7 เคล็ดลับสุดปัง! ขายเดลิเวอรี่ ปี 2567 ให้รวย
ในปี 2567 คาดว่าการเติบโตในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะเพิ่มสูงมาก คาดการณ์ตัวเลขว่าจะเติบโตราว 5.8% มีมูลค่าอยู่ประมาณ 6.5 แสนล้านบาท ซึ่ง Food Delivery เป็นอีกกลยุทธ์ที่หลายธุรกิจนำมาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการขายและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ากระแสของ Food Delivery เองก็ลดน้อยถอยลงไปหลังจากคนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้ชีวิตปกติมากขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโควิดผ่านพ้นไป
มีตัวเลขน่าสนใจจากการสำรวจพบว่า 44% ยังคงมีการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ แต่ลดความถี่ในการสั่งลง
- ขณะที่ 41% มีความถี่ในการสั่งอาหารเท่าเดิม
- แต่อีก 8% กลับมีความคิดว่าจะไม่ใช้บริการแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่แน่นอน
- และมีอีก 6% ที่ลังเลว่าจะใช้งานแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ดีหรือไม่ เพราะกังวลเรื่องค่าขนส่งที่สูง ความเสียหายจากการขนส่ง รวมถึงปัญหาของไรเดอร์ที่มีให้เห็นในบางครั้ง ก็มีผลต่อการตัดสินใจทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดี Food Delivery ก็ยังเป็นเทรนด์ที่แม้จะไม่เฟื่องฟูเท่าตอนโควิดแต่ก็เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทุกแบรนด์หันมาใช้ คาดว่ามีมูลค่าการตลาด Food Delivery ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท ลูกค้ากลุ่มใหญ่คือกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้าน คนทำงานที่บ้าน ประมาณ 58% และรองลงมาคือกลุ่มคนวัยทำงาน ประมาณ 28%
คำถามคือเมื่อ Food Delivery ก็มีความผันผวนในระดับหนึ่งซึ่งมีปัจจัยจากหลายด้านมากระทบ จะมีเคล็ดแบบไหนอย่างไร ที่จะนำมาใช้กับการ ขายเดลิเวอรี่ ให้ปัง ให้รวยในปี 2567 ได้บ้าง
1.ระบบร้านต้องดี
เป็นด่านแรกและเคล็ดลับสำคัญมาก ระบบร้านที่ดีเช่นการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย การบันทึกข้อมูลขายดี เมนูไหนต้นทุนน้อยกำไรเยอะ เมนูไหนขายดีแต่ไม่มีกำไร เมนูไหนขายดีช่วงเวลาไหน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นำไปสู่การวางแผนวัตถุดิบ สต็อคสินค้า และต้องไม่ลืมเรื่องการบริหารจัดการเรื่องการรับออร์เดอร์ที่ลูกค้าทั้งหน้าร้านและเดลิเวอรี่ประทับใจ
2.โฆษณาให้ถูกช่วงเวลา
เมื่อจะขายแบบเดลิเวอรี่ร่วมด้วยก็จำเป็นต้องให้ลูกค้ารู้จักร้านของเรามากขึ้น การทำโฆษณาผ่านโซเชี่ยลจึงสำคัญ และต้องเลือกเวลาให้เหมาะสมด้วย จากข้อมูลพบว่า ช่วง11.00 และ 18.00 มีปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอพกว่า 30-50% ซึ่งการทำโฆษณาก็ควรไปเน้นในช่วงเวลาที่ลูกค้าน้อยเพื่อให้มีออร์เดอร์เพิ่มขึ้นได้
3.จุดเด่นของร้านต้องมี
แม้จะเป็นการ ขายเดลิเวอรี่ ร้านเราก็ต้องมีจุดเด่น ไม่ว่าจะชื่อร้าน บรรยากาศร้าน เมนูใหม่ไอเดียแจ๋ว รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องสะดุดตา เป้าหมายคือทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าอยากถ่ายรูป อยากรีวิว จะเป็นประโยชน์ต่อร้านค้าของเรายิ่งกระแสเป็นไวรัลมากเท่าไหร่ ยอดขายเราก็ยิ่งดีมากเท่านั้น
4.ทุกเมนูต้องเน้นคุณภาพและมาตรฐาน
ปัญหาที่เจอในโซเชี่ยลส่วนใหญ่คือภาพไม่ตรงปก สั่งอย่างได้อีกอย่าง นอกจากหน้าตาไม่เหมือน บางทีปริมาณยังน้อยจนกลายเป็นชื่อเสียงในด้านลบ ดังนั้นถ้าอยากขายดีคุณภาพและมาตรฐานสำคัญมาก ตรงนี้ร้านค้าต้องมีวิธีบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน
5.มีโปรโมชั่นตามเหมาะสม
ข้อมูลน่าสนใจระบุว่าลูกค้ากว่า 50% ไม่ได้ตัดสินใจเลือกร้านไหนล่วงหน้า เจออะไรน่ากินก็กดสั่ง ขณะที่ลูกค้าอีกกว่า 40% สั่งซื้อโดยเน้นการใช้โค้ดส่วนลด อย่างไรก็ดีการจัดโปรโมชั่นใดๆ ก็ตามต้องให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าไม่มาจับจ้องรอเวลาโปรโมชั่นเพียงอย่างเดียว
6.ต้องพร้อมรับออร์เดอร์ได้จริง
ปัญหาใหญ่มากคือร้านค้าหลายแห่งไม่พร้อมรับออร์เดอร์ และจากสถิติกว่า 50% เสียรายได้จากการกดยกเลิกออร์เดอร์ ในมุมของร้านค้าอาจเพราะทำไม่ทันหรือมีปัญหาบางประการ แต่ในมุมของลูกค้าที่มาด้วยความคาดหวัง แต่เจอปัญหายกเลิกออร์เดอร์สิ่งที่จะตามมาคือจำแบบฝังใจและไม่อยากกลับไปใช้บริการร้านนั้นอีก
7.ก้าวตามคู่แข่งให้ทันพัฒนาร้านค้าต่อเนื่อง
ขายเดลิเวอรี่ ก็จำเป็นต้องศึกษาคู่แข่งเช่นกัน เช่น ลองเข้าไปใช้บริการในแอพเดลิเวอรี่ด้วยตัวเอง ดูว่าในรัศมีรอบๆร้านของเรามี ร้านค้าไหนน่าสนใจ มีเมนูอะไรที่ขายดี ลูกค้าชอบเข้าไปใช้บริการร้านไหนมากที่สุด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีข้อมูลเชิงลึกในการนำมาปรับใช้กับร้านตัวเองเพื่อเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
ในปัจจุบันการทำธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่ม มีต้นทุนวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงที่เพิ่มสูงมาก เทคนิคการตั้งราคาก็ควรให้เหมาะสมและต้องมีวิธีบริหารจัดการสต็อคที่มีประสิทธิภาพมาก ต้องไม่ลืมว่ายุคนี้ลูกค้าเองก็มีรายได้ลดลงจากหลายปัจจัย สินค้าที่จำหน่ายหากมีราคาเหมาะสมทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ ก็จะเป็นตัวช่วยให้คนตัดสินใจเลือกซื้อได้มากขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)