7 เทคนิค “เช่าพื้นที่ค้าขาย” ได้ ราคาถูก
การเปิดร้านค้าไม่ว่าจะร้านขนาดเล็ก หรือใหญ่ สำคัญคือทำเล “ต้นทุนทำเล” คือปัจจัยที่พ่อค้าแม่ค้าบอกว่าถ้าเช่าแพงก็เหมือนขายของจ่ายค่าเช่า แต่ถ้าค่าเช่าถูกหน่อย พ่อค้าแม่ค้าก็มีกำไรได้มากขึ้น คำถามคือยุคสมัยนี้จะไปหาพื้นที่เช่าแบบฟรีๆ หรือ ราคาถูก ได้จากที่ไหน ในเมื่อไม่มี หรือหาไม่ได้
www.ThaiSMEsCenter.com ก็เลยได้รวบรวมวิธี “ต่อรอง” กับเจ้าของพื้นที่เช่าเพื่อให้เราได้ทำเลค้าขายในราคาที่ “ถูกลง” มีวิธีแบบไหนอย่างไรบ้าง ลองจำและนำไปใช้กันดู รับรองว่าจะต้องได้ผลไม่มากก็น้อย
1.กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง
พื้นที่เช่าในโครงการต่างๆ จะมีการกำหนดเรตราคาไว้เรียบร้อย ซึ่งบางครั้งคนอยากเปิดร้าน อาจสะดุ้งกับราคาที่เสนอมาในช่วงแรก ยิ่งเป็นพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทักษะต่อรองไม่มี เขาเสนอมาอย่างไรก็รีบตกลงไปแบบนั้น ในกรณีนี้เท่ากับว่า เราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที ดังนั้นเราต้องกล้ากล้าปฏิเสธ กล้าบอกว่าขอคิดดูก่อน และกล้าเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการด้วย และหากยังไม่พอใจในสิ่งที่ฝ่ายขายนำเสนอก็ยังไม่จำเป็น ต้องรีบตกลง ต้องมีจุดยืนในการเจรจาต่อรอง ไม่ให้เขารู้สึกว่าเราอยากตกลง จนยอมทุกอย่างโดยง่ายดาย ต้องรู้จักแสดงท่าทีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองไว้ด้วย
2.แจ้งงบประมาณจริงๆที่เรามี
ก่อนจะหาพื้นที่เช่าใดๆ ก็ตามเราต้องมีงบประมาณไว้ในใจก่อนว่าตั้งงบไว้ในใจเท่าไหร่ เช่นสำหรับค่าเช่าเตรียมเงินไว้ประมาณ 30,000 ในระยะเวลา 3 เดือน เมื่อทำเลที่สนใจได้แจ้งราคามาหากมองว่าเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการเช่าก็ให้คุยรายละเอียดกับเจ้าของพื้นที่ไปตรงๆว่าเรามีงบในส่วนนี้ประมาณเท่านี้ เขาจะลดหย่อน หรือมีโปรโมชั่นช่วยเหลืออะไรเราได้บ้าง เชื่อว่าหากเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ไม่เขี้ยวลากดินเกินไปและต้องการให้พ่อค้าแม่ค้าเขามาค้าขายก็อาจจะมีวิธีการที่ทำให้ค่าเช่าถูกลงได้
3.ยกคู่แข่งมาเปรียบเทียบ
ก่อนอื่นจะเช่าพื้นที่ใดๆ ก็ต้องสืบราคาในพื้นที่ใกล้เคียงว่าเฉลี่ยแล้วราคาประมาณไหน เมื่อเรารู้ราคาตลาด ก็จะเอามาเปรียบเทียบกับทำเลที่เราต้องการ ซึ่งราคาที่แจ้งมาอาจจะสูงกว่าของพื้นที่อื่น แต่หากมองว่านี่คือทำเลที่ดีจริงและต้องการแต่ติดที่ราคายังแพงอยู่ อาจใช้เทคนิคการพูดที่แสดงให้เจ้าของพื้นที่ทราบว่าเราก็ลองติดต่ออยู่กับหลายโครงการ และดูเหมือนว่าบางพื้นที่จะมีราคาที่ถูกกว่า แน่นอนว่าบางครั้งเจ้าของโครงการอาจยอมลดราคาลงมาให้เราบ้าง แต่ในบางกรณีเขาก็อาจไม่พอใจที่ยกไปเปรียบเทียบกับที่อื่นถึงขั้นไม่ต่อรองกับเราเลยก็มี วิธีนี้ก็เป็นดาบสองคมได้เช่นกัน
4.หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย
หากรู้แน่ชัดว่า เจ้าของพื้นที่เช่านั้นไม่ตกลงในราคาที่เราต้องการแน่นอนแล้ว เราต้องกล้าพอที่จะยกเลิก การเจรจานั้นทันที ให้โอกาสอีกฝ่ายได้พักหายใจสักระยะ แล้วค่อยติดต่อเข้าไปใหม่ โดยไม่กระชั้นเกินไป และไม่ห่างหายนานเกินไปจนอีกฝ่ายจำข้อมูลที่คุยกันไม่ได
5.สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
วิธีสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ก็คือ การพูดคุยสอบถามให้ความเป็นกันเองอย่าให้เจ้าของพื้นที่รู้สึกว่าเป็นการถามเพื่อต้องการร่วมงานจริงๆ หรือเพื่อทำให้พื้นที่เช่าตรงนี้โดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยสินค้าที่เราจะเอามาขาย ซึ่งสิ่งสำคัญคือเราต้องหาจุดเชื่อมต่อที่เจ้าของพื้นที่สนใจกับตัวเราให้เจอ ซึ่งการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันก็เหมือนกฏแห่งแรงดึงดูดที่เมื่อเขาพอใจการเจรจาอะไรๆ ก็จะง่ายมากขึ้น
6.เจรจาต่อรองกับคนที่มีอำนาจการตัดสินใจ
การเจรจาต่อรองที่ได้ผลดีที่สุด ผู้ซื้อต้องค้นหาให้ได้ว่าใครคือคนที่ควรเจจาต่อรองด้วย และเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ก็จะทำให้การเจรจาต่อรองนั้นเกิดผลดีมากที่สุด เพราะในบางครั้งการให้ลูกน้องมารับหน้าที่พูดคุยแทนซึ่งก็ไม่มีอำนาจที่จะมาให้ส่วนลดลูกค้าได้ การพูดคุยกับเจ้าของโครงการโดยตรงจะมีโอกาสได้ส่วนลดที่มากขึ้น
7.เลือกไม่รับของแถม แต่เสนอให้ลดราคาแทน
สำหรับบางพื้นที่อาจจะมีโปรโมชั่นที่แถมอุปกรณ์หรือสิ่งของหรือให้บัตรกำนัลต่างๆ แล้วแต่การจัดแคมเปญของเจ้าของพื้นที่ ซึ่งหากเราเป็นหนึ่งในพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการส่วนลดเป็นหลักขอให้มองข้ามของแถมเหล่านี้หรือโปรโมชั่นที่เรามองว่าไม่ได้ประโยชน์แต่ลองขอให้เป็นการลดราคาแทน ซึ่งอาจจะคุ้มค่าในความรู้สึกของเราด้วย
ใครที่ได้ทำเลทองในราคาไม่แพง ก็เหมือนถูกหวยรวยเบอร์ แต่สมัยนี้คงเป็นไปได้ยาก ที่ดินทุกแห่งมีราคา ยิ่งทำเลทองราคายิ่งแพง แต่ทั้งนี้ใช่ว่าทุกทำเลที่ดีจะทำให้เราขายดี บางครั้งเราต้องดูว่าสินค้าที่เราจะขายคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร เลือกทำเลให้ถูกกับกลุ่มเป้าหมาย บางทีอาจไม่ต้องเป็นทำเลเด่น แต่เป็นทำเลรองๆ ลงมา ราคาจะถูกหน่อย ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่คนทำการค้าควรต้องรู้ไว้
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3jTJfGz
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)