7 ปัจจัยกระตุ้นให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น
เชื่อว่าหลายคน ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง มาจากความชอบส่วนตัว ราคา และตอบโจทย์ความต้องการของตัวเองได้ แต่ในระบบแฟรนไชส์อาจมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
เพราะธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการถ่ายทอดความสำเร็จให้กับคนอื่น ซึ่งผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยต่างๆ มาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจซื้ออย่างรอบคอบ
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอ 7 ปัจจัย กระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจมากขึ้น เพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ สร้างรายได้ให้กับตัวเองและเลี้ยงดูครอบครัว มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
1. แบรนด์แฟรนไชส์เป็นที่รู้จักวงกว้าง
คือทุกอย่างที่แฟรนไชส์มีอยู่ทั้งหมด ตลอดจนความรู้สึกบางอย่าง ที่ผู้บริโภคมีกับสินค้าหรือตราสินค้านั้นๆ โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ ความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ สถานภาพ ประสบการณ์ และความสัมพันธ์ หากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ได้สร้างตราสินค้าให้มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ก็จะทำให้ตราสินค้าแฟรนไชส์นั้นๆ มีฐานลูกค้ารองรับ เป็นที่ต้องการของตลาด ซื้อไปเปิดแล้วคนรู้จัก เข้ามาใช้บริการ จะทำให้มีคนอยากซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น
2. สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภค
คืออะไรก็ได้ที่สามารถนำเสนอขายสู่ตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและความพึงพอใจ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของ บริการ แนวคิดองค์การ ตัวบุคคล สถานที่ รวมถึงองค์ประกอบในตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากเจ้าของแฟรนไชส์ให้สิทธิผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในการขายสินค้าที่ตนเองผลิตขึ้น โดยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีโอกาสเติบโต เป็นสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอในตลาดมาก่อน รวมถึงมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จ ก็จะยิ่งทำให้นักลงทุน อยากซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น
3. การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์
เป็นการดำเนินการหรือกิจกรรมที่เจ้าของแฟรนไชส์ จัดไว้ให้แก่ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ ได้แก่ การเลือกทำเลที่ตั้ง การสนับสนุนการขาย การให้คำแนะนำ และคำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง การวิจัยและการพัฒนา การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย การคัดเลือกผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อจัดสรรวัตถุดิบให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ตลอดจนการฝึกอบรม ที่จะทำให้ธุรกิจของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจประสบความสำเร็จ หากใครสนใจแฟรนไชส์ได้เห็นว่าเจ้าของแฟรนไชส์ให้การสนับสนุนที่ดีจะซื้อง่าย
4. ความไว้วางใจสินค้าและบริการ
ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ จะให้ความไว้วางใจในเรื่องของสินค้าหรือบริการ วัตถุดิบ เครื่องมือ อุปกรณ์ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจของเจ้าของแฟรนไชส์ โดยเจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีการศึกษาความต้องการของลูกค้า ก่อนนำสินค้ามาลงในร้าน มีการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีจุดเด่น และมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ตลอดจนมีการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนมีเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการผลิตที่ทันสมัย
5. ความน่าเชื่อถือของแฟรนไชส์
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีความสามารถในการให้บริการในระดับหนึ่ง มีการอบรมพนักงานให้บริการได้ตรงตามที่สัญญาไว้ การเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า และการนำข้อมูลมาใช้ในการให้บริการแก่ลูกค้า การทำงานไม่ผิดพลาด การบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมใช้งานเสมอ และการมีจำนวนพนักงานเพียงพอต่อการให้บริการ
ผู้ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ จะพิจารณาจากความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง ความชำนาญ ประวัติประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ระบบการจัดการที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ รางวัลการันตีคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การได้รับมาตรฐานระดับสากล รวมถึงกิจกรรมที่เจ้าของแฟรนไชส์ทำ มีความน่าสนใจน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการรับประกันว่า เมื่อผู้ซื้อแฟรนไชส์มาดำเนินธุรกิจแล้ว จะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างสะดวก และได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะแสดงถึงความมั่นคง และความน่าเชื่อถือของธุรกิจแฟรนไชส์
6. ความภาคภูมิใจเป็นส่วนหนึ่งแฟรนไชส์
นักลงทุนจะพิจารณาในเรื่องของความผูกพันต่อตราสินค้า ว่าตัวเองชอบและซื้อสินค้านั้นๆ มากน้อยแค่ไหน ถ้าซื้อซ้ำแสดงว่าสินค้าดีจริงๆ ตอบโจทย์ความต้องการได้ ทำให้รู้สึกพึงพอใจต่อธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ เมื่อรู้สึกพึงพอใจ รู้สึกผูกพัน ก็จะมีความภูมิใจอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจแฟรนไชส์ เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับตราสินค้ามาเป็นเวลานาน
7. ประสบการณ์ของแฟรนไชส์ซอร์
ภาพจาก bit.ly/2WFZfQM
เป็นความเชี่ยวชาญของเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เกิดจากเรียนรู้จากการทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเวลานาน ทำมาหลายปี จนมีความชำนาญในธุรกิจนั้นๆ มีจำนวนสาขามาก และสามารถสนับสนุนการดำเนินงานให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
อย่างกรณีของ 7-Eleven เจ้าของหรือบริษัทแฟรนไชส์ มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจค้าปลีกมายาวนาน มีคนสนใจแฟรนไชส์ ทำให้สามารถขยายสาขาได้เป็นจำนวนมาก เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความเชื่อมั่นว่า เมื่อตัวเองซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว จะประสบความสำเร็จเหมือนกับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ เพราะมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ มีระบบบริหารจัดการ ระบบการถ่ายทอด การอบรม การสนับสนุนต่างๆ ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับเจ้าของแฟรนไชส์
ทั้งหมดเป็น 7 ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ผู้คนอยากซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะคนที่ตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่มีเงินลงทุนที่เพียงพอ มีความตั้งใจทำธุรกิจ มีความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ มองเห็นโอกาสเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ในอนาคต แต่หลายคนอาจจะตัดสินใจยาก กังวล แต่เมื่อมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น จึงควักเงินลงทุนง่ายขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
Franchise Tips
- แบรนด์แฟรนไชส์เป็นที่รู้จักวงกว้าง
- สินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภค
- การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์
- ความไว้วางใจสินค้าและบริการ
- ความน่าเชื่อถือของแฟรนไชส์
- ความภาคภูมิใจเป็นส่วนหนึ่งแฟรนไชส์
- ประสบการณ์ของแฟรนไชส์ซอร์
อ้างอิงจาก https://bit.ly/39ijPfi
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise