัทบางคนอาจนำเอาคำที่มีความหมายดีๆ 2 คำมาผสมกันเพื่อให้เกิดความโดดเด่นและแปลกใหม่ แต่บางทีพวกเขาอาจจะลืมนึกไปว่ามันไม่ใช่ทุกคำที่เอามาผสมกันแล้วจะฟังดูดี ในทางตรงข้าม มันยังดูแปลกเกินไปอีกด้วยซ้ำ

ยกตังอย่างเช่นธุรกิจแฟรนไชส์ใช้ชื่อว่า “QualiServe.”หรือธุรกิจสปาใช้ชื่อว่า “TranquiSpa” ถ้าจะให้เปรียบเทียบ มันดูไม่ค่อยเข้ากันเท่าไหร่เหมือนทานช็อคโกแล็ตคู่กับซอสมะเขือเทศนั่นแหละ ดังนั้นหากอยากจะผสมคำจริงๆ ก็ควรจะคำนึงถึงความง่าย และความไพเราะควบคู่กันไปด้วยจะดีกว่า

52

ภาพจาก pixabay.com

3. ใช้ชื่อที่ไม่สร้างความโดดเด่นให้องค์กร

หากบริษัทของคุณมีคู่แข่ง คุณก็ต้องทำบริษัทของคุณให้มีความแตกต่าง โดดเด่น และง่ายต่อการจดจำ โดยส่วนหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ ดูโดดเด่นก็คือ “ชื่อ” นี่แหละ

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ Search engine ชื่อดังอย่าง “Yahoo!” ซึ่งถ้าหาก Yahoo! จะออกสู่สายตาสาธารณะชนภายใต้ชื่อ “GeneralInternetDirectory.com” มันก็อาจจะมีความหมายที่ดีกว่าก็จริง แต่มันก็เป็นชื่อที่ยาว และจำยากซะเหลือเกิน ดังนั้นแล้ว ตั้งชื่อให้สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความเข้าใจจะดีกว่า

และอีกเหตุผลหนึ่งที่ควรจะตั้งชื่อให้กระชับ จำง่าย ได้ใจความก็คือมันเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการโฆษณาหรือการทำสื่อแประชาสัมพันธ์ออกไปสู่สายตาประชานั่นเอง ซึ่งถ้าหากชื่อบริษัทนั้นสั้น เวลาผู้คนเห็นสื่อประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาก็จะให้ความสนใจและจำได้ง่ายกว่าชื่อที่ยาวๆ นั่นเอง

4. เอาชื่อสถานที่มาตั้งชื่อ

ในการก่อตั้งบริษัทใหม่นั้น หลายๆ ธุรกิจอาจตั้งชื่อบริษัทด้วยการเอาที่ตั้งของบริษัท เช่น เมือง หรือ รัฐ มาตั้งชื่อ ซึ่งมันก็อาจจะช่วยได้ในตอนแรกๆ แต่การตั้งชื่อในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ทั้งในด้านการเติบโตและการดึงดูดลูกค้า โดยในด้านของการเติบโตนั้น หากนำเอาชื่อของทำเลที่ตังมาเป็นชื่อของบริษัท

เมื่อต้องการขยายสาขาไปในต่างพื้นที่อาจเกิดปัญหาว่าลูกค้าเกิดความไม่คุ้นชิน ไม่คุ้นหู เพราะโลเคชั่นในชื่อร้านมันไม่ใช่พื้นที่ของสาขานั้นๆ ที่ตัวเองคุ้นเคย ทำให้ไม่เกิดการจดจำในธุรกิจนั้นๆ และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือหากลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ในระแวกใกล้เคียงกับร้าน เมื่อเห็นที่ตั้งของร้านอยู่ในชื่อแล้วก็อาจจะมีความลังเลอยู่ซักนิดที่จะเลือกใช้บริการธุรกิจนั้นๆ เพราะอาจเห็นว่ามันอยู่ไกล และไม่สะดวกในการเข้ารับบริการนั่นเอง

ชื่อบริษัท

ภาพจาก pixabay.com

5. ใช้คำได้น่าเบื่อ

ชื่อบางชื่อ เช่น พารวย หรือชื่อบริษัทที่ลงท้ายด้วยคำว่าพานิช มันอาจจะมีความหมายที่ดี แต่มันก็เป็นชื่อที่โหลเกินกว่าจะสร้างความโดดเด่นให้กับบริษัท!! ทำให้บริษัทนั้นดูจืดชืด กลืนไปกับบริษัทอื่น

และไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อีกอย่างหนึ่งคือชื่อโหลๆ เหล่านี้มันอาจทำให้ลูกค้าสับสนกับบริษัทอื่นก็เป็นได้ ดังนั้นแล้ว นอกจากจะตั้งชื่อให้สั้น จำง่ายแล้ว ยังต้องตั้งชื่อให้มีเอกลักษณ์และไม่ซ้ำกับบริษัทอื่นอีกด้วย

6. ใช้คำกำกวมจนลูกค้าไม่เข้าใจในชื่อบริษัท

มันเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่บริษัทจะใช้ชื่อที่มีความหมายเป็นพิเศษหรือน่าดึงดูด เพราะนั่นมันอาจทำให้เกิดเรื่องราวที่บ่งบอกตัวตนของบริษัทได้ แต่ว่า ถ้าหาชื่อนั้นมันดูกำกวม หรือสะกดยากจนเกินไป ลูกค้าก็อาจไม่จดจำชื่อแบรนด์นั้นๆ หรือบางทีมันอาจทำให้ทั้งลูกค้าและพนักงานในบริษัทสะกดชื่อบริษัทผิดจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นอีกบริษัทหนึ่งไปเลยก็ได้ และในท้ายที่สุด บริษัทก็จะเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์ไปซะเอง

50

ภาพจาก bit.ly/2NmD6Sh

7. ใช้ชื่อที่สะกดยากเกินไป

ส่วนหนึ่งของปัญหาในข้อนี้บางทีมันก็เกิดจากความต้องการที่จะจดโดเมนเนมของบริษัทนั่นแหละ โดยบางบริษัทถึงขั้นเปลี่ยนชื่อบริษัทให้ยากขึ้น หรือสะกดแปลกๆ ขึ้น ซึ่งไปๆมาๆ ชื่อแปลกๆ เหล่านั้นอาจทำให้ธุรกิจดูไม่น่าเชื่อถือเอาก็เป็นได้ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่ควรใช้ชื่อที่สะกดยากเกินไปก็คือ

หากใช้ชื่อที่ยากเกินไปอาจเกิดปัญหา “เขียนชื่อชื่อบริษัทผิด” ในการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ทำเอกสารสัญญาซื้อขายกับบริษัทคู่ค้า หรือการสั่งจ่ายเช็คเงินสด ซึ่งอาจเกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมาในภายหลังก็เป็นได้

แต่ถึงแม้ว่าการใช้ชื่อบริษัทที่จำยากจะก่อให้เกิดปัญหา แต่บางทีการสะกดผิดก็ไม่ได้ก่อปัญหาอะไรมากหากว่ามันยังมีชื่อที่สั้น จำง่าย เขียนง่าย เช่น แบรนด์ Xerox หรือ Kodak เป็นต้น

8. ชื่อเดิมแย่ แต่ลังเลที่จะเปลี่ยน

เจ้าของธุรกิจหลายคนรู้ดีว่าบริษัทของตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับชื่อแต่ก็ไม่คิดที่จะลงมือทำอะไรนอกจากตั้งความหวังว่ามันจะดีขึ้น แล้วก็ปล่อยผ่านมันไป ซึ่งอันที่จริงแล้วนี่เป็นเรื่องที่ผิดมหันต์! เพราะชื่อบริษัทที่มีปัญหา เช่นชื่อจำยาก สะกดผิด

หรือซ้ำกับบริษัทอื่น มันอาจก่อให้เกิดปัญหาอีกหลายประการตามมาได้ เช่น ปัญหาในการทำธุรกรรม หรือลูกค้าอาจไม่สามารถจำชื่อธุรกิจนั้นๆ ได้ นั่นเอง และหากปล่อยไว้เรื่อยๆ ปัญหานั้นๆ อาจพอกพูน และส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่บริษัทก็เป็นได้

ทั้งหมดนี้ก็พอจะสรุปได้ว่าการตั้งชื่อบริษัทนั้นควรตั้งให้สั้นๆ เขียนง่าย จำง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเขียนผิด หรือการเข้าใจผิดที่จะเกิดขึ้น และทำให้ลูกค้าจดจำชื่อบริษัทนั้นๆ ได้ง่ายอีกด้วย

และเมื่อชื่อนั้นเป็นที่จดจำได้ง่าย ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับบริษัทนั้นๆ ในการสร้างความรู้จักให้เกิดในตัวลูกค้าหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อชื่อของบริษัทนั้นจำง่าย อะไรๆ ก็จะดำเนินไปได้ง่ายขึ้นนั่นเอง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2E885O9

แหล่งที่มา

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต