7 วิธีพาธุรกิจรอดตาย! ในยุควิกฤติน้ำท่วม+โควิด
ต้นปี 2563 เราเจอกับวิกฤตแรกคือการแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ลากยาวมาจนถึงตอนนี้ซึ่งเป็นระลอกที่ 3 รวมระยะเวลากว่า 2 ปี หากจะว่าไปสถานการณ์ตอนนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่น้อยลง
ท่ามกลางความหวังของคนทำธุรกิจที่คิดว่าต่อจากนี้จะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง แต่วิกฤติซ้ำซากยังไม่หมด โควิดยังไม่ทันจะจางหายไปปีนี้ดันมาเจอกับปัญาน้ำท่วมที่เกรงว่าซ้ำรอยกับปี 2554
แม้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าจะไม่เกิดเหตุเช่นเดียวกับปี 2554 เนื่องจากเขื่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำไม่ถึงครึ่ง และอัตราการระบายน้ำยังอยู่ที่ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่างจาก 10 ปีก่อน ที่มีอัตราการระบายน้ำสูงสุดที่ 3,700-3,900 ลบ.ม/วินาที
แต่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนกังวลว่าเคราะห์ซ้ำกรรมซัดแบบนี้จะพาธุรกิจอยู่รอดได้อย่างไร เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีการบริหารธุรกิจในยุควิกฤติซ้ำซากมาฝากกัน
7 วิธีบริหารธุรกิจในยุควิกฤติซ้ำซาก
การทำธุรกิจในยุคนี้ผู้บริหารหรือการเป็นเจ้าของธุรกิจ “วิสัยทัศน์” และ “การวางแผน” คือสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เจ้าของธุรกิจที่คิดเป็น ทำเป็น จะประคับประคองให้ธุรกิจอยู่รอดไปได้ เจ้าของธุรกิจที่รู้จักยืดหยุ่น มีวิธีการทำธุรกิจที่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา จะมีโอกาสฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติซ้ำซากได้ดีกว่า โดยมีสิ่งที่ควรมีได้แก่
1.เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า “ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น”
ภาพจาก freepik.com
คนที่เจอวิกฤติไม่ใช่แค่เจ้าของธุรกิจเท่านั้น แต่กลุ่มลูกค้าก็คือผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน บางคนตกงาน ว่างงาน ขาดรายได้ แน่นอนว่าส่งผลถึงเรื่องการจับจ่าย ดังนั้นสินค้าที่ไม่จำเป็นเขาจะไม่ซื้อ อะไรที่ไม่สำคัญก็จะไม่ควักเงินจ่าย ยิ่งวิกฤติซ้ำซากคนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่าย จะเก็บเงินกันมากขึ้น การลงทุนใดๆ ในธุรกิจต้องเลือกให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภค เข้าใจในความต้องการ จะนำไปสู่การพัฒนาสินค้าที่ตรงกับความต้องการผู้บริโภคได้
2.รู้จักใช้เทคโนโลยีทำตลาดออนไลน์มากขึ้น
ภาพจาก freepik.com
ยุคนี้ไม่พูดถึงตลาดออนไลน์ก็คงไม่ได้ เพราะเป็นวิธีสำคัญที่ชี้วัดว่าธุรกิจจะอยู่รอดได้หรือไม่เลยทีเดียว การปรับตัวของผู้ประกอบการที่ไม่มีความชำนาญในเรื่องเทคโนโลยีจึงสำคัญมาก และไม่ใช่แค่การใช้เฟสบุ๊ค หรือไลน์ในการทำธุรกิจแต่มีขั้นตอนที่ลึกซึ้งและลงลึกในรายละเอียดอีกหลายอย่าง ซึ่งวิธีการทำตลาดออนไลน์แบบนี้ถ้าเราไม่มีความรู้สามารถเลือกเรียนจากคอร์สอบรมต่างๆ ได้ ซึ่งมีประโยชน์กับการทำธุรกิจอย่างมาก และในยุคที่เราต้องรับมือกับวิกฤติหลากหลายรูปแบบการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
3.มองหาตัวขับเคลื่อนยอดขายในระยะสั้น
ภาพจาก freepik.com
เมื่อเราต้องเจอกับวิกฤติในรูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญคือการสร้างยอดขายในระยะสั้นที่จะทำให้เราพอมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจได้ แต่ปัญหาคือจะทำอย่างไรที่จะขับเคลื่อนยอดขายในระยะสั้นได้วิธีการเบื้องต้นคือมุ่งเน้นสินค้าที่สำคัญและจำเป็น ผลิตขึ้นมาก่อนพวกสินค้าฟุ่มเฟือย หรือการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นในระยะสั้นให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคก็เป็นสิ่งสำคัญ และหากช่วงวิกฤติเราไม่สามารถหาลูกค้าใหม่ได้ การมีฐานลูกค้าเก่าจะช่วยได้มาก และธุรกิจจะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเก่าเหล่านี้เอาไว้ให้ได้
4.มองหา โอกาสใหม่ เพื่อผ่าทางตัน และสร้างการเติบโต
ภาพจาก freepik.com
เมื่อคิดสร้างยอดขายในระยะสั้นเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้คือการมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อจะได้เติบโตมากขึ้น ดังเช่นหลายบริษัทที่มีการพัฒนารูปแบบบริการ สินค้าแตกไลน์ใหม่ที่เจาะกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ไม่ได้โฟกัสอยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การจับเทรนด์ของลูกค้า การมองวิกฤตให้เป็นโอกาสคือสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจต้องมีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้
5.วางแผนการเงินอย่างรัดกุม
ภาพจาก freepik.com
นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมด้านการเข้าถึง “แหล่งเงินทุน” เช่น สถาบันการเงินต่างๆ ที่ในช่วงวิกฤตจะออกสินเชื่อ และนโยบายด้านการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจในช่วงเวลายากลำบาก ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนธุรกิจให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
6.ดูแลพนักงานในยามวิกฤต
ภาพจาก freepik.com
ธุรกิจจะเดินหน้าไม่ได้ถ้าขาดพนักงาน โดยเฉพาะองค์กรที่มีพนักงานเก่งๆ รู้หน้าที่ในการทำงาน ควรจะเก็บรักษาบุคลากรเหล่านี้เอาไว้ให้ได้ อย่าคิดว่าพนักงานไล่ออกไปก็หาใหม่ได้ เพราะงานบางอย่างต้องอาศัยเวลาทำความเข้าใจ คนที่ทำงานใหม่ๆ ไม่มีทางเข้าใจความต้องการเหล่านี้ เช่น การดิวลูกค้า การติดต่อหาลูกค้า หรือลักษณะงานบางอย่างที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำ ไม่สามารถถ่ายทอดสอนกันได้ทันที ถ้าองค์ไหนไม่ให้ความสำคัญกับพนักงาน เลือกแต่จะใช้งาน คิดว่าจ่ายเงินเดือนแล้วทุกอย่างจะจบ องค์กรเหล่านี้ถือว่าไม่ดูแลพนักงานในยามวิกฤติซึ่งมีผลทำให้พนักงานเองก็ไม่มีใจที่อยากจะทำงานด้วย ส่งผลเสียหายต่อธุรกิจในระยะยาวได้
7.เดินหน้าสร้าง “Engagement” กับลูกค้า
ภาพจาก https://bit.ly/3AkWrJL
Engagement คือการสร้างความประทับใจหรือสัมพันธ์อันดี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ลูกค้ารู้ถึงความเคลื่อนไหวของแบรนด์ เช่น กรณีของรถยนต์อย่างโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยทำแคมเปญเพื่อสังคม เปิดให้ผู้บริโภคสามารถนำรถทุกยี่ห้อมาให้ศูนย์โตโยต้าทั่วประเทศ มาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือแม้แต่กิจกรรมทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ก็ล้วนแต่เป็นการสร้างความเคลื่อนไหวและภาพลักษณ์ที่ดี มีผลต่อธุรกิจในระยะยาวได้
ปัจจัยเสี่ยงในการเจอวิกฤติต่างๆ เป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การวางแผนที่ดีจะลดปัญหาจากหนักให้เป็นเบา ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบไม่มากจนเกินไป และเมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายจะมีโอกาสฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของเจ้าของธุรกิจเป็นสำคัญด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mzWxII
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)