7 เคล็ดลับสร้างแคมเปญการตลาดให้ปัง
ต้องยอมรับการ สร้างแคมเปญการตลาด ของธุรกิจถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ตลอดจนการเพิ่มยอดขาย หรือกำไรให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้น
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอเคล็ดลับที่จะเข้ามาช่วยให้การทำแคมเปญการตลาดของคุณให้ประสบความสำเร็จ มาดูพร้อมกันเลยว่า มีเคล็ดลับอะไรบ้างครับ
1.กำหนดวัตถุประสงค์การทำแคมเปญ
ขั้นตอนแรกในการทำแคมเปญการตลาด ก็คือ ต้องเข้าใจว่าจุดประสงค์ในการสื่อสารแคมเปญการตลาดออกไป เช่น ต้องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ต้องการเพิ่มยอดขาย ต้องการให้มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น หรือทั้ง 3 อย่าง คุณอาจมีเป้าหมายในการสร้างความภักดีของลูกค้า และเพิ่มฐานลูกค้าเก่า
เป้าหมายเหล่านี้คุณสามารถทำมันได้ แต่คุณสามารถลำดับก่อนหลัง เพื่อมุ่งเน้นไปที่อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน การพยายามทำหลายอย่างพร้อมกัน อาจจะทำให้คุณไม่สามารถทำแต่ละอย่างได้เต็มที่
2.วางเป้าหมายที่วัดผลสำเร็จได้
เมื่อคุณได้กำหนดวัตถุประสงค์ของแคมเปญการตลาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องกำหนดเป้าหมายที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของแคมเปญการตลาด เช่น หากคุณเป็นนักการตลาดในธุรกิจ B2B ที่กำลังมองหาวิธีการเพิ่มยอดขาย คุณอาจจะต้องหาวิธีเพิ่มช่องทางการขายให้มากขึ้นต่อเดือน เพื่อให้ได้ยอดตรงตามเป้าของเดือนนั้น
ในทางกลับกัน ถ้าเป้าหมายของคุณ คือ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก คุณจะต้องทำยังไงก็ได้ ให้แบรนด์ของคุณถูกกล่าวถึงในสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ภายใน 6 เดือน เป็นต้น
เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้แล้ว สิ่งต่อมาก็คือ คุณควรหาเครื่องมือที่เหมาะสม ในการติดตามและวิเคราะห์แต่ละอย่าง เพื่อให้สามารถวัดปริมาณของความคืบหน้าได้ และยังจะช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาแต่เนิ่นๆ เพื่อวางแนวทางในการปรับแก้ปัญหาที่อาจะเกิดขึ้นในอนาคต
3.กำหนดกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญ
กลยุทธ์ของแคมเปญการตลาดที่ประสบความสำเร็จ จะต้องเกิดจากการที่คุณวางเป้าหมายไว้ถูกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยข้อความที่ถูกต้อง และคุณจะต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณก่อน มันคงไม่มีประโยชน์
หากคุณวางกลุ่มเป้าหมายเป็นใครก็ได้ที่อายุ 15-50 ทั้งประเทศ ซึ่งนั่นไม่เพียงจะทำให้คุณได้กลุ่มเป้าหมายที่ผิดแล้ว ยังทำให้คุณต้องเสียงบประมาณไปกับการโปรโมทที่เปล่าประโยชน์อีกด้วย
วิธีที่ดีที่สุด คือ การสร้างความเป็นตัวตนของกลุ่มเป้าหมาย และสร้างรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายในอุดมคติของคุณขึ้นมา เริ่มต้นด้วยชื่อ, อายุ, รายได้, มีลูกหรือไม่, ชอบทำอะไรในเวลาว่าง ฯลฯ คุณสามารถมีกลุ่มเป้าหมายในอุดมคติมากกว่า 1 กลุ่ม เพียงแค่สร้างมันขึ้นมา
4.วิเคราะห์คู่แข่งขันในตลาด
การทำแคมเปญการตลาดของธุรกิจ แน่นอนว่าจะต้องแข่งขัน นั่นจะทำให้คุณสามารถเข้าใจว่า อะไรที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ แคมเปญการตลาดแบบไหนเข้าท่า ซึ่งหากคุณละเลยการแข่งขันนี้ ก็จะทำให้คุณเสียโอกาสดี ในการเรียนรู้ความล้มเหลวของคู่แข่ง เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จได้
หลังจากนั้นให้คุณเริ่มศึกษาคู่แข่ง เริ่มด้วยการเลือกแคมเปญ หรือเนื้อหาที่ดีที่สุดของคู่แข่งมา 3 หรือ 4 ชิ้น และศึกษาว่าเขาใช้ช่องทางใดในการสื่อสาร และเริ่มศึกษาเนื้อหาที่เขาใช้ ใช้อารมณ์ใดในการสื่อสาร สื่อสารเรื่องสินค้าเป็นหลักหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายมอเตอร์ไซค์วิบาก คู่แข่งของคุณได้พูดถึงการขับขี่มอเตอร์ไซค์วิบากหรือไม่ มีการโพสต์คลิปที่สนุกสนานเกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์หรือไม่
และศึกษาจากคู่แข่งๆหลายๆ คนว่า Engagement ของแต่ละชิ้นดีหรือไม่ ยอดไลค์ หรือแชร์ มากขนาดไหน สิ่งเหล่านี้แหละที่จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้สื่อที่คุณต้องการสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้
5.พัฒนาข้อความที่คุณต้องการส่งไปยังลูกค้า
หลังจากที่คุณสามารถจินตนาการถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณ และการแข่งขันของคุณได้ ถึงเวลาแล้วที่คุณจะสร้าง “ข้อความของคุณ” ซึ่งไม่ได้หมายถึงข้อความในเนื้อหา
แต่หมายถึงข้อความหลักที่เป็นกุญแจสำคัญของแคมเปญนั้นๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าที่คุณวางไว้ได้อย่างเหมาะสมที่สุด เลือก สอง หรือ สามข้อความ หลังจากนั้น ให้คุณต่อยอดแต่ละข้อความ เพื่อให้สิ่งที่เราต้องการจะสื่อนั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
6.เลือกช่องทางที่เหมาะสมในการทำแคมเปญ
คุณไม่จำเป็นต้องใช้ทุกช่องทางในโซเชียลมีเดีย แต่ให้เลือกจากช่องทางที่ดี และเหมาะสมกับแคมเปญนั้นๆ เช่น LinkedIn นั้นเป็นช่องทางที่ดี สำหรับการติดต่อสื่อสาร ระหว่างธุรกิจไปยังธุรกิจ หรือ B2B ในขณะที่ Pinterest นั้นเหมาะสม หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้แฟชั่น เป็นต้น
หลังจากที่คุณสามารถเลือกช่องทางได้เรียบร้อยแล้ว สิ่งถัดมาก็คือ การเลือก Influencer หรือผู้นำทางความคิดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณได้ บล็อกเกอร์ที่ดีนั้น
สามารถสานสัมพันธ์กับผู้อ่านได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น จงใช้เวลาในการเลือกเฟ้น เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมสำหรับแคมเปญนั้นของคุณมากที่สุด
7.สร้างเนื้อหาในการทำแคมเปญให้น่าสนใจ
สุดท้ายคุณจะต้องพัฒนาเนื้อหาที่ชัดเจน และมีส่วนประกอบที่น่าสนใจ ซึ่งเนื้อหาต้องสอดคล้องกับเนื้อหาโดยรวมของแคมเปญการตลาด และมีความเหมาะสมสำหรับช่องทางที่คุณใช้ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นมากกว่าแค่ข้อมูลสินค้า ให้คุณลองจินตนาการว่า จะมีวิธีใดบ้างที่คุณสามารถสื่อสารข้อความที่มีคุณค่าไปยังผู้บริโภค
โดยไม่ยึดติดกับสื่อประเภทเดิมๆ แต่คุณสามารถนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอวีดีโอ หรืออินโฟกราฟฟิก ที่ทำให้คุณถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกมาได้อย่างมั่นคง
อย่าคิดว่าสิ่งที่คุณโพสต์ไปนั้น จะเป็นแค่การโพสต์แล้วจบไป แต่มันยังสามารถนำมาต่อยอดต่อไปได้เรื่อยๆ ด้วยความสดใหม่มากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะทำให้แคมเปญของคุณมีเนื้อหาที่มีชีวิตชีวา ถูกใจกลุ่มเป้าหมายของคุณ
จาก 7 ขั้นตอนในการสร้างแคมเปญการตลาดให้ประสบความสำเร็จ ที่ได้นำมาฝากทุกคนในวันนี้ ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ หวังว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ในการทำแคมเปญทางการตลาดในครั้งต่อๆ ไปของคุณได้ไม่มากก็น้อย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
SMEs Tips
- กำหนดวัตถุประสงค์การทำแคมเปญ
- วางเป้าหมายที่วัดผลสำเร็จได้
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญ
- วิเคราะห์คู่แข่งขันในตลาด
- พัฒนาข้อความที่คุณต้องการส่งไปยังลูกค้า
- เลือกช่องทางที่เหมาะสมในการทำแคมเปญ
- สร้างเนื้อหาในการทำแคมเปญให้น่าสนใจ
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)