7 วิธีประหยัดเงินในกระเป๋าสไตล์คนญี่ปุ่น

ด้วยค่าครองชีพ ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับรายได้ที่ดูจะเท่าเดิม แม้จะมีประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมาอยู่ที่ 315 บาทตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2018 แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีผลอะไรเท่าไหร่ คนไทยยังมีรายได้แบบชักหน้าไม่ถึงหลัง

ผลสำรวจยังบอกว่ารายได้เฉลี่ยคนไทยต่อเดือนประมาณ 26,946 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนเฉลี่ย 21,437 บาท ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นแค่ประมาณการในความเป็นจริงยังแปรเปลี่ยนได้อีกเยอะ

เมื่อการหาเงินเพิ่มเป็นเรื่องยากการแก้ปัญหาอันดับแรกก็คือต้องประหยัดกันเอาเอง www.ThaiSMEsCenter.com
มี 7 เทคนิคที่เป็นวิธีประหยัดเงินสไตล์คนญี่ปุ่น ชาติที่ได้ชื่อว่ามีระเบียบวินัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใส่ใจกับสังคมและสิ่งรอบตัว ลองดู 7 วิธีที่คนญี่ปุ่นใช้กันว่ามีอะไรบ้าง

1.ซื้อวัตถุดิบมาทำกับข้าวทานเอง

7

ภาพจาก goo.gl/6Z7j48

ถ้านึกภาพไม่ออกลองดูการ์ตูนโดราเอมอนหรือเครยอนชินจัง ที่คุณแม่ทั้ง 2 ถือเป็นตัวแทนแม่บ้านชาวญี่ปุ่นได้อย่างดี การซื้ออาหารสำเร็จรูปมักจะมีราคาเฉลี่ยที่แพงกว่าการซื้อวัตถุดิบมาปรุงเองประมาณ 2-3 เท่า

ซึ่งคนไทยเองก็ติดนิสัยสะดวกสบายตรงนี้ ซื้อเข้ามากินไม่ต้องทำเองไม่ต้องหุงข้าว ไม่ต้องล้างกระทะ แต่ลองคิดดูว่าวัตถุดิบที่เราซื้อมา 1 ครั้งสามารถทำกินได้หลายมื้อ กับอาหารที่เราต้องซื้อทุกมื้อ ลองรวมๆ แล้วอาจช่วยประหยัดเงินได้พอสมควรเลยทีเดียวยิ่งถ้าบ้านไหนมีหลายคนวิธีนี้ยิ่งคุ้มค่า

2. ซื้อสินค้าจากตลาดขายส่ง

s3

ภาพจาก goo.gl/1FfnAZ

คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยนิยมซื้อสินค้าจากร้านขายส่งในปริมาณที่มากแต่มีราคาที่ถูก เช่น Costco เป็นหนึ่งในตลาดขายส่งที่ขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปในญี่ปุ่น

แม้ว่าต้องเสียค่าทำบัตรสมาชิกในตอนแรกแต่การซื้อสินค้าจาก Costco สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรีอนได้เยอะ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกน้อยๆในบ้านหลายคน

3. การเลือกเวลาไปซูเปอร์มาร์เก็ต

s6

ภาพจาก goo.gl/9HozNU

ซูเปอร์มาร์เก็ตในญี่ปุ่นมักกำหนดวันที่มีสินค้าราคาถูก เช่น ทุกวันที่หนึ่งของเดือน ทุกวันอังคาร หรือวันอื่นๆของสัปดาห์ นอกจากนี้ในตอนเย็นก่อนร้านปิดก็มักจะมีการลดราคาสินค้าที่ใกล้หมดอายุแต่คุณภาพยังดี โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่ปรุงในแต่ละวัน ซึ่งเริ่มลดราคาจาก 10 เปอร์เซ็นต์ก่อนร้านปิดประมาณ 3-4 ชั่วโมงเหลือ 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อร้านใกล้ปิด

4.ใช้บัตรสมาชิกสะสมแต้มและคูปอง

p3

ภาพจาก goo.gl/ujrFbg

โดยทั่วไปร้านค้าในญี่ปุ่นมักจะมีบัตรสะสมแต้ม โดยหากซื้อของ 100 เยนก็จะได้คะแนนสะสม 1 คะแนน และเมื่อครบ 500 คะแนนก็จะได้รับบัตรซื้อสินค้าในร้าน หรือบางร้านเปิดให้ใช้คะแนนได้ตามความชอบ ทั้งนี้จะมีวันที่กำหนดให้คะแนนสะสมเป็น 5-10 เท่าของคะแนนสะสม

จึงไม่ต้องแปลกใจหากวันนั้นมีคนแน่นร้านค้า นอกจากนี้หากต้องการซื้อสินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และของเล่นเด็ก คนญี่ปุ่นมักนึกถึงร้านขนาดใหญ่ เช่น Yamada Denki และ Yodobashi Camera

ซึ่งสามารถสะสมคะแนนได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่จ่ายไป และสามารถนำมาใช้ซื้อสินค้าได้ในครั้งถัดไป นอกจากบัตรสะสมแต้มแล้วก็เป็นคูปองและบัตรลดต่างๆที่เมื่อได้รับแล้วสามารถนำไปซื้อสินค้าได้ในราคาถูกกว่าปกติ

5. ร้านสินค้าราคาเดียว

p4

ภาพจาก goo.gl/MAQR3N

ในประเทศไทยก็มีการเอาต้นแบบร้านสินค้าราคาเดียวหรือร้านสินค้าราคาประหยัดมาเป็นรูปแบบการลงทุน ซึ่งในญี่ปุ่นก็ถือเป็นอีกวิธีประหยัดเงินในกระเป๋าโดยแบรนด์ที่คุ้นหูเช่น Daiso และ Seria เป็นร้านร้อยเยนที่มีสินค้าหลากหลายครบครัน ทั้งสะดวกและประหยัดสำหรับคนญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยก็มีมากมายหลายร้านที่เป็นธุรกิจในลักษณะนี้

6.เลือกใช้สินค้ามือ2

p7

ภาพจาก goo.gl/fQwiRr

บางครั้งสินค้ามือ 2 ก็ใช่ว่าจะเป็นของไม่มีคุณภาพ สินค้าบางชนิดสภาพยังดีแต่คนต้องการขายซึ่งก็ทำให้เราประหยัดเงินกว่าการซื้อสินค้าใหม่ ซึ่งในตอนนี้นอกจากร้านขายสินค้ามือ 2 ในอินเทอร์เนตก็มีร้านออนไลน์สินค้ามือ 2 ให้เราตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเทคนิคการเลือกคือทั้งราคาและคุณภาพต้องสมเหตุสมผลกัน

7. การเลือกซื้อเสื้อผ้าในช่วงลดราคา

p6

ภาพจาก goo.gl/DRTFVu

โปรโมชั่นปลายปีมักมีลดราคาโดยเฉพาะเสื้อผ้าที่มักลดเยอะเป็นพิเศษ เราก็ควรวางแผนให้ดีว่าในช่วงลดราคานี้เราจะซื้อเสื้อผ้าแบบไหนอย่างไรเอามาเก็บไว้ ที่สำคัญเราไม่ควรซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆ จะได้เป็นการประหยัดเงิน ซึ่งหากเราเซฟเรื่องการแต่งตัวได้ เงินในกระเป๋าเราก็จะเหลือใช้อย่างอื่นมากขึ้นด้วย

ญี่ปุ่นอาจเป็นประเทศที่หลายคนอยากไปท่องเที่ยว หลายคนคิดว่าอยู่ญี่ปุ่นแล้วสบาย แต่ในความเป็นจริงคนญี่ปุ่นเองก็ต้องประหยัดเช่นกัน ตัวเลขค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นเฉลี่ยปีละ 267,641 เยน (ประมาณ 76,944 บาท)

และปัญหาของการแข่งขันสูงทำให้สังคมญี่ปุ่นมีความเครียดสูง หากมองในอีกมุมสังคมไทยอาจจะมีความยืดหยุ่นดีกว่า แต่คนไทยก็ควรมีเทคนิคใช้ชีวิตให้เป็น ถ้าเราไม่รู้จักขยันและปรับตัว ต่อให้อยู่ในประเทศที่ดีแค่ไหนเราก็อยู่ไม่ได้


SMEs Tips

  1. ซื้อวัตถุดิบมาทำกับข้าวทานเอง
  2. ซื้อสินค้าจากตลาดขายส่ง
  3. การเลือกเวลาไปซูเปอร์มาร์เก็ต
  4. ใช้บัตรสมาชิกสะสมแต้มและคูปอง
  5. ร้านสินค้าราคาเดียว
  6. เลือกใช้สินค้ามือ2
  7. การเลือกซื้อเสื้อผ้าในช่วงลดราคา

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด