7 แบรนด์ชาไทย มาแรงปี 67 เลือกแบรนด์ไหน จัดไป!

ปลายปี 2566 ที่ผ่านมามีการจัดอันดับว่าอะไรคือเครื่องดื่มที่คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พูดถึงมากที่สุดปรากฏว่า “ชาไทย” มีคนพูดถึงมากกว่า 2.25 ล้านครั้ง เมื่อหันกลับมาดูตลาดเครื่องดื่มในเมืองไทยปี2566 พบว่า ตลาดเครื่องดื่มเฉพาะชาและกาแฟมูลค่าตลาดรวมทั้งหมดอยู่ที่ 32,280.9 ล้านบาทอัตราการเติบโตกว่า 9.5%

แต่หากว่าใครเปิดร้านเครื่องดื่มแต่จะขายแค่ “ชาไทย” อย่างเดียวก็คงไม่คุ้มค่า หลาย แบรนด์ชาไทย จึงมีเมนูหลากหลายแต่หยิบเอา “ชาไทย” มาเป็นจุดขาย มีการดัดแปลงสูตร ให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้าที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ชาไทยซึ่งมีอยู่จำนวนมาก

1.Beams Cha (ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน)

แบรนด์ชาไทย

ภาพจาก facebook.com/everyday.thai.teaa

จากจุดเริ่มต้นคือร้าน Better Beam café โดยมีเมนูซิกเนเจอร์คือชาเย็น แตกไลน์มาเป็นร้าน BEAMS CHA ก่อนจะเปลี่ยนเป็น “ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน” เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงจุดเด่นของร้านและเมนูที่ขายได้ทันที

ซึ่งก็ตามชื่อเลยร้านนี้เด่นในเรื่องเมนูชาไทยอย่างมากรสชาติหวานมัน เข้มข้น และเมนูซิกเนเจอร์ที่ทางร้านแนะนำคือ สเลอปี้ชาไทย ที่อร่อยมาก ทำเลของร้านคือดีมากอยู่ย่านซอยจุฬาลงกรณ์ 12 และมีการเปิดสาขาอื่นเพิ่มซึ่งก็ขายดีมากเช่นกันด้วย

2.ปังชา

แบรนด์ชาไทย

ภาพจาก facebook.com/PangchaThaiteaCafe

เรียกว่าเป็นร้านที่มีชื่อเสียงดังและเป็นกระแสในช่วงปีที่ผ่านมา โดยปังชาสาขาแรกสุดอยู่ที่ทองหล่อคาเฟ่ และมีการขยายสาขาในอีกหลายพื้นที่ ยอดขายของปังชาถือว่าคุ้มค่าและมีลูกค้าจำนวนมาก แน่นอนว่าจุดเด่นคือเมนูที่หลากหลายและอร่อยมาก

การันตีได้จากรางวัลมิชลินไกค์ ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มเท่านั้น เมนูที่ประกอบจากวัตถุดิบชาไทยก็มีอีกเยอะมากเช่น โรตีฝรั่งเศสชาไทย , วิปปิ้งมูสชาไทย เป็นต้น โดยร้านปังชา มีการจัดร้านในสไตล์คาเฟ่และปัจจุบันยังไม่ได้เปิดขายแฟรนไชส์แม้จะมีคนสนใจมากก็ตาม

3.Guu Fusion Roti & Tea

แบรนด์ชาไทย

ภาพจาก facebook.com/guufusionrotiandtea

ถือว่าเป็นร้านโรตีที่มีชื่อเสียงและโด่งดังมาก ทั้งรสชาติเฉพาะตัวของโรตีและความเข้มข้นของเครื่องดื่ม โดยเฉพาะการชงชาของร้านที่มีรูปแบบเฉพาะ จนได้ชื่อว่าเป็นร้านโรตีชาชักที่อร่อยมาก ตอนนี้มีทั้งหมด 3 สาขา เมนูเครื่องดื่มที่แนะนำคือ ชาไทย ที่มีความเข้มข้นของใบชา และความหอมมันของนม น้ำตาล เป็นเมนูฮอตฮิตที่ต้องลองสักครั้งแล้วติดใจแน่นอน

4.Karikori Thai Tea

แบรนด์ชาไทย

ภาพจาก facebook.com/karikorithailand

เป็นร้านน้ำแข็งใสสไตล์คาเฟ่ ที่มีหลากหลายเมนูให้เลือก แน่นอนว่าเมนูเด่นต้องเป็นน้ำแข็งใสชาไทยที่ท็อปด้วยวิปครีมนุ่มๆ รสชาติหวานมัน โรยด้วยไข่มุกชาไทย ปัจจุบันมีหลายสาขาที่เปิดในทำเลคนพลุกพล่านและส่วนใหญ่อยู่ในในใจกลางเมืองย่านธุรกิจย่านการศึกษา ถึงตอนนี้แม้จะมีคนสนใจอยากลงทุนมากแต่เน้นการขยายสาขาของตัวเองยังไม่เปิดขยายในระบบแฟรนไชส์

5.ร้านชาไทยการัน

ภาพจาก facebook.com/karunthaitea

ร้านชาไทยการันหรือ Karun Thai Tea เป็นที่พูดถึงอย่างมาก เริ่มคิดสูตรชาไทยที่เป็นต้นตำหรับเมื่อปี 2541 และเมื่อประมาณปี 2561 ได้เริ่มเปิดร้านครั้งแรกอย่างเป็นทางการที่เอ็มควอเทียร์ คำว่า “การัน” มาจากชื่อบ้านประจำตระกูลธัญย์ณภัคช์ มาต่อคำว่า Thai Tea ให้เน้นจุดเด่นของสินค้าได้มากขึ้น

ความพิเศษของ Karun Thai Tea คือการคัดสรรใบชาอย่างมีคุณภาพเมนูอร่อยให้เลือกกว่า 46 รายการ และที่คนติดใจมากที่สุดคือ “ชาไทยปั่น” ที่เนื้อสัมผัสเนียนนุ่มละมุนลิ้นอร่อยมาก รายได้ของ Karun Thai Tea ก็ไม่ธรรมดาอย่างในปี 2022 สร้างรายได้กว่า 36 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีการขยายสาขาอีกหลายแห่ง และเน้นการออกแบบร้านให้เข้ากับบรรยากาศในแต่ละพื้นที่ ทุกวันนี้จึงถือเป็นแบรนด์ชาไทยที่มาแรงและคนสนใจจำนวนมาก

6.ชาตรามือ

ภาพจาก facebook.com/ChaTraMue

ถ้าพูดถึง “ชาไทย” ต้องนึกถึง “ชาตรามือ” เพราะนี่คือแบรนด์เก่าแก่อายุเป็นร้อยปีมีพัฒนาการด้านธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีการเติบโตของธุรกิจแบบ B2B ที่รับผลิตวัตถุดิบชาให้กับเจ้าอื่น และเปิดร้านจำหน่ายเครื่องดื่มเป็นของตัวเอง

สิ่งที่โดดเด่นมากของชาตรามือคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ครองสัดส่วนตลาดกว่า 80% ของตลาดชาชงทั้งในเรื่องรายได้ถือว่าน่าสนใจมาก โดยในปี 2565 มีรายได้รวมกว่า 2,104 ล้านบาท กำไรสุทธิ 34 ล้านบาท และยังเป็นแบรนด์ที่พร้อมเติบโตได้อีกมาก

7.Sicha Thai Tea

ภาพจาก https://citly.me/BdGxS

เป็นร้านชาไทยเกรดพรีเมียมในย่านอินทามระ โดดเด่นในดีไซน์ร้านที่เน้นความเรียบหรู ดูดี มีมุมถ่ายภาพสวยๆและแน่นอนว่ามีเครื่องดื่มให้เลือกเยอะมากทั้งชาไทยแบบต้นตำรับและชานำเข้าจากฝรั่งเศส และยังมีให้เลือกดื่มแบบหลากหลายสูตร แต่ละสูตรรับประกันความอร่อยแบบเข้มข้นมาก ใครที่สนใจอยากเปิดร้านเครื่องดื่มสามารถศึกษาแนวทางจากร้านนี้แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับร้านตัวเองได้ในอนาคต

ซึ่งนอกจากร้านต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่หยิบเอา “ชาไทย” มาเป็นจุดขาย เช่น Beard Papa’s ที่ออกเมนูเอแคลร์ไส้ชาไทย , Dairy Queen กับเมนูบลิซซาร์ดปังกรอบ ชาไทย เป็นต้น และไม่ใช่แค่นั้น ชาไทยเหล่านี้ยังเพิ่มลูกเล่นได้อีกมากขึ้นอยู่กับไอเดียในการขาย ยิ่งทำให้น่าสนใจมากเท่าไหร่คนสนใจก็ยิ่งมากโอกาสขายดีก็มีมากขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://golink.icu/XD9nKyT , https://golink.icu/SjeSQiU , https://golink.icu/3F7DUKS , https://golink.icu/6vxtWj3 , https://golink.icu/qWUf837 , https://golink.icu/Rh9SsrA

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consulta

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด