7 วิธี “อยู่รอด” ยุค รายได้ไม่มีเพราะ COVID-19
ตั้งแต่มีปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ของคนส่วนใหญ่อย่างมาก ลำพังแค่หากินกันตามปกติก็รายได้แทบไม่พอรายจ่ายกันอยู่แล้ว มาเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเจอปัญหา COVID-19 ซ้ำเติมให้หนักยิ่งขึ้นไปอีก
โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่ถือว่าเป็นจุดพีคสุดๆ ของประเทศไทย ด้วยตัวเลขคนตกงานพุ่งสูงกว่าปกติ กิจการปิดตัวชั่วคราว หลายแห่งตัดสินใจปิดถาวรก็มี บางคนที่ยังได้ทำงานก็ต้องยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดของนายจ้างด้วยการลดเงินเดือนตัวเอง ในขณะที่รายจ่ายทุกอย่างก็ยังเท่าเดิม
ปัญหาเหล่านี้ www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ว่าภาครัฐจะงัดเอามาตรการอะไรออกมาเยียวยาก็ดูจะไม่เป็นผลสักเท่าไหร่ วิธีที่ดีที่สุดคือ เราต้องบริหารจัดการเรื่อง “เงิน” ด้วยตัวเอง ในยุคที่รายได้ไม่มี มีแต่รายจ่ายรอบด้าน บางคนมีค่าเช่าบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิตร หนี้สินต่างๆ คำถามคือจะทำอย่างไรเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยในช่วงเวลาแบบนี้ได้ ลองมาดู 7 เทคนิคการบริหารเงินที่อาจไม่ได้ทำให้เงินเพิ่มขึ้นแต่อย่างน้อยก็รอดตายอยู่ได้แบบไม่เจ็บตัวมากนัก
1.สำรวจสถานภาพการเงินของตัวเองให้ชัดเจน
ภาพจาก pixabay.com/
ก่อนจะไปวางแผนบริหารการเงินเราก็ต้องมาทำความเข้าใจตัวเราเองก่อน ว่าถึง ณ เวลานี้ เรามีเงินในบัญชีเท่าไหร่ มีทรัพย์สินตรงไหนอย่างไรบ้าง คำนวณกับค่าใช้จ่ายประจำวัน ประจำเดือน แยกย่อยให้เห็นภาพว่าแต่ละวันเราต้องจ่ายอะไร
ค่าใช้จ่ายแบบไหนที่เราจำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน เช่นติดหนี้เท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยแพงแค่ไหน เวลาไหนที่ต้องจ่ายหนี้ และเมื่อรู้ตัวเลขการเงินที่ชัดเจนก็ควรเลือกตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกเช่น ค่าเสื้อผ้า อาหารราคาแพง หรือสินค้าที่มีความฟุ่มเฟือยอื่นๆ รวมถึงพยายามไม่ดึงเงินจากเงินที่จะเตรียมเพื่อเกษียณอายุมาใช้ แต่ให้ใช้เงินจากส่วนอื่นๆ ที่เก็บไว้ในยามฉุกเฉินแทน
2.ห้ามหยุดใช้หนี้เด็ดขาด
ภาพจาก pixabay.com/
หลายคนเมื่อไม่มีรายได้ก็จะหาทางออกด้วยการไม่ยอมจ่ายหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ผิดและจะทำให้เราลำบากมากขึ้นในอนาคต แม้รายได้ของเราจะหดหายไม่ว่าจะถูกเลิกจ้าง ถูกลดเงินเดือน เราก็ควรจะต้องใช้หนี้ที่จำเป็นต้องชำระ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ จะกลายเป็นว่าหนี้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่วนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอย่างหนี้เพื่อการศึกษา สามารถค่อยๆ ทยอยจ่ายคืนไปเรื่อยๆ ได้ แต่เรื่องบ้านและรถยนต์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน อย่ามัวแต่พะวงกับหนี้บัตรเครดิต จนลืมสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้กับชีวิตอย่างบ้านและรถยนต์ งหากถูกยึดไปคุณอาจไม่มีที่อยู่อาศัย และใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกว่าเดิมได้
3.รับการช่วยเหลือจากมาตรการของภาครัฐ
ภาพจาก pixabay.com/
ทางภาครัฐเองก็พยายามอย่างเต็มที่เพื่อเยียวยาและช่วยให้ประชาชนได้ผ่อนคลายอุปสรรคด้านการเงิน ดังเราจะเห็นมาตรการต่างๆ ที่ออกมาจำนวนมาก เช่นมาตรการเราไม่ทิ้งกันสำหรับเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการตกงาน
ไม่มีงานทำนอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนทางอ้อม โดยเฉพาะการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำปะปา รวมถึงให้สิทธิ์ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือฟรี แม้ว่าจะดูเป็นเงินจำนวนไม่มากนักแต่ก็สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้ เรียนรู้และรักษาสิทธิประโยชน์ส่วนตัวบ้าง
4.ปรึกษากับธนาคารเพื่อลดภาระการชำระหนี้
ภาพจาก pixabay.com/
ในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบากแบบนี้ หลายธนาคารได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคาร ทั้งการลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือเพียง 5% การพักชำระหนี้บางประเภทชั่วคราว รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งข้อมูลการช่วยเหลือของธนาคารเราสามารถติดตามได้จากหน้าเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร ซึ่งจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
โดยบางมาตรการจะมีผลบังคับใช้กับลูกหนี้ของธนาคารทุกราย แต่บางมาตรการอาจต้องอาศัยการติดต่อเข้าไปเพื่อขอใช้มาตรการความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามการติดต่อธนาคารเพื่อปรึกษาปัญหาทางการเงินเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด หากธนาคารรู้สถานะทางการเงินของเรา ว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ธนาคารจะได้หามาตรการเพื่อช่วยเหลือในการผ่อนชำระหนี้ได้อย่างดีที่สุด
5.ชะลอการเกิดหนี้ใหม่
ภาพจาก pixabay.com/
เมื่อไม่มีรายได้เรื่องการซื้ออะไรที่ไม่จำเป็น หรือแม้แต่การลงทุนใหญ่ๆที่มีความเสี่ยงในช่วงเวลานี้ก็ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เราต้องนึกเสมอว่าต้องพาครอบครัวให้รอดในเวลานี้ก่อน หลังจากนี้ค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร การไม่เพิ่มหนี้ให้ตัวเอง
อย่างน้อยก็เป็นการทยอยใช้หนี้เก่าที่มีอยู่ไปเรื่อยๆ ตัวเลขเงินที่อยู่ในบัญชีเราต้องคำนวณว่าจะอยู่แบบนี้ได้อีกนานแค่ไหน จากสถิติกล่าวว่าคนไทยโดยส่วนใหญ่มีเงินติดบัญชีประมาณ 50,000 บาท และหากไม่มีรายได้เข้ามาเพิ่มเติมคาดการณ์ว่าจะสามารถใช้ชีวิตแบบนี้ได้ประมาณ 3 เดือน ซึ่งการชะลอการเกิดหนี้ใหม่ก็เพื่อรักษาเงินก้อนนี้ให้สามารถใช้ต่อไปได้นานที่สุด
6.เปลี่ยนความรู้ / ความชำนาญให้เป็นเงิน
ภาพจาก pixabay.com/
ต่อให้บริหารจัดการเงินได้ดีแค่ไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการ “หาเงิน” เทคนิคการบริหารเงินเป็นได้แค่การประคองตัวให้รอด แต่จะให้อยู่ได้ในระยะยาวเราต้องมี “รายได้” แต่ในยุคนี้คนตกงานก็เยอะ การจ้างงานก็น้อย จะหาเงินเพิ่มได้จากที่ไหน อันนี้ต้องลองสำรวจตัวเองก่อนว่าเรามีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญด้านไหน และใช้สิ่งที่เรามีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
บางคนมีความรู้ด้านช่างยนต์ ก็อาจจะรับจ้างซ่อมรถยนต์ตามบ้าน หรือบางคนอาจมีความรู้ด้านภาษาก็อาจรับสอนพิเศษตามบ้าน บางคนมีความสามารถด้านทำอาหารก็อาจทำอาหารขายออนไลน์ หรือบางคนมีพรสวรรค์ด้านศิลปะก็อาจจะวาดภาพขาย เหล่านี้เป็นต้น
7.ไม่รู้จะเลือกทำอะไร ลงทุน “แฟรนไชส์” ดีที่สุด
สุดท้ายสำหรับคนที่ไม่รู้เลยว่าตัวเองมีความสามารถแบบไหนอย่างไร จะบริหารการเงินเพียงอย่างเดียวก็คงไม่ทำให้มีรายได้เพิ่มเข้ามา ทางออกที่น่าสนใจคือการเลือกลงทุนในระบบแฟรนไชส์ ซึ่งควรเลือกแฟรนไชส์ที่ใช้งบในการลงทุนน้อยๆ เช่นไม่เกิน 5,000 -10,000 หรือบางทีเจ้าของแฟรนไชส์ในช่วงนี้ก็มีโปรโมชั่นน่าสนใจที่เอาใจคนอยากลงทุนก็อาจเป็นอีกช่องทางให้เราเลือกลงทุนได้ในราคาเบาๆ
ซึ่งข้อดีของการลงทุนกับแฟรนไชส์คือเราได้อุปกรณ์ วัตถุดิบ และการยอมรับของลูกค้าที่มีจำนวนมาก ทำให้เราไม่ต้องไปเริ่มจากศูนย์ หลายแฟรนไชส์เป็นสินค้าขายดี ขอแค่เราขยันและตั้งใจทำจริง ในช่วงวิกฤติโควิดแบบนี้เราก็จะก้าวผ่านไปได้
การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นเหมือนบทเรียนให้คนทั้งประเทศได้จดจำว่าเราไม่ควรประมาทเรื่องการทำงาน การลงทุน เพราะในอนาคตอาจมีสิ่งที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้น หลายคนอาจมองว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งนี้มีผลกระทบรุนแรงที่สุด แต่อาจจะมีที่รุนแรงยิ่งกว่าในอนาคต ก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต่อจากนี้ต้องรู้จักการบริหารการเงินที่ดี วางแผนการลงทุนที่ดี มีแผนสำรองไว้รับมือยามเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2XMzbTY