7-Eleven ญี่ปุ่น! สู้วิกฤติแรงงาน! สู่แนวคิด “เปิดไม่ครบ 24 ชม.”
เราคุ้นเคยกับบริการ 24 ชม.ของ 7-Eleven ที่ถือเป็นจุดขายสำคัญนอกเหนือจากบริการต่างๆ ที่มีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าอยากทำอะไรแค่แวะมา 7-Eleven สะดวกครบ จบในที่เดียว แต่ในญี่ปุ่นกลับเกิดปัญหาวิกฤติด้านแรงงานที่ส่งผลกระทบถึง 7-Eleven
ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาธรรมดาแต่เป็นปัญหาระดับชาติและส่งผลกระทบต่อผู้ลงทุนแฟรนไชส์ของ 7-Eleven โดยตรงถึงขนาดที่แฟรนไชส์ซีของ 7-Eleven บางแห่งเลือกที่จะเปิดไม่ครบ 24 ชม. และยังเลือกปิดร้านในช่วงเทศกาลปีใหม่อีกด้วย www.ThaiSMEsCenter.com มองว่านี่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและไม่ใช่เรื่องไกลตัวในสังคมบ้านเราแต่อย่างใด
ภาพจาก https://nyti.ms/39JIUzx
สังคมผู้สูงวัยเป็นปัญหาหลักของญี่ปุ่นปัจจุบันมีสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปสูงถึง 28% ของประชากร หรือเกือบ 1 ใน 3 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 35.3% ในปี 2583 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานทั่วทุกภาคส่วน แม้แต่ธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่มักมีนักเรียนนักศึกษา-แม่บ้านมาสมัครเป็นพนักงานพาร์ตไทม์หมุนเวียนอยู่เสมอยังได้รับผลกระทบ
เนื่องจากการขยายสาขาอย่างรวดเร็วสะท้อนจาก 7 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่มีสาขารวมกันถึง 55,483 สาขา สูงกว่า 10 ปีก่อน 30% ทำให้ไม่สามารถหาพนักงานมาประจำสาขาได้มากพอ แม้จะขึ้นค่าแรงอีก 2.4% เป็น 1,039 เยนต่อชั่วโมงแล้วก็ตาม
เปิดแล้วไม่คุ้ม! ผู้ลงทุนแฟรนไชส์เลือกขัดแย้งกับเจ้าของแฟรนไชส์
ภาพจาก https://nyti.ms/39JIUzx
กรณีตัวอย่างของปัญหานี้คือ นาย Mitoshi Matsumoto หนึ่งในผู้ซื้อเฟรนไชส์ 7-Eleven สาขาโอซาก้าที่เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมาได้ปิดร้านในช่วงเช้ามืด รวมถึงจะขอหยุดในช่วงปีใหม่ด้วย สร้างความไม่พอใจให้กับ 7-Eleven Japan ที่ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนว่าทำอย่างนั้นไม่ได้
ซึ่งสุดท้ายทั้งสองฝ่ายก็เจรจากันไม่ได้ ทางให้กับ 7-Eleven Japan ตอบโต้ด้วยการไม่ส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ในการจำหน่าย ทำให้ 7-Eleven ของนาย Mitoshi Matsumoto ว่างเปล่าราวกับเป็นร้านโล่งๆ และเรื่องราวความไม่ลงรอยของทั้งสองฝ่ายก็กำลังจะเข้าสู่ชั้นศาลแล้ว
ภาพจาก https://nyti.ms/39JIUzx
ซึ่งจะว่าไปแล้วนาย Mitoshi Matsumoto คนนี้ก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่ทำให้ 7-Eleven Japan มีการปรับเปลี่ยนระบบจากที่เคยเปิดตลอด 24 ชม.แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นาย Mitoshi Matsumoto ได้เริ่มปิดร้านในเวลากลางคืน
ซึ่งนาย Mitoshi Matsumoto มองว่าเป็นการลดชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างให้น้อยลงและแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน แต่แน่นอนว่าสิ่งที่เขาทำมันขัดแย้งกับหลักการของ 7-Eleven Japan ซึ่งในตอนนั้นดูเหมือนจะมีความคิดเห็นตามมาหลากหลายและนำไปสู่การทดลองปรับลดเวลาเปิดร้าน 24 ชั่วโมง
ภาพจาก https://nyti.ms/39JIUzx
โดยมีร้านค้า 8 แห่งจะเริ่มทดลองลดระยะเวลาเปิดร้านตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นไป เนื่องจากหาพนักงานกะกลางคืนยากขึ้น นอกจากนี้ยังมีร้านค้าอีก 200 แห่งจาก 21,000 สาขาทั่วประเทศเตรียมเข้าร่วมทดลอง
แต่ในเคสล่าสุดไม่ใช่ปัญหาเรื่องการเปิดไม่ครบ 24 ชม. แต่เป็นปัญหาการผิดสัญญาที่จู่ๆก็ปิดร้านทั้งๆที่ในสัญญาระบุว่าต้องเปิดทุกวัน ซึ่งในเรื่องเวลาอาจมีการผ่อนปรนไม่ต้องเปิด 24 ชม.เหมือนแต่ก่อน
ภาพจาก bit.ly/2ZWYG5t
ซึ่งแนวคิดการเปิดบริการไม่ครบ 24 ชม.ของร้านสะดวกซื้อไม่ใช้แค่เฉพาะ 7-Eleven เท่านั้น FamilyMart ก็เป็นอีกหนึ่งยักษ์ร้านสะดวกซื้อ ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีร้านค้า 612 แห่ง หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.7% ของร้านแฟรนไชส์กำลังทดลองชั่วโมงในการเปิดร้านที่สั้นลง จะตัดสินใจว่าจะยุติการให้บริการ 24 ชั่วโมงหรือไม่
ขณะที่ Lawson ได้ออกมาเปิดเผยเช่นกันว่า ปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 100 แห่งหยุดให้บริการในเวลากลางคืน เนื่องจากสัญญากับเจ้าของแฟรนไชส์ไม่จำเป็นต้องเปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง
การขาดแคลนแรงงาน เป็นปัญหาใหญ่ที่ญี่ปุ่นกำลังเจอในเวลานี้ เนื่องจากประชากรของญี่ปุ่นที่มีอายุมากกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าแรงงานของญี่ปุ่นจะลดลง 20% ในปี 2040 เมื่อเทียบกับปี 2017 เนื่องจากจำนวนประชากรโดยรวมลดลง
แต่สถานการณ์อาจจะดีขึ้นจากการที่กลุ่มผู้หญิงและผู้สูงอายุเข้ามาเป็นแรงงานกันมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการเปิดระบบวีซ่าแบบใหม่ เพื่อรับแรงงานต่างชาติเพิ่มเป็นความพยายามที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่มีแรงงานไม่เพียงพอกับความต้องการ
ภาพจาก bit.ly/2NhpcSj
โดยชาวต่างชาติที่มีทักษะภาษาญี่ปุ่นและทักษะการทำงานในระดับหนึ่งสามารถยื่นขอสถานะผู้อยู่อาศัยที่เรียกว่า แรงงานทักษะเฉพาะทางประเภท 1 ซึ่งสามารถทำงานได้ใน 14 ภาคอุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้าง การเกษตร และการพยาบาล เป็นระยะเวลา 5 ปี แต่ห้ามพาครอบครัวเข้ามาอาศัยด้วยกัน
ขณะที่แรงงานที่มีทักษะสูงใน 2 ภาคอุตสาหกรรม อย่างการก่อสร้างและการต่อเรือ สามารถขยายระยะเวลาการอยู่อาศัยในญี่ปุ่นได้ด้วยการทำวีซ่าแรงงานทักษะเฉพาะทางประเภท 2 ซึ่งอนุญาตให้ผู้ถือสามารถพาสมาชิกครอบครัวมาอยู่ และสามารถต่ออายุวีซ่าได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง รัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่า จะมีชาวต่างชาติทั้งสิ้น 345,150 คนที่สามารถรับวีซ่าประเภท 1 ภายใน 5 ปีข้างหน้า
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2N1Hu9T
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/37Dv3sw