7 เทคนิค (ไม่เคยมีใครบอก) เช่าพื้นที่ได้ราคาถูกลง!

ทุกๆ การซื้อขาย ฝ่ายขายย่อมต้องการราคาที่ตั้งใจไว้ ส่วนฝ่ายซื้อก็ต้องการได้ราคาที่ถูกใจที่สุด สิ่งเหล่านี้นำมาสู่ “การต่อรอง” ที่เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่การ “ติดต่อพื้นที่เช่า”

โดยปัจจัยราคาค่าเช่าขึ้นอยู่กับโครงการ ทำเลที่ตั้ง และตำแหน่งของจุดที่จะตั้งร้าน มีทั้งแบบที่เป็นรายเดือน รายปี เฉลี่ยราคาเริ่มต้นประมาณเดือนละประมาณ 3,000 เป็นต้นไป หรือตามห้างสรรพสินค้าราคาก็จะแตกต่างมากขึ้น

www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมเอา 7 เทคนิคน่าสนใจเพื่อต่อรองราคาค่าเช่าให้ถูกลงมาซึ่งก็น่าจะพอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายทั้งเจ้าของโครงการและคนต้องการเช่าพื้นที่

1.กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง

ราคาถูกลง

พื้นที่เช่าในโครงการต่างๆ จะมีการกำหนดเรตราคาไว้เรียบร้อย ซึ่งบางครั้งคนอยากเปิดร้าน อาจสะดุ้งกับราคาที่เสนอมาในช่วงแรก ยิ่งเป็นพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทักษะต่อรองไม่มี เขาเสนอมาอย่างไรก็รีบตกลงไปแบบนั้น ในกรณีนี้เท่ากับว่า เราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที

ดังนั้นเราต้องกล้ากล้าปฏิเสธ กล้าบอกว่าขอคิดดูก่อน และกล้าเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการด้วย และหากยังไม่พอใจในสิ่งที่ฝ่ายขายนำเสนอก็ยังไม่จำเป็น ต้องรีบตกลง ต้องมีจุดยืนในการเจรจาต่อรอง ไม่ให้เขารู้สึกว่าเราอยากตกลง จนยอมทุกอย่างโดยง่ายดาย ต้องรู้จักแสดงท่าทีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองไว้ด้วย

2.แจ้งงบประมาณจริงๆที่เรามี

ll3

ก่อนจะหาพื้นที่เช่าใดๆ ก็ตามเราต้องมีงบประมาณไว้ในใจก่อนว่าตั้งงบไว้ในใจเท่าไหร่ เช่น สำหรับค่าเช่าเตรียมเงินไว้ประมาณ 30,000 ในระยะเวลา 3 เดือน เมื่อทำเลที่สนใจได้แจ้งราคามา

หากมองว่าเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการเช่าก็ให้คุยรายละเอียดกับเจ้าของพื้นที่ไปตรงๆว่าเรามีงบในส่วนนี้ประมาณเท่านี้ เขาจะลดหย่อน หรือมีโปรโมชั่นช่วยเหลืออะไรเราได้บ้าง เชื่อว่าหากเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ไม่เขี้ยวลากดินเกินไปและต้องการให้พ่อค้าแม่ค้าเขามาค้าขายก็อาจจะมีวิธีการที่ทำให้ค่าเช่าถูกลงได้

3.ยกคู่แข่งมาเปรียบเทียบ

ll4

ก่อนอื่นจะเช่าพื้นที่ใดๆ ก็ต้องสืบราคาในพื้นที่ใกล้เคียงว่าเฉลี่ยแล้วราคาประมาณไหน เมื่อเรารู้ราคาตลาด ก็จะเอามาเปรียบเทียบกับทำเลที่เราต้องการ ซึ่งราคาที่แจ้งมาอาจจะสูงกว่าของพื้นที่อื่น แต่หากมองว่านี่คือทำเลที่ดีจริงและต้องการแต่ติดที่ราคายังแพงอยู่

อาจใช้เทคนิคการพูดที่แสดงให้เจ้าของพื้นที่ทราบว่าเราก็ลองติดต่ออยู่กับหลายโครงการ และดูเหมือนว่าบางพื้นที่จะมีราคาที่ถูกกว่า แน่นอนว่าบางครั้งเจ้าของโครงการอาจยอมลดราคาลงมาให้เราบ้าง แต่ในบางกรณีเขาก็อาจไม่พอใจที่ยกไปเปรียบเทียบกับที่อื่นถึงขั้นไม่ต่อรองกับเราเลยก็มี วิธีนี้ก็เป็นดาบสองคมได้เช่นกัน

4.หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย

ll5

หากรู้แน่ชัดว่า เจ้าของพื้นที่เช่านั้นไม่ตกลงในราคาที่เราต้องการแน่นอนแล้ว เราต้องกล้าพอที่จะยกเลิก การเจรจานั้นทันที ให้โอกาสอีกฝ่ายได้พักหายใจสักระยะ แล้วค่อยติดต่อเข้าไปใหม่ โดยไม่กระชั้นเกินไป และไม่ห่างหายนานเกินไปจนอีกฝ่ายจำข้อมูลที่คุยกันไม่ได้

5.สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

ll6

วิธีสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ก็คือ การพูดคุยสอบถามให้ความเป็นกันเองอย่าให้เจ้าของพื้นที่รู้สึกว่าเป็นการถามเพื่อต้องการร่วมงานจริงๆ หรือเพื่อทำให้พื้นที่เช่าตรงนี้โดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยสินค้าที่เราจะเอามาขาย

ซึ่งสิ่งสำคัญคือเราต้องหาจุดเชื่อมต่อที่เจ้าของพื้นที่สนใจกับตัวเราให้เจอ ซึ่งการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันก็เหมือนกฏแห่งแรงดึงดูดที่เมื่อเขาพอใจการเจรจาอะไรๆ ก็จะง่ายมากขึ้น

6.เจรจาต่อรองกับคนที่มีอำนาจการตัดสินใจ

ll7

การเจรจาต่อรองที่ได้ผลดีที่สุด ผู้ซื้อต้องค้นหาให้ได้ว่าใครคือคนที่ควรเจจาต่อรองด้วย และเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ก็จะทำให้การเจรจาต่อรองนั้นเกิดผลดีมากที่สุด

เพราะในบางครั้งการให้ลูกน้องมารับหน้าที่พูดคุยแทนซึ่งก็ไม่มีอำนาจที่จะมาให้ส่วนลดลูกค้าได้ การพูดคุยกับเจ้าของโครงการโดยตรงจะมีโอกาสได้ส่วนลดที่มากขึ้น

7.เลือกไม่รับของแถม แต่เสนอให้ลดราคาแทน

ll8

สำหรับบางพื้นที่อาจจะมีโปรโมชั่นที่แถมอุปกรณ์หรือสิ่งของหรือให้บัตรกำนัลต่างๆ แล้วแต่การจัดแคมเปญของเจ้าของพื้นที่ ซึ่งหากเราเป็นหนึ่งในพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการส่วนลดเป็นหลักขอให้มองข้ามของแถมเหล่านี้หรือโปรโมชั่นที่เรามองว่าไม่ได้ประโยชน์แต่ลองขอให้เป็นการลดราคาแทน ซึ่งอาจจะคุ้มค่าในความรู้สึกของเราด้วย

อย่างไรก็ดีทุกการเจรจากับพื้นที่เช่าการวางตัวเป็นเรื่องสำคัญ เราจะต้องมีความสุภาพ ถ่อมตน จะช่วยให้การเจรจานั้นราบรื่นกว่าการ แสดงตนเหนือกว่า และโอ้อวดตนเอง แต่ก็ไม่ควรถ่อมตนมากเกินจนดูต่ำต้อย และเสียเปรียบในการ
เจราจาต่อรอง


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

SMEs Tips

  1. กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง
  2. แจ้งงบประมาณจริงๆที่เรามี
  3. ยกคู่แข่งมาเปรียบเทียบ
  4. หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย
  5. สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
  6. เจรจาต่อรองกับคนที่มีอำนาจการตัดสินใจ
  7. เลือกไม่รับของแถม แต่เสนอให้ลดราคาแทน 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด