7 ปัจจัยทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์

การทำธุรกิจแฟรนไชส์มีข้อดีตรงที่สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้ออกเงินลงทุนในการขยายสาขา อีกทั้งยังสามารถกระจายสินค้าและบริการไปในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างแพร่หลาย

จึงไม่แปลกที่เจ้าของธุรกิจจำนวนมากจะผันตัวมาเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ บางรายสำเร็จ บางรายไม่สำเร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก DNA ของธุรกิจเอง ปัจจัยอะไรบ้างทำให้ธุรกิจเหมาะสำหรับทำ แฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 7 ปัจจัยทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ให้ทราบ

1. ขนาดของกิจการ

7 ปัจจัยทำธุรกิจ

ธุรกิจที่เหมาะสำหรับการทำ แฟรนไช ส์ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรขนาดกลางขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หากเป็นองค์กรขนาดเล็กอาจทำให้ขาดทีมงานช่วยเหลือและสนับสนุนแฟรนไชส์ซี แต่ถ้าเป็นองค์กรขนาดกลางขึ้นไปจะมีความพร้อมในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาแฟรนไชส์ซีให้เจริญเติบโต

2. อายุของกิจการ

13

หลายธุรกิจเปิดดำเนินการมาได้เพียง 1-2 ปี ก็เปิดขายแฟรนไชส์ เพียงเพราะเชื่อมั่นในสินค้าและบริการของตัวเอง แต่สาขาที่เปิดทดลองขายและลองผิดลองถูกยังมีไม่กี่แห่ง สุดท้ายทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ดูได้จาก 7-Eleven ก่อนจะขายแฟรนไชส์ต้องเปิดสาขาของตัวเองนำร่องหลายสาขา เพื่อทดลองว่าธุรกิจจะสามารถเดินหน้าไปได้หรือไม่ เกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง ดังนั้น ธุรกิจที่สามารถทำแฟรนไชส์ได้ต้องอายุยาวมากกว่า 5 ปี

3. อัตราทำกำไรของกิจการ

14

ธุรกิจที่มีกำไรคือปัจจัยอย่างหนึ่งที่เหมาะสำหรับการทำแฟรนไชส์ หลักการของระบบแฟรนไชส์คือคุณไม่สามารถนำธุรกิจที่ขาดทุนและไม่ประสบความสำเร็จไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้ เพราะไม่มีคนอยากซื้อความล้มเหลว ดังนั้น ถ้าธุรกิจของคุณยังทำกำไรไม่ได้อย่าฝ่าฝืนกฎของระบบแฟรนไชส์ โดยกำไรที่ได้ในแต่ละเดือนต้องมากกว่า 2 หมื่นบาท

4. กระบวนการถ่ายทอด

15

ธุรกิจที่ถ่ายทอดให้คนอื่นได้ยากไม่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วปฏิบัติตามไม่ได้ เมื่อปฏิบัติตามไม่ได้ก็ไม่สามารถขายได้ ดังนั้น กิจการที่สามารถทำแฟรนไชส์ได้ดี ต้องสามารถถ่ายทอดและฝึกอบรมให้กับคนอื่นนำไปปฏิบัติตามได้ง่าย เพราะแฟรนไชส์เป็นการขายระบบความสำเร็จของธุรกิจที่ผ่านการลองผิกดลองถูกมาแล้ว

5. ร้านสาขาต้นแบบ

21

ก่อนทำแฟรนไชส์ควรเปิดร้านสาขาเพื่อลองผิดลองถูก หากเปิดร้านสาขาแล้วเกิดความผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าขายให้คนอื่นไปแล้วอาจแก้ไขได้ยาก ถ้าร้านคุณเปิดในพื้นที่แตกต่างกันก็จะทำให้คุณรู้ถึงมีปัญหาที่แตกต่างกันมีอะไรบ้าง ตรงนี้จะช่วยให้คุณมีทักษะในการหามาตรการบริหารร้านที่อยู่ในพื้นที่ต่างกันได้ โดยร้านต้นแบบควรมี 4-5 สาขา

6. งบการลงทุน

20

ธุรกิจที่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ควรลงทุนไม่สูงเกินไป เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีความเสี่ยงในการขาดทุน คืนทุนได้ยาก และธุรกิจจะหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ยาก ยิ่งในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองรวมถึงการระบาดโควิด-19 ทำให้เงินเก็บเงินออมเหลือน้อย จึงทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียโอกาสในการขยายตัว โดยงบการลงทุนที่เหมาะในยุคนี้ต้องไม่เกิน 2 ล้านบาท

7. การนำเทคโนโลยี

ถจ

อีกหนึ่งองค์ประกอบของธุรกิจที่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์ คือ สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการร้าน เพื่อให้มีความง่าย สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องของการชำระเงิน ระบบ POS ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เพราะต่อไปพฤติกรรมการใช้เงินสดจะน้อยลง จะเห็นพนักงานจะน้อยลง

นั่นคือ 7 ปัจจัยทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจที่อยากทำแฟรนไชส์ ลองสำรวจธุรกิจของตัวเองว่า มีองค์ประกอบข้างต้นหรือไม่ หากมีเชื่อว่าน่าจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

Franchise Tips

  1. ขนาดของกิจการ
  2. อายุของกิจการ
  3. อัตราทำกำไรของกิจการ
  4. กระบวนการถ่ายทอด
  5. ร้านสาขาต้นแบบ
  6. งบการลงทุน
  7. การนำเทคโนโลยี

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3zJYSFH

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช