8 เทคนิคเลือก Co-founder สำหรับธุรกิจ Startup
ปัจจุบันต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมไอทีมีการเติบโตสูง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดคนที่มีไอเดีย และความฝันที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ได้ออกมาตั้งบริษัท Startup เพื่อทำความฝันให้เป็นความจริง
แต่การเริ่มต้นทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยข้อจำกัดเรื่องเงินทุน บางทีเราไม่สามารถจ้างคนเก่งมาช่วยทำงานได้เหมือนบริษัทใหญ่ ที่มีเงินจ้างพนักงานเงินเดือนสูงๆ ได้ จึงจำเป็นต้องหาคนมาร่วมฝัน เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจของเรา
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีเคล็ดลับ เทคนิคเลือก Co-founder ที่เหมาะสม เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท มาฝากให้ผู้กำลังเริ่มต้นธุรกิจ Startup นำเอาไปเป็นแนวทางหาร่วมก่อตั้งบริษัทครับ
1.มีวิสัยทัศน์ที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
ภาพจาก freepik.com
Co-founder จะต้องมีความเข้าใจในตัวธุรกิจพอๆ กัน และมองเห็นอนาคตของกิจการเหมือนกัน เพราะถ้าเข้าใจเหมือนกัน ก็จะมีความอินในธุรกิจ ซึ่งความอินจะนำมาสู่ความทุ่มเทและการอุทิศตัวเองเพื่อกิจการ
2. มองเป้าหมายของธุรกิจเหมือนๆ กัน
ภาพจาก freepik.com
ไม่ใช่ทุกคนคาดหวัง อยากสร้างกิจการเป็นอาณาจักรที่มีขนาดใหญ่โต ซึ่งต้องการความทุ่มเทและการเสียสละสูง บางคนก็อยากมีกิจการที่มีขนาดพอเหมาะกับกำลังของตัวเอง อาจจะทำเพื่อความสนุก สามารถทำงานแบบชิลล์ๆ สบายๆ ได้
ไม่ซีเรียสกับมันมากนัก ถ้า Co-founder มองเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน ระดับความทุ่มเทและการอุทิศตัวเอง เพื่อกิจการก็จะต่างกัน และมีโอกาสที่จะนำไปสู่การแยกทางกันในที่สุด
3. การอุทิศตัวเองเพื่อกิจการ
ภาพจาก freepik.com
Co-founder ทุกคน ควรจะมี Commitment อยู่ในระดับเดียวกัน มีความทุ่มเทเพื่อกิจการ พอๆ กัน ซึ่งเป็นเรื่องที่สืบเนื่องต่อมาจากข้อ 1 กับข้อ 2 รวมกับ ภาระหน้าที่ในชีวิตที่มีอยู่ของแต่ละคน
ถ้า Co-founder คนหนึ่ง มองกิจการสำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด พร้อมจะทุ่มเทชีวิตเพื่อกิจการนี้ ในขณะที่ Co-founder อีกคนมีครอบครัว มีภาระที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว ต้องการชีวิตแบบ Work Life Balance อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้ หรือถ้าคนหนึ่ง ต้องการสร้างมูลค่าของกิจการให้เติบโตอย่างรวดเร็ว แล้วขายทิ้งใน 1-3 ปี
ขณะที่อีกคน ต้องการสร้างกิจการที่สร้างรายได้ยั่งยืน อยู่ได้ด้วยตัวเองไปอีกสิบๆ ปี ก็อาจทำให้มีการอุทิศตัวเองในระดับที่แตกต่างกันได้ ถ้าทุกคนมีระดับความทุ่มเทและการอุทิศตัวเอง เพื่อกิจการที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง และจะเกิดอารมณ์ประมาณว่าเราทำเต็มที่ แต่คนอื่นทำไมไม่เต็มที่เหมือนที่เราทำ และนำไปสู่การแยกทางกันได้เช่นกัน
4. มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน
ภาพจาก freepik.com
Co-founder แต่ละคน ควรมีทักษะความสามารถที่ส่งเสริมเติมเต็มกัน เพื่อช่วยเหลือกิจการในสิ่งที่ขาด เช่น เมื่อกิจการมีคนที่เก่งเรื่องการสร้าง Product ก็ควรต้องมีคนที่ทำการตลาดและการขายอยู่ด้วย ถึงจะเป็นทีมที่ลงตัว เหมาะกับการก่อร่างสร้างตัวของกิจการ
5. สไตล์การทำงานของแต่ละคน
ภาพจาก freepik.com
Co-founder บางคนมีสไตล์การทำงานที่ชอบลงรายละเอียด ลงมาบริหารจัดการด้วยตัวเองทุกเรื่อง ในขณะที่บางคนอาจไม่ใส่ใจในรายละเอียดเลย แต่สามารถมองภาพกว้าง มีความคิดทางธุรกิจกว้างไกลและเฉียบคม ซึ่งธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีคนทั้งสองแบบอยู่ในทีมผู้ร่วมก่อตั้ง
6. Co-founder เหมือนเลือกคู่ชีวิต
ภาพจาก freepik.com
Co-founder เป็นทีมผู้สร้างธุรกิจที่ต้องทำงานด้วยกันไปอีกนาน เหมือนเลือกคู่ชีวิตหรือแฟน ที่จะต้องอยู่ด้วยกันไปนานๆ ตั้งแต่สร้างเนื้อสร้างตัวจนถึงการมีรากฐานที่มั่นคงแน่นอน
เวลาจะเลือกใครมาร่วมสร้างกิจการกับเรา อย่าได้ใจร้อน ให้ค่อยๆ พิจารณา ดูนิสัยใจคอไปด้วยว่าเข้ากันได้ดีมากน้อยแค่ไหน เพราะเมื่อตกลงร่วมลงเรือลำเดียวกันแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับการแต่งงานกัน จะเลิกกันก็ยุ่งยากและสร้างความลำบากใจให้แก่กัน
7. อย่าเลือก Co-founder เพราะมีเงิน
ภาพจาก freepik.com
ธุรกิจต้องขับเคลื่อนด้วยคนทำงาน และคนทำงานเท่านั้นที่คู่ควรมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารกิจการ ถ้าให้อำนาจการบริหารกิจการกับคนให้เงินมากเกินไป เราอาจจะต้องยอมเขาด้วยเหตุผลว่าเขาให้เงิน ไปจนถึงการมีบุญคุณต่อกัน
ทำให้กิจการอาจจะไม่เติบโตไปในแนวทางที่ทีมผู้ก่อตั้งต้องการ และอาจจะเจ๊งในที่สุด ควรจำกัดหน้าที่ของคนให้เงินทุน ให้มีเพียงการกำกับการใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวังเท่านั้น เพราะการใช้เงินให้เป็น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากกับกิจการ Startup
8. Startup ต้องไม่พึ่งพาใครคนหนึ่งเป็นพิเศษ
ภาพจาก freepik.com
ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นภายในทีมผู้ก่อตั้งได้ตลอดเวลา ไม่ควรให้อำนาจใครคนใดคนหนึ่งมากเกินไป เพราะถ้ามีปัญหากับคนคนนั้น ธุรกิจอาจมีปัญหาถึงขั้นล้มได้ เพื่อป้องกันกิจการโดยรวมไม่ให้มีปัญหาสะดุดในการบริหาร
เริ่มต้นไม่ควรแบ่งหุ้นให้ Co-founder เยอะตั้งแต่แรก แต่ใช้วิธีเพิ่มสัดส่วนหุ้นให้เมื่ออยู่นานขึ้น เช่น ปีแรกให้ 5% ปีต่อไปค่อยเพิ่มเป็น 10% และถ้าอยู่ทำงานเกิน 4 ปีขึ้นไป ก็ค่อยเพิ่มเป็น 20% ไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม
ทั้งหมดเป็น 8 วิธีในการเลือก Co-founder มาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ Startup โดยหัวใจสำคัญต้องเลือกผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจที่มองธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเห็นด้วย อีกคนไม่เห็นด้วย
ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงคนที่ไม่มองธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน เพราะจะเกิดความขัดแย้งตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจ และต้องมองผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจเป็นเหมือนคู่ชีวิต รู้จักแบ่งหน้าที่กันทำงาน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งธงเอาไว้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
SMEs Tips
- มีวิสัยทัศน์ที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
- มองเป้าหมายของธุรกิจเหมือนๆ กัน
- การอุทิศตัวเองเพื่อกิจการ
- มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่แตกต่างกัน
- สไตล์การทำงานของแต่ละคน
- Co-founder เหมือนเลือกคู่ชีวิต
- อย่าเลือก Co-founder เพราะมีเงิน
- Startup ต้องไม่พึ่งพาใครคนหนึ่งเป็นพิเศษ
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)