8 ขั้นตอน สร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ

สร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ นั้นควรเตรียมการวางแผนและการดำเนินงานที่เป็นขั้นตอน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง และสามารถขยายสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดู 8 ขั้นตอนสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ มีอะไรบ้าง?  

สร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ

1. วิเคราะห์โครงสร้างและแนวคิดธุรกิจ

  • วิเคราะห์ภาพรวมตลาดแฟรนไชส์ เพื่อดูว่าสินค้าหรือบริการมีความน่าสนใจแค่ไหน ตอบโจทย์ตลาดได้หรือไม่
  • ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการขยายธุรกิจ มีข้อได้เปรียบในตลาด เช่น คุณภาพ มาตรฐาน ราคา เอกลักษณ์

2. พัฒนาระบบธุรกิจให้เป็นมาตรฐาน

  • พัฒนาระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน สามารถนำไปใช้ในทุกสาขา เช่น การผลิต การบริการลูกค้า และบริหารจัดการ
  • สร้างคู่มือการปฏิบัติงานที่ละเอียด เข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อให้แฟรนไชส์ซีแต่ละสาขานำไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

3. เตรียมเอกสารและจดทะเบียนทางกฎหมาย

  • จัดเตรียมเอกสารทางกฎหมาย เช่น การจดทะเบียนธุรกิจ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการเตรียมสัญญาแฟรนไชส์ (Franchise Agreement) มีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิ์ และหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เช่น โลโก้ ชื่อแบรนด์ และสูตรการผลิตสินค้า

4. สร้างรูปแบบการลงทุนและการสนับสนุน

  • สร้างรูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ สมเหตุสมผลสำหรับผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า, Royalty Fee, Marketing Fee, ค่าประกัน เงินค่าค่อสัญญา รวมถึงงบการลงทุนรวม
  • พัฒนาระบบการฝึกอบรม และสนับสนุนแฟรนไชส์ซี เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น

สร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ

5. กำหนดคุณสมบัติและคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

  • กำหนดคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น เป็นนิติบุคคล, ความพร้อมทางการเงิน, มีประสบการณ์, มีทำเลพร้อมเปิดร้าน, มีความตั้งใจทำธุรกิจ เป็นต้น
  • รับสมัครและคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีความเหมาะสม และมีความพร้อมในการลงทุนแฟรนไชส์

6. สร้างกลยุทธ์การตลาดพัฒนาแฟรนไชส์

  • วางแผนการตลาดที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจและสาขาแฟรนไชส์ กำหนดวิธีการโปรโมตและการสร้างแบรนด์ดึงดูดลูกค้า
  • สนับสนุนการตลาดแฟรนไชส์ซี เช่น โปรโมชั่น กิจกรรมส่งเสริมการขาย การโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆ กระตุ้นการขาย

7. ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพมาตรฐาน

  • ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการในทุกสาขา เพื่อให้แน่ใจว่าแฟรนไชส์ซีสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
  • สร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) และให้คำแนะนำ หรือการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

8. ขยายธุรกิจและสร้างความสัมพันธ์

  • เมื่อธุรกิจแฟรนไชส์เริ่มเติบโต ควรวางแผนการขยายธุรกิจอย่างเป็นระบบ โดยหาผู้ลงทุนใหม่ และขยายไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  • อย่าลืมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแฟรนไชส์ซี เช่น เปิดเผยข้อมูลสารที่ถูกต้อง สื่อสารอย่างเปิดเผย ให้ความช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีในการแก้ปัญหา และพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้การเติบโตที่ยั่งยืน มั่นคง

สรุปก็คือ การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างมีระบบ ควรวางแผนและดำเนินการในหลายด้าน ตั้งแต่การพัฒนาสินค้าและบริการ การสร้างระบบมาตรฐาน การคัดเลือกแฟรนไชส์ซี ไปจนถึงการขยายธุรกิจอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ในกระบวนการต้องมีการควบคุมคุณภาพและตรวจสอบมาตรฐานต่อเนื่อง เพื่อให้แฟรนไชส์ซีทุกสาขาดำเนินธุรกิจสำเร็จตามเป้าหมาย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช