7 แบรนด์ค้าปลีก-ฟาสต์ฟู้ดอเมริกา พลิกวิกฤติกลับมาได้อย่างยิ่งใหญ่

หลายครั้งที่แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกเกิดปัญหาขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องหนี้สิน ยอดขาย การตลาด ลูกค้าเมิน เรียกได้ว่าเจออุปสรรคจนถึงขั้นติดขัด ไปไม่เป็นแต่ แบรนด์ค้าปลีก – ฟาสต์ฟู้ดอเมริกาชื่อดังเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้อย่างมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่หลายๆ แบรนด์ในโลกกลับไม่สามารถที่จะหวนกลับคืนมาได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปดูเรื่องราวของ 7 แบรนด์ธุรกิจค้าปลีกและฟาสต์ฟู้ดชื่อดังของอเมริกา ที่เคยประสบปัญหาจนส่งผลต่อธุรกิจ แต่สุดท้ายก็พลิกฟื้นธุรกิจกลับคืนมาอย่างยิ่งใหญ่จนถึงปัจจุบัน

1. Abercrombie & Fitch

แบรนด์ค้าปลีก

ภาพจาก bit.ly/2MtvmhC

ร้านค้าปลีกเสื้อผ้าแนวเท่ๆ ของวัยรุ่นอเมริกา อย่าง Abercrombie & Fitch ในช่วงที่ผ่านมากำลังปิด 60 สาขาในสหรัฐฯ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรกสำหรับ Abercrombie & Fitch เพราะนับตั้งแต่ปี 2013 ตัวเลขจำนวนสาขาทยอยลดลงมาเรื่อยๆ จากกว่า 800 สาขา กระทั่งปัจจุบันเหลืออยู่ 674 สาขา

ผู้บริหารของ Abercrombie & Fitch ชี้แจงว่าเป็นผลจากการแข่งขัน ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายมากเกินไป ทำให้กำไรขั้นต้นต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพยายามปรับแบรนด์ให้ดูทันสมัยขึ้น และออกแบบสาขาโฉมใหม่ให้ดูสดใส ปรับร้านให้มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม เพื่อให้แบรนด์นี้ยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งได้รับความจากผู้บริโภคอีกครั้ง

2. Pabst Blue Ribbon

35

ภาพจาก bit.ly/2ZoJQ7H

Pabst Blue Ribbon เป็นเบียร์แบบอเมริกันที่ขายโดย Pabst Brewing Company ก่อตั้งขึ้นในมิลวอกี รัฐวิสคอนซิน ในปี 1844 และปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา แต่ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 20

จนกระทั่ง Pabst Blue Ribbon ใช้กลยุทธ์การตลาดสนับสนุนเป็นสปอนเซอร์ให้กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น เทศกาลดนตรี การแข่งจักรยาน จัดประกวดงานออกแบบลายกระป๋อง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ งานอะไรทีมันอิินดี้ๆ pbr ขอมีส่วนร่วมหมด pbr เลยกลายเป็นเบียร์แมสที่ทำตัวไม่แมส แต่ทำตัวเหมือนเบียร์อินดี้ เหมือนคราฟต์เบียร์

ในที่สุด Pabst Blue Ribbon ฟื้นคืนชีพกลับมาขายดีได้ เพราะทำตัวเป็นมิตรกับคนรุ่นใหม่ ไม่ทำตัวเป็นยักษ์หิวเงินแบบเบียร์แมสตัวอื่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200% กลายเป็นเบียร์ที่ขายดีอันดับที่ 16 ของสหรัฐได้สำเร็จ

3. Starbucks

34

ภาพจาก bit.ly/34XB2Xm

สตาร์บัคส์ (Starbucks) เป็นร้านกาแฟจากอเมริกาในเมืองซีแอตเทิลในรัฐวอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1971 โดย กอร์ดอน โบว์เกอร์, เจอร์รี บัลด์วิน และเซฟ ซีเกิล โดยช่วงแรกใช้โลโก้เป็นรูปไซเรน 2 หาง ก่อตั้งในฐานะร้านขายเมล็ดกาแฟคั่ว ต่อมาปี 1982 สตาร์บัคส์มีสาขา 5 สาขา และโฮเวิร์ด ชูลทส์ได้เข้ามาร่วมงานด้วย โดยดูแลด้านการตลาดและค้าปลีก

หลังจากที่ โฮเวิร์ด ชูลทส์ เป็นเจ้ของสตาร์บัคส์ กระทั่งในปี 1996 โฮเวิร์ด ชูลทส์ ตัดสินใจแล้วว่า Starbucks จะไม่ใช่ร้านกาแฟที่อยู่ในประเทศสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการกลายเป็นร้านกาแฟของคนทั้งโลก เขาจึงตัดสินใจบุกที่ประเทศญี่ปุ่นก่อน จากนั้นก็ไปที่ประเทศสิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, เนเธอร์แลนด์, สวีเดนและอิสราเอล และเขายังประกาศในปี 2005 ว่า เขาจะขยายสาขาให้ได้มากกว่า 1 หมื่นสาขา

แต่ก็ดูเหมือนทุกอย่างจะไปได้ดีจนกระทั่งในปี 2008 เกิดวิกฤตซับไพรม์หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตกต่ำอย่างหนัก ผู้คนจึงหันไปดื่มกาแฟราคาถูก ทำให้กำไรของสตาร์บัคส์ตกลงไปกว่า 28 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ต้องปิดตัวสาขาลงกว่า 900 สาขา และสั่งปลดพนักงานกว่า 6,700 คน

แต่ฮาวเวิร์ดกลับพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการจัดโครงการ “My Starbucks Idea” ให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าและบริการสตาร์บัคส์ ทำให้ฮาวเวิร์ดสามารถดึงไอเดียต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการพัฒนาในครั้งนี้ ก็ยังสามารถเรียกลูกค้าให้กลับมาสนใจในสตาร์บัคส์ได้อีกครั้ง ที่สำคัญไม่ขยายสาขาแบบรวดเร็วเหมือนแต่ก่อน

4. Arby’s

33

ภาพจาก bit.ly/2t7PMpp

กลุ่มร้านอาหารของ Arby, Inc. (ARG) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Inspire Brands ก่อตั้งในปี 2018 โดยมี Paul Brown เป็นซีอีโอ ปัจจุบันเป็นบริษัทแม่ของแบรนด์ฟาสต์ฟู้ด Arby’s, Buffalo Wild Wings, Sonic Drive-In, Jimmy John’s และ Rusty Taco

Paul Brown เป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูง ที่เปลี่ยนโลกของธุรกิจค้าปลีก ไม่เพียงแต่งานของเขากับ Arby แต่เขาได้ซื้อ Buffalo Wild Wings ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2018 ซึ่งเขาวางแผนที่จะจัดโครงสร้างบริษัท คล้ายกับ Hilton Hotels & Resorts หลังจากนั้นได้ซื้อกิจการ Sonic Drive-In, Jimmy John’s และ Rusty Taco ตามลำดับในช่วงปี 2019

5. Buffalo Wild Wings

32

ภาพจาก bit.ly/2ZqRK08

Buffalo Wild Wings เป็นร้านอาหารแบบอเมริกันแบบสบายๆ เป็นลักษณะของแฟรนไชส์สปอร์ตบาร์ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดียเม็กซิโก โอมาน ปานามา ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม

หลังจากที่ Paul Brown ซีอีโอ Inspire Brands ได้พลิกฟื้น Arby’s ในช่วงปี 2018 เขาก็ได้ซื้อ Buffalo Wild Wings ที่กำลังประสบปัญหา และได้แนะนำเมนูใหม่ๆ และออกแบบเครื่องแต่งกายพนักงานใหม่ จนได้รับความนิยมจากลูกค้า ในส่วนของ Paul Brown นั้น เขายังมีนโยบายในการซื้อกิจการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดต่อไปในอนาคต

6. Applebee’s

31

ภาพจาก bit.ly/2tTKXAH

Applebee’s เป็นร้านอาหารหาสต์ฟู้ดแนว Grill & Bar หลังจากประสบปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ก็ได้กลุ่มบริษัท Dine Brands Global เข้ามาซื้อกิจการสร้างการเติบโตได้อย่างร้อนแรง มีทั้งการปิดสาขาที่ยอดขายตก และเปิดสาขาใหม่

การเปิดสาขาของ Applebee จะเปิด 10 ถึง 15 แห่ง ซึ่งการปิดตัวล่าสุดในปี 2561 เป็นไปตามกระแสที่มั่นคงในปี 2560 เมื่อ 99 ร้านอาหารของ Applebee ปิดตัวลง ก็จะมีการเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย สตีเฟ่นจอยซ์ ซีอีโอของ Dine Brands Global กำลังหาซื้อเชนร้านฟาสต์ฟู้ดในระดับภูมิภาค มุ่งเน้นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเพื่อสุขภาพหรืออาหารชาติพันธุ์ โดย Dine Brands วางแผนในการใช้จ่ายมากถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อกิจการ ตั้งแต่ครั้งแรกช่วงปลายปี 2018 หรือต้นปี 2019 ซึ่งเชนร้านอาหารที่กำลังพิจารณามีกว่า 100 แห่ง

7. McDonald’s

30

ภาพจาก bit.ly/35XCzOt

วิกฤติการเงินในปี 2007 ของสหรัฐอเมริกา นับเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 80 ปี ส่งผลกระทบเชนร้านอาหารยักษ์ใหญ่จำนวนมาก และ แมคโดนัลด์ ก็เป็นหนึ่งในเชนร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบ ในช่วงนั้น แมคโดนัลด์ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของทุนนิยมอเมริกัน แต่แมคโดนัลด์พลิกฟื้นด้วยการขายอาหารคุณภาพ ราคาถูก และแม้ว่าแมคโดนัลด์จะมีจำนวนสาขามากมายทั่วโลก แต่แมคโดนัลด์ไม่ได้เสิร์ฟอาหารแบบเดียวกันทั่วโลก

กล่าวคือ แมคโดนัลด์จะมีเมนูพิเศษสำหรับผู้คนในท้องถิ่นเสมอ ในเอเชียด้วยกันเอง เมนูแมคโดนัลด์ในญี่ปุ่นและอินเดียก็มีความแตกต่างกันมาก แมคโดนัลด์ในกรุงนิวเดลีมีเมนูพิเศษอย่างแซนด์วิช มันฝรั่ง ซึ่งหากินได้ยากในประเทศอื่นๆ ในขณะที่เมนูที่ขายในญี่ปุ่นอย่างเบอร์เกอร์ สเต็กกุ้ง และสลัดนั้น ก็ไม่ได้มีขายในอินเดีย

อีกอย่างคือ แมคโดนัลด์นั้นไม่ได้ส่งออกวัฒนธรรมเบอร์เกอร์แบบอเมริกัน ดังที่เคยเชื่อกันอีกต่อไปแล้ว หากแต่ขายเบอร์เกอร์ท้องถิ่นในราคาที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ยังมีความได้เปรียบจากการบริหารจัดการความเสี่ยง ในระดับโลกที่ดีอีกด้วย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แม้โลกจะต้องเจอกับวิกฤติราคาอาหารถึง 3 ครั้ง แต่ด้วยเครือข่ายที่กว้างขวางและอำนาจซื้อในระดับโลก แมคโดนัลด์ก็สามารถจัดการปัญหาได้อย่างราบรื่น

ทั้งหมดเป็น 7 แบรนด์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด และร้านค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา ที่ก่อนหน้านี้ประสบปัญหาวิกฟติหลายอย่าง จนกระทั่งมีการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินงาน รวมถึงผู้บริหาร จนกระทั่งกลับมาได้อย่างยิ่งใหญ่จนถึงวันนี้


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล
https://bit.ly/2SsN9cK

แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/2SxOoHp

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช