7 แบรนด์! อาณาจักร Non-Oil ปตท.

เราไม่อาจปฏิเสธถึงความเป็นผู้นำด้านสถานีบริการน้ำมันของ ปตท.ที่ทุกวันนี้นอกจากการจำหน่ายน้ำมันแล้วรูปแบบของ ปตท. ยังพร้อมต่อยอดเพื่อให้ครบวงจรมากขึ้นด้วย จากข้อมูลนั้นพบว่าสาขาของ ปตท.นั้นทั่วประเทศมีกว่า 1,500 แห่งและมีผู้ใช้งานรวมทุกสาขาเฉลี่ย 1.8 ล้านคน/วัน หรือเฉลี่ย 1,200 คน/วัน

ยังไม่รวมเรื่องลูกค้าประจำที่สมัครเป็นเมมเบอร์กับปตท.ผ่านบัตรพีทีทีบลูการ์ดที่มีมากกว่า 2.3 ล้านใบ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมร้านค้าหลากหลายแบรนด์ถึงอยากขยายธุรกิจร่วมกับ ปตท. แบบไปไหนไปด้วยกัน

แต่ก็ใช่ว่าทุกแบรนด์จะเกาะติด ปตท. ได้ทั้งหมด แต่งานนี้เท่าที่ www.ThaiSMEsCenter.com เห็นในภาพรวมมี 7 แบรนด์ธุรกิจทั้งที่ ปตท.บริหารจัดการเองและจากการซื้อแฟรนไชส์ที่แทบเรียกได้ว่าไปไหนไปด้วยกัน เติบโตพร้อมกันแบบเพื่อนคู่คิดเลยทีเดียว

1. Café Amazon

Non-Oil

ภาพจาก www.facebook.com/cafeamazonofficial

Café Amazon เริ่มการก่อตั้งร้านค้าใน ปตท.ครั้งแรกเมื่อปี 2545 ในช่วงแรกๆมีเพียง 20 สาขา แต่นับถึงปัจจุบันผ่านไปกว่า 15 ปี Café Amazon กลายเป็นแลนด์มาร์คของ ปตท.ชัดเจนกับสาขาที่มีในตอนนี้กว่า 18,000 แห่งแบ่งเป็นการขายแฟรนไชส์ 90% และบริษัทฯ บริหารงานเอง 10% และเป็นสาขาภายในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ประมาณ 1.5 พันแห่ง เป็นสาขานอกสถานีบริการน้ำมัน ปตท. 300 แห่ง

ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด 70-80% โดยมีสาขาต่างประเทศ 70 แห่ง กระจายในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น และในปี 2560 มีแผนขยายสาขาใหม่เท่ากับปี 2559 คือ 300 แห่ง โดยเป็นการลงทุนสาขาละ 2-5 ล้านบาท แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 250 แห่ง ต่างประเทศ 50 แห่ง พร้อมมีแผนขยายตลาดต่างประเทศใหม่คือโอมาน อย่างน้อย 2 สาขา อีกด้วย

2.FIT ออโต้

see1
ภาพจาก goo.gl/cWGcSX

ในความเป็น ปตท. ที่ไม่ได้มองเรื่องความสะดวกอิ่มสบายอย่างเดียว เรื่องของรถก็สำคัญ จึงเป็นไอเดียของ ปตท. ผุดบริการอย่าง FIT Auto ที่นับเป็นการบริหารงานของ ปตท.โดยวางรูปแบบให้เป็นศูนย์บริการที่ทันสมัย เป็นศูนย์ฯ ที่มีความสะดวกในรูปแบบ One-Stop-Service ที่ให้บริการซ่อมบำรุงแบบเบาและดูแลรักษารถยนต์ตามระยะทางและตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. เป็นหลัก

ทั้งนี้ ปตท. ได้วางแผนธุรกิจศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto ว่าต้องมีเครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และยังได้ตั้งเป้าการขยายสาขาของ FIT Auto ไว้ที่ 80-100สาขา ภายในอีก 5 ปีนับจากนี้อีกด้วย

3.ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ที”

see2

ภาพจาก www.facebook.com/pearlyteathailand

“Pearly Tea” ชานมไข่มุกจากไต้หวันที่เชื่อได้เลยว่าใครที่เคยเข้าไปในปั๊ม ปตท. ต้องเคยลองกินกันมาแล้ว แนวคิดของ ปตท. ที่แม้จะมี Café Amazon อยู่แล้วแต่สัดส่วนคนที่ไม่บริโภคกาแฟ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มเด็ก สุภาพสตรี ผู้สูงอายุ ลูกค้ากลุ่มนี้มีจำนวนมากแบรนด์ Pearly Tea จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก Pearly Tea เริ่มเข้ามาอยู่ใน ปตท.ตั้งแต่ปี 2555 และไม่ใช่สาขาจะมีแค่ใน ปตท.เท่านั้น ปัจจุบันมีประมาณ 180 สาขาซึ่งกว่า 150 สาขา บริษัทลงทุนเอง ส่วนอีก ประมาณ 30 สาขาเป็นการลงทุนของแฟรนไชส์

4. Jiffy

see3

ภาพจาก goo.gl/WWYFh3

อย่างที่เคยเป็นข่าวกันมาพักหนึ่งในกรณีที่ ปตท.กำลังพิจารณาการต่อสัญญาของทางเซเว่นที่ยังมีสัญญากันอีก 6 ปี หนึ่งในมุมมองเรื่องนี้คือการที่ ปตท.ต้องการดัน Jiffy ให้เติบโตมากขึ้น ปัจจุบัน Jiffy มีสาขาประมาณ 1,100 แห่งในปั๊ม ปตท.

ซึ่งนโยบายส่งเสริม Jiffy ของ ปตท. นั้นคือการให้สิทธิการจำหน่ายแฟรนไชส์นี้ให้แก่พีทีทีอาร์เอ็ม ซึ่งเป็นตัวแทนการขยายสาขาปั๊ม ปตท. ในประเทศลาว นอกจากนี้ ปตท. ยังมีแผนที่ขาย Jiffy รูปแบบแฟรนไชส์ในกัมพูชาและฟิลิปปินส์ด้วย

5. Daddy Dough

see4
ภาพจาก goo.gl/rgV7Si

ปตท. ได้ซื้อมาสเตอร์แฟรนไชส์ Daddy Dough จากบริษัท แด๊ดดี้ โด (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจะได้รับสิทธิในการขยายสาขาในปั๊ม ปตท. โดยปัจจุบันได้มีการเปิดตัว Daddy Dough ไปแล้วหลายสาขา และมีแผนการปูพรมขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแบรนด์อย่าง Daddy Dough นี้ถือเป็นโดนัทพรีเมี่ยมเจ้าเดียวของคนไทยที่ขายในปั๊มน้ำมันคนไทย

โดยธุรกิจของ Daddy Dough เริ่มจากการเป็นร้านเบเกอรี่เล็กๆในอเมริกาเมื่อปี 1985 ก่อนที่จะย้ายมาเปิดเป็น Daddy Dough สาขาแรกในเมืองไทยเมื่อ 2549 ที่ร้านอาหาร Maria Pizzeria ย่านสีลมก่อนที่จะได้เป็นพันธมิตรทางการค้าร่วมกันกับ ปตท.

6.ฮั่วเซ่งฮง

see5

ภาพจาก goo.gl/h95Ud5

ปตท.ได้ซื้อสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์แบรนด์ “ฮั่วเซ่งฮง” ซึ่งเป็นร้านอาหาร-ติ่มซำจีน เพื่อเปิดสาขาในปั๊มน้ำมัน ปตท. เบื้องต้นได้เซ็นสัญญาทางธุรกิจกับพาร์ตเนอร์เป็นระยะเวลานาน 10 ปี ในช่วงที่ผ่านมาได้เริ่มเปิดร้านไปแล้วประมาณ 20 สาขา โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้ครบ 200 สาขาภายในระยะเวลา 5 ปีจากนี้

ซึ่งเป็นแผนการตลาดต่อเนื่องของ ปตท. ที่ทุ่มงบ 1 พันล้านบาท ในการปรับปรุงสถานีบริการน้ำมันให้เป็น Friendly Design ที่นอกจากจะใช้บริการแก่คนทุกเพศทุกวัย ทุกชนชั้นยังเป็นแหล่งรวมจุดพักที่มีทั้งร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ซึ่งการดึง ฮั่วเซ่งฮง มาร่วมเป็นพันธมิตรก็เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายนี้

7.เท็กซัส ชิคเก้น

see6

ภาพจาก www.facebook.com/TexasChickenThailand

ธุรกิจอาหารฟาสฟู้ดต์ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ ปตท. ไม่มองข้าม หลังจากที่ได้สิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์จากไก่ทอดเท็กซัส ชิคเก้น ปตท.ก็ทุ่มงบกว่า 15 ล้านบาทในการเปิดสาขาแรกที่ เซ็นทรัลเวสต์เกต และแผนการตลาดของ ปตท.คือจะเพิ่มเป็น 70 สาขาในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ แต่เราอาจจะไม่ได้เห็น เท็กซัส ชิคเค้นในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. เนื่องจากบริษัทตั้งเป้าขยายในห้างสรรพสินค้ามากกว่ารวมถึงยังมีแผนการขยายสาขาในรูปแบบไดรฟ์ทรูให้มากขึ้นอีกด้วย

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ปตท. รุกเดินหน้าใส่เพิ่มรูปแบบธุรกิจอื่นๆมากขึ้นก็เพราะต้องการเพิ่มสัดส่วนของธุรกิจแบบ Non-oil ให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ปตท. มีรายได้จากการขายน้ำมันกว่า 98% มีรายได้จากธุรกิจ Non-oil ประมาณ 2% และเทรนด์ธุรกิจแบบ Non-oil ก็เริ่มชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่แน่ว่าในอนาคตต่อไปเราอาจเจอบริการใหม่ๆจาก ปตท. อีกก็เป็นได้

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด