7 เทคนิค (ไม่เคยมีใครบอก) เช่าพื้นที่ได้ราคาถูกลง!
ทุกๆ การซื้อขาย ฝ่ายขายย่อมต้องการราคาที่ตั้งใจไว้ ส่วนฝ่ายซื้อก็ต้องการได้ราคาที่ถูกใจที่สุด สิ่งเหล่านี้นำมาสู่ “การต่อรอง” ที่เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่การ “ติดต่อพื้นที่เช่า”
โดยปัจจัยราคาค่าเช่าขึ้นอยู่กับโครงการ ทำเลที่ตั้ง และตำแหน่งของจุดที่จะตั้งร้าน มีทั้งแบบที่เป็นรายเดือน รายปี เฉลี่ยราคาเริ่มต้นประมาณเดือนละประมาณ 3,000 เป็นต้นไป หรือตามห้างสรรพสินค้าราคาก็จะแตกต่างมากขึ้น
www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมเอา 7 เทคนิคน่าสนใจเพื่อต่อรองราคาค่าเช่าให้ถูกลงมาซึ่งก็น่าจะพอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายทั้งเจ้าของโครงการและคนต้องการเช่าพื้นที่
1.กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง
พื้นที่เช่าในโครงการต่างๆ จะมีการกำหนดเรตราคาไว้เรียบร้อย ซึ่งบางครั้งคนอยากเปิดร้าน อาจสะดุ้งกับราคาที่เสนอมาในช่วงแรก ยิ่งเป็นพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทักษะต่อรองไม่มี เขาเสนอมาอย่างไรก็รีบตกลงไปแบบนั้น ในกรณีนี้เท่ากับว่า เราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที
ดังนั้นเราต้องกล้ากล้าปฏิเสธ กล้าบอกว่าขอคิดดูก่อน และกล้าเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการด้วย และหากยังไม่พอใจในสิ่งที่ฝ่ายขายนำเสนอก็ยังไม่จำเป็น ต้องรีบตกลง ต้องมีจุดยืนในการเจรจาต่อรอง ไม่ให้เขารู้สึกว่าเราอยากตกลง จนยอมทุกอย่างโดยง่ายดาย ต้องรู้จักแสดงท่าทีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองไว้ด้วย
2.แจ้งงบประมาณจริงๆที่เรามี
ก่อนจะหาพื้นที่เช่าใดๆ ก็ตามเราต้องมีงบประมาณไว้ในใจก่อนว่าตั้งงบไว้ในใจเท่าไหร่ เช่น สำหรับค่าเช่าเตรียมเงินไว้ประมาณ 30,000 ในระยะเวลา 3 เดือน เมื่อทำเลที่สนใจได้แจ้งราคามา
หากมองว่าเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการเช่าก็ให้คุยรายละเอียดกับเจ้าของพื้นที่ไปตรงๆว่าเรามีงบในส่วนนี้ประมาณเท่านี้ เขาจะลดหย่อน หรือมีโปรโมชั่นช่วยเหลืออะไรเราได้บ้าง เชื่อว่าหากเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ไม่เขี้ยวลากดินเกินไปและต้องการให้พ่อค้าแม่ค้าเขามาค้าขายก็อาจจะมีวิธีการที่ทำให้ค่าเช่าถูกลงได้
3.ยกคู่แข่งมาเปรียบเทียบ
ก่อนอื่นจะเช่าพื้นที่ใดๆ ก็ต้องสืบราคาในพื้นที่ใกล้เคียงว่าเฉลี่ยแล้วราคาประมาณไหน เมื่อเรารู้ราคาตลาด ก็จะเอามาเปรียบเทียบกับทำเลที่เราต้องการ ซึ่งราคาที่แจ้งมาอาจจะสูงกว่าของพื้นที่อื่น แต่หากมองว่านี่คือทำเลที่ดีจริงและต้องการแต่ติดที่ราคายังแพงอยู่
อาจใช้เทคนิคการพูดที่แสดงให้เจ้าของพื้นที่ทราบว่าเราก็ลองติดต่ออยู่กับหลายโครงการ และดูเหมือนว่าบางพื้นที่จะมีราคาที่ถูกกว่า แน่นอนว่าบางครั้งเจ้าของโครงการอาจยอมลดราคาลงมาให้เราบ้าง แต่ในบางกรณีเขาก็อาจไม่พอใจที่ยกไปเปรียบเทียบกับที่อื่นถึงขั้นไม่ต่อรองกับเราเลยก็มี วิธีนี้ก็เป็นดาบสองคมได้เช่นกัน
4.หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย
หากรู้แน่ชัดว่า เจ้าของพื้นที่เช่านั้นไม่ตกลงในราคาที่เราต้องการแน่นอนแล้ว เราต้องกล้าพอที่จะยกเลิก การเจรจานั้นทันที ให้โอกาสอีกฝ่ายได้พักหายใจสักระยะ แล้วค่อยติดต่อเข้าไปใหม่ โดยไม่กระชั้นเกินไป และไม่ห่างหายนานเกินไปจนอีกฝ่ายจำข้อมูลที่คุยกันไม่ได้
5.สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
วิธีสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ก็คือ การพูดคุยสอบถามให้ความเป็นกันเองอย่าให้เจ้าของพื้นที่รู้สึกว่าเป็นการถามเพื่อต้องการร่วมงานจริงๆ หรือเพื่อทำให้พื้นที่เช่าตรงนี้โดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยสินค้าที่เราจะเอามาขาย
ซึ่งสิ่งสำคัญคือเราต้องหาจุดเชื่อมต่อที่เจ้าของพื้นที่สนใจกับตัวเราให้เจอ ซึ่งการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันก็เหมือนกฏแห่งแรงดึงดูดที่เมื่อเขาพอใจการเจรจาอะไรๆ ก็จะง่ายมากขึ้น
6.เจรจาต่อรองกับคนที่มีอำนาจการตัดสินใจ
การเจรจาต่อรองที่ได้ผลดีที่สุด ผู้ซื้อต้องค้นหาให้ได้ว่าใครคือคนที่ควรเจจาต่อรองด้วย และเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ก็จะทำให้การเจรจาต่อรองนั้นเกิดผลดีมากที่สุด
เพราะในบางครั้งการให้ลูกน้องมารับหน้าที่พูดคุยแทนซึ่งก็ไม่มีอำนาจที่จะมาให้ส่วนลดลูกค้าได้ การพูดคุยกับเจ้าของโครงการโดยตรงจะมีโอกาสได้ส่วนลดที่มากขึ้น
7.เลือกไม่รับของแถม แต่เสนอให้ลดราคาแทน
สำหรับบางพื้นที่อาจจะมีโปรโมชั่นที่แถมอุปกรณ์หรือสิ่งของหรือให้บัตรกำนัลต่างๆ แล้วแต่การจัดแคมเปญของเจ้าของพื้นที่ ซึ่งหากเราเป็นหนึ่งในพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการส่วนลดเป็นหลักขอให้มองข้ามของแถมเหล่านี้หรือโปรโมชั่นที่เรามองว่าไม่ได้ประโยชน์แต่ลองขอให้เป็นการลดราคาแทน ซึ่งอาจจะคุ้มค่าในความรู้สึกของเราด้วย
อย่างไรก็ดีทุกการเจรจากับพื้นที่เช่าการวางตัวเป็นเรื่องสำคัญ เราจะต้องมีความสุภาพ ถ่อมตน จะช่วยให้การเจรจานั้นราบรื่นกว่าการ แสดงตนเหนือกว่า และโอ้อวดตนเอง แต่ก็ไม่ควรถ่อมตนมากเกินจนดูต่ำต้อย และเสียเปรียบในการ
เจราจาต่อรอง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
SMEs Tips
- กล้าปฏิเสธ และเรียกร้องบ้าง
- แจ้งงบประมาณจริงๆที่เรามี
- ยกคู่แข่งมาเปรียบเทียบ
- หากเจรจาไม่สำเร็จ ต้องกล้าที่จะถอย
- สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
- เจรจาต่อรองกับคนที่มีอำนาจการตัดสินใจ
- เลือกไม่รับของแถม แต่เสนอให้ลดราคาแทน