7 ข้อคิดทำธุรกิจส่วนตัว VS งานประจำ เราทำคู่กันได้!

ในยุคสมัยใหม่การทำ งานประจำ เพียงอย่างเดียวอาจสร้างรายได้ไม่มากพอ โดยเฉพาะกับค่าครองชีพที่สูงมากขึ้น หลายคนมองหาธุรกิจส่วนตัวแต่ก็ไม่อยากทิ้งงานประจำ

www.ThaiSMEsCenter.com จึงมี 7 แนวทางสำหรับคนที่กำลังทำงานประจำและมองหาโอกาสในการทำธุรกิจส่วนตัวบางทีเราสามารถใช้สิ่งที่เราทำอยู่ประจำมาพัฒนาให้กลายเป็นธุรกิจของตัวเองขึ้นมาได้ลองดูตัวอย่างทั้งหมดนี้อาจมีเป้าหมายในใจหลังอ่านบทความนี้จบก็เป็นได้

1.สร้างไอเดียให้ได้ก่อน

งานประจำ

ภาพจาก goo.gl/shjd88

ในการที่เราเป็นพนักงานประจำนั่นหมายความว่าเรามีเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยในแต่ละวันและแน่นอนว่านายจ้างคุณเองก็คงไม่ปล่อยให้เรามานั่งเพ้อจินตนาการถึงธุรกิจส่วนตัวนายจ้างก็ต้องมุ่งหวังกับเนื้องานให้สมกับเงินเดือนที่เขาจ้างมาก

ทั้งนี้สิ่งที่เราทำได้ในระหว่างการทำงานคือการหาไอเดียที่อยู่ในเนื้องาน แล้วพัฒนาออกมาเป็นรูปแบบธุรกิจซึ่งจะเป็นงานที่เราถนัดและเราอยู่ใกล้ชิดก็จะทำให้การเริ่มต้นธุรกิจนั้นเริ่มได้ง่ายขึ้นโดยที่งานประจำก็ไม่สั่นคลอนด้วย

ยกตัวอย่างของเรื่องนี้เช่น Shara Senderoff ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น CEO ของ Career Sushi ตลาดออนไลน์ที่นายจ้างสามารถสร้าง Portfolio แบบ Visual สุด Cool เพื่อดึงดูดให้ผู้คนไฟแรงมาสมัครงาน

โดย Senderoff นั้นเธอเคยเป็นพนักงานบริษัททำโปรดักชัน ทั้งรายการทีวีและภาพยนตร์ให้กับ Hollywood จึงมีความรู้มากพอสำหรับการทำ Branding website รวมถึงการลงรายละเอียดใน Platform ก็นำมาสู่การสร้างไอเดียของธุรกิจตัวเองได้ในที่สุด

2.รู้จักการแบ่งเวลาทำงานให้สมดุลระหว่างธุรกิจส่วนตัวและงานประจำ

tt21

ภาพจาก goo.gl/e2fJOm

หลายคนบอกว่างานประจำก็ยุ่งจนไม่มีเวลา จนต้องเลือกว่าจะงานประจำดีกว่าหรือทำธุรกิจดีกว่า แต่ที่จริงสองอย่างนี้ทำคู่กันได้ขอเพียงรู้จักการใช้ ตารางเวลาให้เป็นประโยชน์

ถ้ายังมองไม่เห็นภาพก็ยกตัวอย่างกันมาให้ชัดเจนสักหน่อย เช่น Allyson Downey ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ weeSpring ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รีวิวผลิตภัณฑ์สำหรับทารก เพื่อให้การทำงานของเธอและธุรกิจโตไปพร้อมกัน โดย Downey ใช้ชาร์ทที่วางอยู่บนโต๊ะของเธอ เพื่อกำหนดเป้าหมายในแต่ละวัน

tt22

ภาพจาก goo.gl/hHY4i6

ว่าเว็บไซต์ของเธอมีสิ่งไหนที่ต้องปรับปรุงก่อนและหลัง ซึ่งใช้เวลาหลังเลิกงานในการลงมือโดยแก้ไขในจุดที่จำเป็นก่อนเท่ากับเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงทีด้วย

3.สร้างระบบในธุรกิจตัวเองให้แบ่งเบาภาระได้

tt23

ภาพจาก goo.gl/bGcXHk

Guy Baroan เป็นอีกหนึ่งคนที่เอาดีกับการทำธุรกิจส่วนตัวร่วมกับการทำงานประจำโดยธุรกิจของ Baroan คือ Baroan Technologies เป็นโฮสต์สำหรับการรับจัดงานรื่นเริงตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีลูกจ้างในธุรกิจส่วนตัวของเขากว่า 18 คนสามารถรับงานได้จำนวนมากในแต่ละเดือน

ทั้งนี้ Baroan ให้แง่คิดว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะให้คนอื่นสามารถทำงานแทนได้ คือ การสร้างกระบวนการทำงานและระบบขึ้นมา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระและให้ระบบได้ดูแลตัวเองได้โดยเมื่อธุรกิจมีระบบที่มั่นคงก็ทำให้ผู้ลงทุนมีเวลาในการทำอย่างอื่นมากขึ้น โดยปัจจุบันธุรกิจของเขาสร้างรายได้ถึงปีละ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ

4.ถ้าธุรกิจส่วนตัวเริ่มมีปัญหาต้องหาทางแก้ไขทันที

tt24

ภาพจาก goo.gl/LVTSRz

Katie Stack เป็นพนักงานในแผนกเครื่องแต่งกายของโรงละครแห่งหนึ่ง ซึ่งหน้าที่ในการเป็น Designer นี้ทำให้ Stack มองเห็นปัญหาของงานประจำที่ตัวเองทำอยู่นั้นคือเรื่องความต้องการที่ไม่ตรงกันของลูกค้าและเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแบบ เรื่องสี เรื่องดีไซน์ต่าง ๆ

ด้วยเหตุนี้เมื่อเขานำปัญหาเหล่านี้มาก่อตั้งธุรกิจตัวเองคู่กันไปในชื่อ Stitch & Rivet ซึ่งเป็นร้านออกแบบเสื้อผ้าแนวบูติคในวอชิงตันดีซี สิ่งที่เน้นมากคือการลดปัญหาเรื่องความไม่แฮปปี้ด้วยการหาวัตถุดิบและออกแบบตามแบบที่ลูกค้าต้องการชนิดแก้จุดต่อจุดเพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุดด้วย

5.วางแผนรับมือกับความผันผวนทางการเงิน

tt25

ภาพจาก goo.gl/dcB2Yo

Heidi Andermack ใช้ประสบการณ์จากที่เคยทำงานประจำด้วยการออกแบบ Font ซึ่งเป็นบริษัทงานประจำที่มีขนาดเล็กแต่นั่นก็ทำให้ Andermack เข้าใจในเรื่องความผันผวนของกระแสเงินสดได้อย่างดี

เมื่อเริ่มทำธุรกิจของตัวเองควบคู่กันไปอย่าง Chowgirls Killer Catering จึงมีการตั้งกฏการเงินขึ้นโดยจำกัดสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อให้บริษัทดำเนินต่อไปได้ในช่วงฝืดเคือง หลีกเลี่ยงการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมองหาธนาคารที่อนุมัติปล่อยกู้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ Andermack กล่าวว่าการทำงานประจำนั้นทำให้เราไม่มีเวลาดูแลการเงินเท่าที่ควรก็ควรมีแผนสำรองในยามฉุกเฉินเพื่อรักษาสถานะทางธุรกิจให้คงอยู่ได้จนตราบเท่าที่เราเลิกทำงานประจำจะได้เข้าไปสานต่อธุรกิจตัวเองได้อย่างแข็งแรงยิ่งขึ้น

6.หาพนักงานที่ไว้ใจช่วยในการดูแลกิจการ

tt27

ภาพจาก goo.gl/6GIVOa

ลำพังการทำงานประจำก็คงทำให้เราไม่มีเวลามาดูแลกิจการส่วนตัวได้แบบเต็มที่นัก รูปแบบที่ดีที่สุดคือการหาพนักงานที่ต้องเชื่อใจได้และมีความรอบรู้มากพอในการทำธุรกิจร่วมถึงเป็นที่ปรึกษาของเราได้ในบางโอกาส นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก

อีกทั้งเราควรให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานที่ว่านี้แบบสมน้ำสมเนื้อและมีสวัสดิการดูแลที่ดีมากพอเพื่อจูงใจให้ภักดีต่อองค์กรและธุรกิจนั้นด้วยการจ่ายเงินเดือนให้สูงกว่าที่อื่น และให้สิทธิประโยชน์แบบใจป้ำเช่นพนักงานสามารถใช้เวลาดูแลพ่อแม่ได้ 1 เดือน สามารถลาพักร้อน 3 อาทิตย์ เป็นต้น

7.ดูแลลูกค้าในธุรกิจตัวเองให้ดีที่สุด

tt26

ภาพจาก goo.gl/Kf5ZPt

Kevin Jordan ที่ทำงานเป็นนักบินพาณิชย์ให้กับสายการบินแห่งหนึ่ง มีบทเรียนจากการทำงานที่เอามาประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจตัวเองอย่างได้ผล โดยธุรกิจของเขาคือ Redpoint ที่ปรึกษาด้านการตลาดในตั้งอยู่ในเมือง Farmville รัฐ Virginia

แม้ตัวเขาเองจะมีเวลาไม่มากนักกับการทำงานประจำเป็นนักบินแต่สิ่งที่เขานำมาใช้คือระบบของนักบินที่ต้องตรวจสอบเครื่องยนต์และความปลอดภัยของเครื่องบินก่อนทำการบิน

ซึ่งส่วนใหญ่ผู้โดยสารจะไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เมื่อมาปรับใช้ในธุรกิจก็คือการที่ Jordan ให้พนักงานของเขาสัมภาษณ์ลูกค้าในทุกคนเพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่ทุกคนต้องการจะแก้นั้นคือการเทคแคร์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและอยากใช้บริการธุรกิจของ Jordan เป็นอย่างมาก

ทั้ง 7 ข้อ 7 ตัวอย่าง 7 แนวทางที่เรานำเสนอให้นี้คงพอทำให้หลายคนมองเห็นภาพของการเริ่มต้นธุรกิจที่ชัดเจนได้มากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องหาตัวเองให้เจอว่าชอบ ว่าต้องการทำอะไร จากนั้นก็ใช้ประโยชน์จากทักษะของานประจำที่เราคุ้นเคยมาช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตคงเป็นทางเลือกที่ดีที่เราจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น

สำหรับใครที่อยากมีธุรกิจแต่ยังมองหารูปแบบธุรกิจที่ต้องการไม่ได้ลองเลือกจากระบบแฟรนไชส์ที่มีหลายธุรกิจให้เลือกลงทุนได้ตามความเหมาะสม ดูรายละเอียดที่ goo.gl/s4b779

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด