7 เทคนิคแฟรนไชส์ของทอดควรรู้! ทอดยังไงให้กรอบทน กรอบนาน ขายดีมากขึ้น
ทำไมเวลาพูดถึงของทอดทานเล่นแล้วเรารู้สึกอยากกินขึ้นมาทันที? นั่นเพราะสีเหลืองทองที่เห็นทางวิทยาศาสตร์บอกว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร เป็นสีของความสดใส ร่าเริงทำให้เรา Enjoy กับการกินได้มากขึ้น และอาหารทอดๆเหล่านี้ก็เรียกได้ว่าเป็น Complete Meal ที่เติมเต็มความสมบูรณ์ในการรับประทาน ได้อย่างแท้จริง
แต่ปัญหาที่เจอส่วนใหญ่คือ ของทอดดันไม่กรอบจริง หรือกรอบแค่ตอนร้อน จะมีวิธีอย่างไรที่จะช่วยทำให้ของทอดของเรากรอบทนกรอบนาน เพราะหากทำได้มันคือเคล็ดลับที่จะทำให้เราขายดีมากขึ้นด้วย
7 เคล็ดลับควรรู้! ทอดยังไงให้กรอบทน กรอบนาน
1.เลือกใช้น้ำมันที่ทนความร้อนได้สูง
การทอดจำเป็นต้องใช้น้ำมันในปริมาณมาก และใช้อุณภูมิที่สูง น้ำมันทอดที่ใช้จึงควรมีคุณสมบัติทนความร้อนสูง เกิดควันได้ยาก เพราะหากมีจุดเกิดควันที่ต่ำ เท่ากับว่าน้ำมันที่เราใช้ไม่ทนความร้อน จะทำให้มีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งได้มากกว่าน้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง น้ำมันที่เหมาะนำมาทอด คือน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันรำข้าว
2.อุณหภูมิในการทอด
อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการทอด คือ 170 – 210 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้อาหารไหม้และน้ำมันก็เสื่อมสภาพเร็ว ถ้าอุณหภูมิที่ต่ำเกินไปจะทำให้อาหารไม่สุกและอมน้ำมัน ซึ่งถ้าร้านเราขายเมนูของทอดได้ปริมาณมากต่อวัน แนะนำให้ใช้หม้อทอด เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิได้คงที่มากที่สุด
3.จดบันทึกระยะเวลาในการทอดที่เหมาะสม
ระยะเวลาในการทอดมีส่วนสำคัญกับความกรอบ ถ้าเราทอดน้อยเกินไป แป้งจะกรอบไม่นาน แต่ถ้าเราทอดนานเกินไป แป้งก็จะไหม้ สีไม่สวยและขม ดังนั้นระยะเวลาในการทอดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการทอดแต่ละครั้งควรจับเวลาเพื่อหาค่าเฉลี่ยของเมนูทอดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความสม่ำเสมอ ในทุกๆครั้งที่ทอด แล้วจดเป็นข้อมูลให้ชัดเจน
4.จัดการความชื้นของอาหารที่นำมาทอด
อาหารยิ่งมีความชื้นมากเท่าไหร่ ระยะเวลาที่จะคงความกรอบหลังทอดยิ่งสั้น เพราะอาหารทอดแล้วจะคายความชื้นออกมา เมื่อแป้งได้รับความชื้นก็จะนิ่มลง หรือแม้กระทั่งรีบบรรจุอาหารทอดใส่ถุงในขณะร้อน ก็จะทำให้เกิดไอน้ำหยดลงมาที่ตัวแป้ง ความกรอบจึงลดลงด้วยเช่นกัน ที่สำคัญไม่ควรใช้ส้อมจิ้มระหว่างทอด เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้อาหารสุกเร็วขึ้นแล้ว จะทำให้อาหารเสียความชื้นจนแข็งกระด้าง และอาจทำให้น้ำมันแทรกซึมเข้าไปด้านใน ส่งผลให้อมน้ำมันและกรอบได้ไม่นาน
5.วัตถุดิบที่ทอดควรให้อุณหภูมิใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง
วัตถุดิบที่จะนำมาทอด ควรทำให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงอุณหภูมิห้องก่อน หากแช่เย็นหรือฟรีซเอาไว้ ควรนำออกมาพักให้ละลายก่อน แถมยังช่วยลดน้ำมันกระเด็นได้ด้วย
6.ขนาดและปริมาณของอาหาร
ในแต่ละครั้งที่ทอด ควรเลือกชิ้นอาหารที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อให้ความร้อนจากน้ำมันกระจายได้ทั่วถึง ในทุกๆชิ้น ถ้าขนาดของชิ้นอาหารไม่เท่ากัน เวลาทอดของชิ้นเล็กจะกรอบเหลืองก่อน ในขณะที่ของชิ้นใหญ่ จะยังไม่สุกกรอบ ของทอดจึงมีความกรอบไม่สม่ำเสมอกัน และถ้าปริมาณในการทอดแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ระยะเวลาในการทำให้อาหารสุกกรอบก็ไม่เท่ากันด้วยเช่นกัน
7.หยดน้ำส้มสายชูในน้ำมันช่วยให้กรอบนานขึ้น
เทคนิคการทอดที่หลายคนอาจไม่รู้คือการหยดน้ำส้มสายชูลงในน้ำมันที่จะทอดเล็กน้อย จะทำให้เมนูทอดรสชาติดี กรอบนาน และไม่อมน้ำมัน และก่อนนำอาหารลงทอด ควรรอให้น้ำมันในกระทะร้อนจัด และควรใช้ไฟกลางๆ ไม่ควรอ่อนเกินไป ไม่เช่นนั้นอาหารจะอมน้ำมัน หากใช้ไฟแรงเกินไป ก็จะทำให้สุกไม่ทั่วกัน ด้านนอกจะสุกไหม้ไปก่อน
เคล็ดลับเพิ่มเติมที่ควรรู้
- ขณะกำลังทอดไม่ควรพลิกไปมา ควรทอดให้สุกเป็นด้านๆ หากกลับไปกลับมาหลายครั้ง จะทำให้ผิวข้างนอกไม่กรอบ และเละได้
- ใช้น้ำเย็นในการผสมกับแป้งทอดกรอบ เพราะน้ำเย็นจะทำให้แป้งเกาะวัตถุดิบน้อยกว่าการใช้น้ำอุณหภูมิห้อง ทำให้มีความกรอบ
- เมื่อทอดจนกรอบดีแล้ว ควรพักไว้บนตะแกรง หรือบนกระดาษซับน้ำมัน ไม่เช่นนั้นน้ำมันส่วนเกินที่ไหลเยิ้มจะทำให้ของทอดนิ่มเร็ว และหายกรอบ
- บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ของทอด ควรมีรูระบายอากาศ อย่าปิดฝามิดชิด เพราะไอร้อนจากของทอดที่เพิ่งสุก หากไม่มีที่ระบายจะควบแน่นกันเป็นหยดน้ำเกาะตามบรรจุภัณฑ์ ทำให้ของทอดนิ่มเร็วขึ้น
ทั้งนี้ยังมีวัตถุดิบที่ช่วยให้การทอดนั้นกรอบมากขึ้น เช่น การใช้แป้งทอด+น้ำเย็นจัด ทำให้แป้งเกาะวัตถุดิบน้อย กรอบนาน หรือการใช้ แป้ง+ผงฟู+น้ำ จะทำให้เกิดรูพรุน อาหารกรอบนานขึ้น เป็นต้น หรือการเพิ่มเกล็ดขนมปังประกอบวัตถุดิบสำหรับทอดก็จะเพิ่ม texture ให้สินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น และหากสินค้าของทอดเรากรอบทน กรอบนาน ลูกค้ากินติดใจ โอกาสขายดีของเราก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ใครเปิดร้านขายของทอดลองสำรวจร้านของเราดูซะตอนนี้เลยว่า การทอดที่เราใช้มีเทคนิคเหล่านี้อยู่ด้วยหรือเปล่า
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)