7 เงื่อนไขเจรจาต่อรองกับแฟรนไชส์ซอร์
เงื่อนไขใน การเจรจาต่อรอง ระหว่างแฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์มีอยู่ 2 เรื่อง คือ เจรจาเรื่องของตัวเลข และกฎระเบียบเงื่อนไข ข้อปฏิบัติ เอกสารสัญญาต่างๆ โดยทั้งสองฝ่ายควรใช้เหตุผลในการเจรจาต่อรอง
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ควรแสดงถึงความอยากได้เพราะอาจตกเป็นรอง หากขออะไรอาจไม่ได้ แต่ถ้าคุณลองเป็นเจ้าสาวที่มีเสน่ห์ มีฟอร์มนิดๆ ก็จะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์รู้สึกว่าคุณมีคุณค่า และอยากได้คุณเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายธุรกิจเดียวกัน
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 7 เงื่อนไข เจรจาต่อรองกับแฟรนไชส์ซอร์ ว่ามีอะไรบ้าง
1.ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)
เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ก่อนเปิดร้านดำเนินธุรกิจ โดยหลักการคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์มาจากการบวกเพิ่มจาก “ต้นทุน” ค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ต้นทุนเกี่ยวกับกระบวนการหาแฟรนไชส์ซี,ต้นทุนเกี่ยวกับค่าฝึกอบรม, ต้นทุนเกี่ยวกับการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีในระยะเริ่มต้น, ต้นทุนการหาทำเล เป็นต้น ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเจรจาพูดคุยให้ทราบถึงค่าใช้ในส่วนนี้ก่อนว่าจะต้องจ่ายเมื่อไหร่ จ่ายครั้งเดียว หรือผ่อนเป็นงวด
2.ค่า Royalty fee / Marketing Fee
เป็นค่าสิทธิต่อเนื่องและค่าทำการตลาดที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือน หรือรายปี ส่วนมากอยู่ที่ประมาณ 3-5% จากยอดขาย ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องเจรจากันให้เข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายค่าสิทธิเหล่านี้ บางแฟรนไชส์เรียกเก็บค่า Royalty Fee แต่บางแฟรนไชส์ไม่เรียกเก็บ
3.ค่าใช้จ่ายก่อสร้างและตกแต่งร้าน
ค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้านเป็นเงินทุนอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเตรียมและจัดหาไว้ให้เพียงพอก่อนเปิดร้าน จะเป็นเงินคนละส่วนจาก Franchise Fee และ Royalty Fee ผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องจ่ายเงินส่วนนี้ก่อนหรือหลังตกแต่งเสร้จก็ได้ หรืออาจต้องจ่ายไปพร้อมๆ กับทำการออกแบบตกแต่งร้านไปด้วยจนกว่าจะเสร็จในการซื้ออุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
4.ข้อตกลงหรือสัญญาแฟรนไชส์
ก่อนจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด เพื่อจะได้รู้ว่าแฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติและห้ามปฏิบัติอะไรบ้าง เช่นเดียวกับแฟรนไชส์ซอร์ก็ต้องมีเงื่อนไขในการปฏิบัติระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อป้องกันฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งหากฝ่ายไหนไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องได้
5.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นในเรื่องการของกาจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ค่าจ้างพนักงาน รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนในแต่ละเดือนที่จะต้องเตรียมไว้ใช้ในในยามฉุกเฉิน (3-5 เดือน) ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจต้องสอบถามโดยตรงจากเจ้าของแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซีที่เปิดร้านอยู่ก่อนแล้ว
6.เงื่อนไขการจ่ายเงินส่วนต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee), ค่าสิทธิต่อเนื่อง (Royalty Fee), ค่าการตลาด (Marketing fee) ตลอดจนค่ามัดจำ หรือค่าประกัน ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะเจรจาให้รู้เรื่องว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ต้องจ่ายวันไหนบ้าง หรือถ้าจ่ายล่าช้าจะมีค่าปรับอะไรหรือไม่ รวมไปถึงหากต่อสัญญาแฟรนไชส์ออกไปอีกต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เป็นต้น
7.ทำเลที่ตั้งในการดำเนินธุรกิจ
ในสัญญาแฟรนไชส์จะมีการระบุให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทราบว่าในแต่ละพื้นที่สำหรับเปิดร้านหรือทำธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์จะให้สิทธิใครบ้างในการขยายสาขา ไม่ว่าจะเป็น 1 คน หรือ 2 คน หรือแต่ละพื้นที่สามารถเปิดร้านได้กี่สาขา ระยะห่างกันกี่เมตร กี่กิโลเมตร หากเจ้าของแฟรนไชส์เอารัดเอาเปรียบ โดยอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์คนใหม่ตั้งร้านใกล้คนเดิม แฟรนไชส์ซีในพื้นที่นั้นๆ ที่เปิดร้านอยู่ก่อนแล้ว สามารถฟ้องร้องเจ้าของแฟรนไชส์ได้
นั่นคือ 7 เงื่อนไข ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องเจรจาต่อรองกับเจ้าของแฟรนไชส์ให้เข้าใจในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันการทะเลาะและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Franchise Tips
- ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee)
- ค่า Royalty fee / Marketing Fee
- ค่าใช้จ่ายก่อสร้างและตกแต่งร้าน
- ข้อตกลงหรือสัญญาแฟรนไชส์
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
- เงื่อนไขการจ่ายเงินส่วนต่างๆ
- ทำเลที่ตั้งในการดำเนินธุรกิจ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CKY598
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)