7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

เคยสงสัยหรือไม่ว่า สูตรความสำเร็จของแฟรนไชส์ซีคืออะไร หลายๆ คนประสบความสำเร็จ แต่มีบางคนไม่ประสบความสำเร็จ ในบทความนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 7 นิสัย ของแฟรนไชส์ซี ที่มักประสบความสำเร็จในหารเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์

1.ปฏิบัติตามเงื่อนไขแฟรนไชส์ซอร์

7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีที่ประสบกับความล้มเหลวในการทำธุรกิจ ส่วนมากมีสาเหตุมาจากไม่ปฏิบัติตามระบบที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ได้เขียนและกำหนดเอาไว้ พูดง่ายๆ คือแหกกฎ ไม่เดินตามกติกามาตรฐานที่ตั้งเอาไว้ เช่น ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์ประเภทหนึ่งมาขาย แต่คุณเอาสินค้าอื่นเข้ามาขายปะปนในร้านด้วย ทำให้ผิดคอนเซ็ปต์และทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์คุณไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด

ดังนั้น หากคุณต้องการที่จะทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาให้ประสบความสำเร็จ ขั้นแรกคุณต้องทำตามระบบแฟรนไชส์ที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ได้ประสบความสำเร็จมาก่อนแล้ว ถ้าจะมีแนวคิดบริหารธุรกิจที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากระบบแฟรนไชส์ที่วางเอาไว้ คุณควรที่เข้าไปปรึกษาหารือกับบริษัทแม่ก่อน

2. แก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยตัวเอง

7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

เป็นธรรมดาที่แฟรนไชส์ซอร์จะให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่แฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดนั้น ต้องสามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ด้วยตนเอง แฟรนไชส์ซอร์ไม่ใช่เจ้านายของแฟรนไชส์ซี ที่จะต้องไปขอให้แฟรนไชส์ซอร์ช่วยเหลือตลอดเวลา

ต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ ต้องมีแรงจูงใจในตนเอง และสามารถหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ต้องใช้แนวทางสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา พวกเขาสามารถเอาชนะความท้าทาย

3. กล้าที่จะพูดและแสดงความคิดเห็น

7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

แม้ว่าแฟรนไชส์ซียินดีที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ แต่แฟรนไชส์ซีที่ดีต้องไม่กลัวที่จะพูดและเสนอแนะแนวทางการดำเนินธุรกิจแก่แฟรนไชส์ซี เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน มีแนวคิดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในอีกด้านหนึ่งแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ยินดีที่จะรับข้อเสนอแนะและแนวคิดที่แฟรนไชส์ซอร์แบ่งปัน

อย่างไรก็ตามแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้ที่มีแนวคิดทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยม แต่มีแนวโน้มว่าแฟรนไชส์วอร์จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน เหมือนกรณีแมคโดนัลด์ ที่ผู้ก่อตั้งหรือแฟรนไชส์ซอร์จะได้รับข้อเสนอแนะที่ดีจากแฟรนไชส์ซี

4. มองหาวิธีการพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ

7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจำเป็นอย่างยิ่งที่แฟรนไชส์ซีจะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงในภาคส่วนของตนอยู่เสมอ แฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ส่วนมากจะนิยมทำการวิจัยตลาดในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้ทราบว่าคู่แข่งกำลังทำอะไรอยู่

ยิ่งไปกว่านั้นเป็นการมองหาวิธีพัฒนาใหม่ๆ แนวคิด และวิธีการทำงานเพื่อยกระดับธุรกิจของตนไปอีกขั้น เช่น การเข้าร่วมการสัมมนา การอ่านข่าวต่างๆ บนเว็บไซต์ เป็นต้น เพื่อจะได้เอาชนะปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

5. มีทักษะของความเป็นผู้นำ

7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

แม้แต่แฟรนไชส์ซีที่มีความทะเยอทะยาน ทุ่มเท และสร้างสรรค์มากที่สุด ต้องมีสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งนั่นคือ ทักษะความเป็นผู้นำ และเมื่อพูดไปแล้วคุณก็เก่งพอๆ กับทีมของคุณเท่านั้น แฟรนไชส์ซีที่ดีที่สุดต้องสามารถกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจและจัดระเบียบพนักงาน และขับเคลื่อนทั้งหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ หากความเป็นผู้นำของคุณทำให้พนักงานของคุณรู้สึกกังวล สับสน หรือไม่เห็นคุณค่า ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะไม่มีวันประสบความสำเร็จ

แฟรนไชส์ซีที่มีประสิทธิผลต้องทำความรู้จักกับพนักงานแต่ละคน และเข้าใจว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้พวกเขา สิ่งนี้จะช่วยให้พวกเขาปรับรูปแบบความเป็นผู้นำเพื่อเชื่อมต่อ และสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานตามความต้องการของแต่ละคน

6. พร้อมที่จะทำงานอย่างหนัก

7 นิสัยของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

บางคนเชื่อว่าการซื้อระบบแฟรนไชส์ ก็เหมือนกับการได้ธุรกิจที่พัฒนาเต็มรูปแบบจัดไว้ในกล่อง แม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ผู้แฟรนไชส์ก็ต้องใช้ความทุ่มเท มีความมุ่งมั่น

และพร้อมทำงานหนัก เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แฟรนไชส์ซีที่ไม่ตั้งใจทำงานมักจะอยู่รอดได้ไม่เกิน 2-3 ปี แต่แฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาในการทำงาน ไม่มีวันหยุด ขาดความเป็นอิสระ

7. ยืดหยุ่น หาเวลาผ่อนคลาย พักผ่อน

4

แม้ว่าแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จจะทุ่มเทเวลาไปกับการทำงานอย่างหนัก ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน แต่แฟรนไชส์ซีที่ดีก็ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายของตัวเองด้วย รู้จักหาเวลาพักผ่อนร่างกาย หาเวลาท่องเที่ยวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หาแนวคิดในการทำธุรกิจใหม่ๆ อาจจะมีวันหยุดให้กับตัวเอง เพราะธุรกิจไม่สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณเจ็บป่วยจากการโหมทำงานอย่างหนัก นั่นยิ่งจะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

7 นิสัย ของแฟรนไชส์ซีที่ประสบความสำเร็จหลายราย ส่วนใหญ่จะเลือกจ้างพนักงานมาช่วยดำเนินธุรกิจแบบวันต่อวัน คุณไม่จำเป็นสำหรับทำงานในทุกหน้าที่ แต่ถ้าคุณทำแฟรนไชส์ร้านอาหาร หรือแฟรนไชส์แบบซื้อกลับบ้าน คุณจะพบว่าคุณไม่สามารถทำได้ทุกบทบาท จำเป็นต้องจ้างพนักงานที่มีทักษะและประสบการณ์ แฟรนไชส์ที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองทั้งหมด และมีเวลาหยุดงาน มีเวลาพักผ่อนสำหรับตัวเอง สำหรับครอบครัว

Franchise Tips

  1. ปฏิบัติตามเงื่อนไขแฟรนไชส์ซอร์
  2. แก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยตัวเอง
  3. กล้าที่จะพูดและแสดงความคิดเห็น
  4. มองหาวิธีการพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ
  5. มีทักษะของความเป็นผู้นำ
  6. พร้อมที่จะทำงานอย่างหนัก
  7. ยืดหยุ่น หาเวลาผ่อนคลาย พักผ่อน

ขอบคุณข้อมูลจาก https://bit.ly/3amN6Hu

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dKOt4K

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช