8 ขั้นตอนเลือกซื้อแฟรนไชส์อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นช่องทางการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธุรกิจตามระบบแฟรนไชส์ ที่กำหนดโดยเจ้าของแฟรนไชส์เอง
โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะให้สิทธิ์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในการให้ใช้เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า ข้อมูลลับ และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของแฟรนไชส์
ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี จะต้องเป็นธุรกิจที่พิสูจน์แล้วว่า สามารถทำกำไรได้ และคืนทุนได้ ต้องสามารถพิสูจน์ได้ด้วยในตัวของธุรกิจนั้นๆ เช่น มีแบรนด์ได้รับความนิยม มีสูตรลับที่ถ่ายทอดได้ และมีระบบการบริหารจัดสาขาที่มีมาตรฐาน
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 8 ขั้นตอน ในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) เชื่อว่าน่าจะเป็นความฝันของหลายคน ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยไม่เสียเวลาสร้างธุรกิจเอง
1.หาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ชอบ
ก่อนอื่นเลยต้องถามตัวเองว่า สนใจธุรกิจประเภทไหน เพราะแฟรนไชส์แบ่งออกเป็นหลายธุรกิจ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จึงต้องรู้ว่าตัวเองชอบหรือสนใจธุรกิจประเภทใด แล้วศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
ทั้งจากเจ้าของแฟรนไชส์ เว็บไซต์ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ สมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ รวมถึงสถาบันการเงิน และงานแสดงสินค้าแฟรนไชส์ต่างๆ ที่สำคัญผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ควรหาโอกาสทดลองซื้อสินค้าหรือใช้บริการแฟรนไชส์ที่สนใจด้วย
2.มองหาทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์
ปัจจุบันทำเลถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษา มองหาทำเลที่มีศักยภาพไว้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ เพราะบางแฟรนไชส์จะพิจารณาก่อนว่า ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์มีทำเลหรือไม่ แต่บางแฟรนไชส์ช่วยประสานเรื่องทำเลเพื่อผู้ลงทุน รวมถึงสามารถนำเสนอทำเลที่ดี สำหรับผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ด้วย
3.ติดต่อพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์
หลังจากมีทำเลที่ตั้งในดวงใจแล้ว ควรเลือกแฟรนไชส์ในดวงใจมาอย่างน้อย 3 แฟรนไชส์ จากนั้นลองติดต่อขอข้อมูลสอบถามรายละเอียดในการลงทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการแบ่งผลตอบแทน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
4.วิเคราะห์เปรียบเทียบแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์
ให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ลองวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ทั้งรูปแบบการลงทุน ยอดเงินที่ต้องใช้ในการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ สัดส่วน และวิธีการแบ่งผลตอบแทน รวมถึงระยะเวลาในการคืนทุนของแฟรนไชส์แต่บะแบรนด์หลังจากพูดคุยแล้ว
5.เริ่มดำเนินการเจรจาซื้อแฟรนไชส์ที่เลือก
มาถึงตอนนี้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์คงมีข้อมูลเพียงพอ จนสามารถตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการของตัวเองได้ จากนั้นควรเริ่มเจรจาเพื่อซื้อแฟรนไชส์ นำข้อมูลเชิงลึกมาประกอบการตัดสินใจ
สอบถามแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์แบรนด์นั้นๆ ทั้งยังดำเนินธุรกิจอยู่และเลิกกิจการไปแล้ว รวมถึงเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน และกระบวนการบริหารจัดการร้านค้าแฟรนไชส์ โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ให้ละเอียด มีความเป็นธรรมกับแฟรนไชส์ซีหรือไม่
6.หาแหล่งเงินลงทุน
ถ้าหากผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ไม่เงินทุนส่วนตัวมากพอ อย่างแรกต้องพิจารณว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจนั้น ต้องใช้วงเงินในการลงทุนมากน้อยแค่ไหน ทั้งแต่ช่วงก่อตั้งกิจการ รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในกิจการ
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องประเมินเงินทุนส่วนตัว หรือเงินเก็บที่คุณมี อย่างน้อยๆ ควรมีประมาณ 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วพบว่าต้องการเงินลงทุนส่วนเพิ่ม ในขั้นตอนนี้ให้ก็ลองปรึกษาธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยสินเชื่อให้หับธุรกิจแฟรนไชส์
7.ดำเนินการของสินเชื่อ
ปัจจุบันมีหลานธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ โดยจะมีวงเงิน คิดอัตราดอกเบี้ยให้เสร็จสรรพ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการพิจารณาและคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์การันตี หรือค้ำประกันให้)
ก็จะได้รับการเดินเรื่องขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้นๆ ได้เลย โดยแต่ละธนาคารจะมีรายชื่อธุรกิจแฟรนไชส์หลากหลายแบรนด์เข้าร่วมโครงการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ผ่านการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์
เลือกเลย! 100 ธุรกิจแฟรนไชส์ ลงทุนไม่เกิน 50,000 (โครงการสร้างอาชีพเพื่อผู้มีรายได้น้อย)
8.เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ
หลังจากได้รับการคัดเลือกจากเจ้าของแฟรนไชส์แล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเข้ารับการฝึกอบรมการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ต่างๆ กำหนดไว้ รวมถึงสรรหาบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ
กรณีประสบปัญหาด้านบุคลากร ทางแฟรนไชส์ซอร์หลายๆ แบรนด์จะช่วยดำเนินการสรรหา และฝึกอบรมบุคลากรให้เลย โดยในช่วงแรกของการดำเนินกิจการ เกือบทุกแฟรนไชส์จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ มาช่วยดูแลและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการ เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงให้แฟรนไชส์ซี หากเกิดปัญหาก็สามารถขอคำปรึกษาจากแฟรนไชส์ซอร์ได้ตลอดเวลา
ทั้งหมดเป็น 8 ขั้นตอนในการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องแฟรนช์มาก่อน เพียงแต่ถ้าสนใจลงทุนแล้ว ก็ค่อยศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อให้ได้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ และมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
Franchise Tips
- หาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ชอบ
- มองหาทำเลที่ตั้งแฟรนไชส์
- ติดต่อพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์
- วิเคราะห์เปรียบเทียบแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์
- เริ่มดำเนินการเจรจาซื้อแฟรนไชส์ที่เลือก
- หาแหล่งเงินลงทุน
- ดำเนินการของสินเชื่อ
- เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2ErS34o