7-Eleven เปิด “สแกนจ่าย” จะมีรายได้มากขึ้นแค่ไหน?

อย่างที่ทราบว่าตอนนี้ 7-Eleven ได้เปิดใช้บริการใหม่คือให้ลูกค้าสามารถ “ สแกนจ่าย ” เรียกว่าเป็นบริการสดๆร้อนๆ ที่ออกมาภายหลังจากที่รัฐบาลแจกเงินหมื่นให้กับกลุ่มคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 12.40 ล้านราย และคนพิการจำนวน 2.15 ล้านราย รวมแล้วประมาณ 14.5 ล้านราย

หากไปดูเม็ดเงินจากเฟสแรกนี้พบว่ามีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวน 145,552.40 ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าบริการใหม่นี้คืออีกหนึ่งแรงดึงดูดที่อยากให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการใน 7-Eleven มากขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

และถึงแม้ว่าระบบใหม่นี้จะเป็นการนำร่องที่ทดลองเปิดให้บริการใน 232 สาขาทั่วประเทศ แต่ก็คาดว่าจะพัฒนาต่อเนื่องให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้

สแกนจ่าย

ด้านภาพรวมผลการดำเนินงานของเซเว่นอีเลฟเว่น ภายใต้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) สิ้นไตรมาส 2 ปี 2567 มีร้านสะดวกซื้อเซเว่น 7-Eleven ให้บริการทั่วประเทศกว่า 14,845 สาขา เฉพาะไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ได้เปิดร้านใหม่ประมาณ 124 สาขา และหากไปดูข้อมูลแยกย่อยจะพบว่า

  • ยอดขายประมาณ 86,656 บาทต่อสาขาต่อวัน หรือรวมทุกสาขาทำเงินเฉลี่ยกว่า 1,286 ล้านบาทต่อวัน
  • จำนวนลูกค้าประมาณ 1,007 คนต่อสาขาต่อวัน หรือรวมทุกสาขา ลูกค้ามากกว่า 14.94 ล้านคนต่อวัน
  • ลูกค้ามียอดการซื้อสินค้าต่อบิลประมาณ 85 บาทต่อคนต่อครั้ง
  • สัดส่วนยอดขายมาจาก กลุ่มสินค้าของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 23.7% ส่วนที่เหลือมาจากกลุ่มอาหาร เครื่องปรุง และเครื่องดื่ม 76.3%

ซึ่งมีข้อมูลน่าสนใจจากผลสำรวจของ SCB EIC พบว่า ผู้ที่ได้รับเงินหมื่นในเฟสแรกนี้จะใช้เงิน 38.2% กับสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 55,400 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

  • ร้านสะดวกซื้อ Modern Trade: 33,300 ล้านบาท
  • ร้านค้า Traditional Trade: 16,600 ล้านบาท
  • Super/Hypermarket: 5,500 ล้านบาท

ในกลุ่ม Modern Trade เชื่อว่า 7-Eleven จะได้ประโยชน์สูงสุด โดยคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 23,800 ล้านบาท เนื่องจากมีสาขามากถึง 14,854 สาขา หรือ 71% ของ Modern Trade ทั้งประเทศ นอกจากนี้ หากรวมยอดขายที่ CPAXTT จะได้รับจากโครงการนี้ คาดว่า CPALL จะมียอดขายเพิ่มเติมถึง 42,100 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้นใน CPAXTT ที่ 34.9%*จะเทียบได้ว่า CPALL จะได้รับเงินราว 30,200 ล้านบาท

สแกนจ่าย

ส่งผลให้คาดการณ์ยอดขายและกำไรสุทธิของ CPALL ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 จะมียอดขาย285,023 ล้านบาท (+21.9% จากปีก่อน) และมีกำไรสุทธิ: 14,621 ล้านบาท (+115.1% จากปีก่อน) ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขการเติบโตที่สูงมาก และอย่าลืมว่า โครงการเงินหมื่นที่ว่านี้ยังไม่จบแค่ในเฟสแรกเท่านั้น ในปี 2568 คาดว่าจะมีการแจกเงินหมื่นในเฟสที่ 2 ให้กับประชาชนที่เหลืออีกกว่า 26 ล้านคน

หากดูกันที่จำนวนเงินในเฟส 2 นั้นอาจจะสูงกว่าเฟสแรกเพราะตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นการแจกคนละ 5,000 หรือว่า 10,000 บาท แต่ที่แน่ๆคือจะเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ผลพวงจากเรื่องเดียวกันนี้คือเม็ดเงินจากโครงการนี้ทั้งหมดรวมกว่า 450,000 ล้านบาท ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจแล้วละว่าจะใช้ไอเดียไหนในการดึงเม็ดเงินเหล่านี้มาสู่ธุรกิจตัวเองได้มากที่สุด

เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ 7-Eleven ที่รุกเร็วเรื่องนี้ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีคนถามกันมานานว่าเมื่อไหร่จะเปิดให้ สแกนจ่าย ได้สักที เรียกว่ามาได้ถูกที่ถูกเวลาและนี่คือเกมธุรกิจที่เราควรต้องศึกษา งานนี้ใครเร็วกว่าก็ได้เปรียบกันไป

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด