7 แบรนด์ดัง! ร้านสุกี้ตลาด Mass ครองใจสายบุฟเฟ่ต์อยู่หมัด

พูดถึงร้านสุกี้บุฟเฟ่ต์ ชาบูบุฟเฟต์ ที่ได้รับความนิยมในไทย ราคาสบายกระเป๋า คงหนีไม่พ้น 7 แบรนด์ดัง ร้านสุกี้ตลาด Mass อย่าง นีโอ สุกี้, สุกี้ ตี๋น้อย, สุกี้จินดา, สุกี้ นินจา, ฮอตพอต แมน, ลัคกี้ สุกี้, เอี่ยวไถ่ สุกี้โบราณ และอื่นๆ กลยุทธ์และจุดเด่นที่ทำให้ทั้ง 7 แบรนด์นี้ เติบโตแบบก้าวกระโดด จนกลายเป็นร้านที่ลูกค้าพูดถึงกันมากมีอะไรบ้าง มาดูกัน

1. นีโอ สุกี้ (NEO SUKI)

ร้านสุกี้ตลาด Mass
ภาพจาก www.facebook.com/neosukirestaurant

นีโอสุกี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2542 โดยคุณสกลธ์ กัปปิยจรรยา ประธานกรรมการบริษัท นีโอ สุกี้ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด เปิดสาขาแรกที่ถนนบางนา-ตราด ชูจุดเด่นเรื่องรสชาติอาหาร เมนูหลากหลาย วัตถุดิบมีคุณภาพ จนกระทั่วปลายปี 2551 เปิดสาขาที่ 2 ที่ @PARK LOTUS Town in Town ด้วยสโลแกนใหม่ที่ว่า “นีโอ สุกี้ สุกี้นานาชาติ อร่อยถูกใจกับน้ำจิ้มหลากหลาย” เน้นความหลากหลายของน้ำจิ้มสุกี้และชุดสุกี้ โดยยังคงรสชาติต้นตำรับเดิมเอาไว้

  • บริษัท บริษัท นีโอ สุกี้ไทย เรสเทอรองส์ จำกัด
  • ก่อตั้ง ปี 2543
  • ปี 66 รายได้ 258 ล้านบาท กำไร 3.9 ล้านบาท
  • จำนวน 21 สาขา
  • ชุดเริ่มต้น 300 บาท
  • สโลแกน สุกี้นานาชาติ สไตล์โฮมเมด
  • เปิดบริการ 10.30-21.30 น.
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

2. สุกี้ ตี๋น้อย (SUKI TEENOI)

ร้านสุกี้ตลาด Mass

สุกี้ตี๋น้อย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 ภายใต้บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เป็นอีกร้านบุฟเฟ่ต์ราคาประหยัดเริ่มต้น 219 บาท เปิดให้บริการตั้งแต่ 11.00-05.00 น. ตามสโลแกน “อร่อยไม่อั้นเที่ยงวันยันเช้า” ปัจจุบันมีกว่า 79 สาขา ปี 2566 ทำรายได้กว่า 5,262 ล้านบาท กำไร 907 ล้านบาท

จุดเด่นของสุกี้ตี๋น้อย อยู่ที่การขยายสาขาที่เร็วทำให้เข้าถึงลูกค้าได้หลายพื้นที่ ราคาเข้าถึงง่าย บริการรวดเร็วทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในเวลาที่จำกัด ออกโปรโมชั่นเช่น ลด 50% ดึงดูดลูกค้าใหม่ได้ดี ที่สำคัญ คือ ขยายสาขาให้มากๆ จะได้เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด

  • บริษัท บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด
  • ก่อตั้ง ปี 2562
  • ปี 66 รายได้ 5,262 ล้านบาท กำไร 907 ล้านบาท
  • จำนวน 79 สาขา
  • บุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท
  • สโลแกน อร่อยไม่อั้นเที่ยงวันยันเช้า
  • เปิดบริการ 11.00-05.00 น.
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

3. สุกี้จินดา (CHINDA HOTPOT)

ร้านสุกี้ตลาด Mass

สุกี้จินดา สุกี้สายพานสไตล์จีนหม่าล่าเจ้าแรกในไทย ที่มีน้ำซุปให้เลือกถึง 7 รส ในบรรยากาศสตรีทฟู้ดเมืองจีน เปิดสาขาแรกอยู่ที่ซอยประชาราษฏร์บำเพ็ญ 9-11 ย่านห้วยขวาง เมื่อช่วงเดือน ต.ค. 63 ก่อนขยายสาขาในต่างจังหวัด รูปแบบให้บริการลูกค้าเป็นแบบ “เสิร์ฟแบบเสียบไม้ วางบนสายพาน” ลูกค้าสามารถหยิบวัตถุดิบได้ตามความต้องการ ราคาเริ่มต้น 5-50 บาท มีเมนู 50-60 รายการ มีน้ำซุปให้เลือกมากถึง 7 น้ำซุป เติมได้ไม่อั้น ใช้วัตถุดิบนำเข้าจากจีน

มีกลุ่มลูกค้าหลักๆ เป็นกลุ่มนักศึกษา วัยรุ่น คนทำงาน และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน อายุประมาณ 20-35 ปี ก่อนหน้านี้ร้านสุกี้จินดาเปิดให้บริการทั้งหมด 42 แห่ง กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดหัวเมืองใหญ่ อาทิ ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระยอง เชียงใหม่ เป็นต้น ปัจจุบันสุกี้จินดาเหลือสาขาราวๆ 34 สาขา และยังคงปิดรับแฟรนไชส์ชั่วคราว

4. สุกี้ นินจา (SUKI NINJA)

ภาพจาก www.facebook.com/sukininjathailand

อีกหนึ่งร้านสุกี้ที่กำลังได้รับความนิยม ภายใต้บริษัท สุกี้นินจา จำกัด เปิดสาขาแรกที่ตลาดพลู ก่อนจะเปิดสาขา 2 และ 3 ที่เดอะไบรท์ พระราม 2 (ชั้น G) และ ฟู้ดดี้ฟาร์ม บางใหญ่ ตามลำดับ ขายบุฟเฟ่ต์ราคาเริ่มต้น 219 บาท อิ่มไม่อั้นทุกเมนู นั่งยาวๆ 2 ชั่วโมง ชูจุดเด่นน้ำจิ้มอร่อย มีให้เลือก 3 แบบ อาหารคุณภาพดี พนักงานบริการดี ราคาไม่แพง

ปี 2566 สุกี้นินจาทำรายได้กว่า 100 ล้านบาท กำไร 7.5 ล้านบาท

  • บริษัท บริษัท สุกี้นินจา จำกัด
  • ก่อตั้ง ปี 2562
  • ปี 66 รายได้ 100 ล้านบาท กำไร 7.5 ล้านบาท
  • จำนวน 3 สาขา
  • บุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท
  • สโลแกน ความสุขในทุกวัน สะอาด สด ใหม่ ทุกคำ
  • เปิดบริการ 11.00-01.00 น.
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

5. ฮอตพอต แมน (HOTPOT MAN)

ภาพจาก www.facebook.com/hotpotman6639

ร้านสุกี้ชาบูสไตล์จีนแท้ๆ ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 รสชาติจัดจ้าน เผ็ด เอาใจสายหม้อไฟจีน น้ำซุปกลมกล่อม บรรยากาศร้านปลอดโปร่ง พนักงานให้บริการได้รวดเร็วในการเสิร์ฟ ปัจจุบันมี 9 สาขา ราคาบุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 299 บาท เปิดบริการ 11.00-02.00 น. ปี 2566 มีรายได้ 79 ล้านบาท กำไร 1 ล้านบาท ถือเป็นร้านอาหารสุกี้ชาบูที่มีคนพูดถึงกันมากในออนไลน์

  • บริษัท ฮอตพอตแมน กรุ๊ป จำกัด
  • ก่อตั้ง ปี 2562
  • ปี 66 รายได้ 79 ล้านบาท กำไร 1 ล้านบาท
  • จำนวน 9 สาขา
  • บุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 299 บาท
  • สโลแกน ร้านชาบูหมาล่าบุฟเฟต์ อร่อย ไม่แพง
  • เปิดบริการ 11.00-02.00 น.
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

6. ลัคกี้ สุกี้ (LUCKY SUKI)

ภาพจาก www.facebook.com/luckysuki.bkk

ลัคกี้ สุกี้ ร้านสุกี้ที่เริ่มจากกลุ่มเพื่อนที่ไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน แต่ชอบกินสุกี้ และเห็นโอกาสในการทำธุรกิจร้านสุกี้บุฟฟ่ต์ในราคาย่อมเยาว์ เริ่มต้น 219 บาท ได้่รับความนิยมจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมี 15 สาขา ปี 2566 ทำรายได้กว่า 409 ล้านบาท กำไร 46 ล้านบาท

กลยุทธ์ธุรกิจเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างบบรรยากาศร้านเป็นกันเอง คัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ตั้งราคาที่เหมาะสมเข้าถึงกลุ่มลูกค้า คำนึงความคุ้มค่าในทุกเมนู ที่สำคัญมีการออกโปรโมชั่นมา 1 คน แถมอีก 1 คน และมีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าดึงดูดให้กลับมาทานซ้ำ

  • บริษัท บริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด
  • ก่อตั้ง ปี 2564
  • ปี 66 รายได้ 409 ล้านบาท กำไร 46 ล้านบาท
  • จำนวน 15 สาขา
  • บุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท
  • สโลแกน สุกี้สไตล์ ModernChinese อิ่มไม่อั้น
  • เปิดบริการ 10.30-02.00 น.
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

7. เอี่ยวไถ่ สุกี้โบราณ

ภาพจาก www.facebook.com/Earwthaisukiboraan

เอี่ยวไถ่ เป็นสุกี้โบราณเจ้าแรกๆ ของไทย เริ่มต้นมาจากรุ่นอากง “จุ่นเซ็ง แซ่ก๊วย” ตั้งแต่ปี 1960 เปิดอยู่เยาวราชแถวโรงหนังเฉลิมนคร เป็นร้านรถเข็นขายสุกี้ 5 บาท ก่อนย้ายมาขายแถวกองปราบ เป็นสูตรสุกี้สูตรจีนแต้จิ๋ว โดดเด่นในเรื่องของน้ำจิ้มผสมเต้าหู้ยี้และเต้าเจี้ยว จนได้รับความนิยมจากลูกค้าทุกวัย ผู้ใหญ่ชอบทานสุกกี้ ส่วนลูกๆ ชอบทานปิ้งย่าง

พอกิจการร้านอาหารเอี่ยวไถ่ สุกี้ เริ่มเติบโตขึ้น จึงย้ายมาเปิดสาขาเชิงสะพานปิ่นเกล้า ก่อนจะขยายสาขาแบบ Stand Alone และในห้างสรรพสินค้า เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนกระทั่งมีจำนวน 13 สาขาในปัจจุบัน เอี่ยวไถ่ เน้นขยายร้านในห้างย่านคนจีน ธุรกิจ แหล่งช็อปปิ้ง แม้จะไปอยู่ในห้างแต่ยังคงความเป็นเอี่ยวไถ่เหมือนเดิม เปลี่ยนจาก “สุกี้” เป็น “สุกี้โบราณ” สื่อให้เห็นว่าเป็นสุกี้แต้จิ๋วดั้งเดิมที่ทำมานานกว่า 60 ปี สร้างความแตกต่างจากร้านสุกี้อื่นๆ

นั่นคือ 7 แบรนด์ร้านสุกี้-ชาบู ที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างมากในยุคนี้ จะเห็นได้ว่าหลายๆ แบรนด์เติบโตและได้รับความนิยมจากการเลือกสิ่งที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นคัดสรรวัตถุดิบ การรักษาคุณภาพ การให้บริการ การสร้างจุดเด่นเฉพาะตัว และการเข้าใจลูกค้า ตลอดจนการขยายสาขาให้มาก ก็ทำให้แต่ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จในตลาดบุฟเฟ่ต์ได้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช